2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

31 พ.ค. 2562 | 09:17 น.

2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

วันที่ 31 พ.ค.62 นายอุทัย สอนหลักทรัพย์  ประธานสภาเครือข่ายและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประทศไทย (สยยท.) เผยหลังงพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู)ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายางพาราไทย-เมียนมาร่วมกัน ระหว่าง สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง ประเทศเมียนมาร์ นำโดย  MR.Hla  Myint  ประธานสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง ประเทศเมียนมาร์ ว่า  วันนี้รัฐบาลยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องยางพาราไม่ตก  เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่องมานาน การร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางบางเพียงบางส่วนเท่านั้น  ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศคือ ไทย และเมียนมา  เพราะแต่ละประเทศนำนำยางมาใช้ทำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้นแล้วจะส่งผลให้ปริมาณยางในรูปวัตถุดิบลดลง   ทำให้ราคายางจะปรับตัวสูงขึ้นทันที

2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

“ในอนาคตหากเราได้สร้างตลาดกลางยางพารา ในการซื้อ – ขายจริงเพื่อสะท้อนตลาดที่แท้จริงตามต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โดย 5 ประเทศในอาเซียนจะรวมกัน ตั้งตลาดกลางกำหนดราคาขายเอง    และหากรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามารับตำแหน่งก็ควรเร่งหาทางแก้ปัญหายางพาราอย่างรีบด่วน  ”

2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

ทั้งนี้บันทึกความร่วมมือดังกล่าวได้กำหนดขอบเขตความร่วมมือร่วมกันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้คือ ประเทศเมียนมาร์ แลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ระหว่างประเทศและร่วมมือกันสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างงานในประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพิ่มมูลค่ายางให้เป็นผลิตภัณฑ์ยางที่มีมาตรฐานสากลและให้ความร่วมมือในการตั้งตลาดกลางยางพาราในอาเซียน   ส่วนสภาเครือข่ายยางและสถาบันยางแห่งประเทศไทย ( สยยท.) ทำหน้าที่จัดสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมยางทั่วประเทศและจัดหางบประมาณรัฐบาลมาสนับสนุนเครือข่าย, ประสานงานด้านการฝึกอบรมเกษตร, วิจัยหานวัตกรรมใหม่ๆสู่เกษตรกร, จัดหาตลาดสนับสนุนเกษตรกร  

2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

“มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” คณะเศรษฐศาสตร์ ให้ความร่วมมือด้านผลิตบุคลากร  ทำหน้าที่ทำการวิจัย, พัฒนาเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรมใหม่ สมาคมการค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ, สันนิบาตสหกรณ์จังหวัดบึงกาฬ, สภาเกษตรกรจังหวัดบึงกาฬ ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งรวบรวมวัตถุดิบยางพารา พัฒนาวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่ากลางน้ำและปลายน้ำให้ได้มาตรฐาน มอก. ชุมชน, จัดฝึกอบรมให้ความรู้เกษตรกร, หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและจัดหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้เกษตรกรชาวสวนยาง 

2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

“สถาบันวิชาการ วี – เซิร์ฟ” มีหน้าที่ช่วยให้ความรู้และอบรมในด้านโลจิสติกส์สินค้ายางที่จะส่งออกหรือนำเข้าแก่เครือข่ายเกษตรกร และอีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท กนกโปรดักส์ จำกัด และบริษัท พิพัฒนกลการ จำกัด ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือในด้านการตลาดทั้ง 2 ประเทศ ให้เครือข่ายเกษตรกรทำผลิตภัณฑ์ยางตามที่ตลาดต้องการ และร่วมมือในการเสนอโจทย์วิจัยผลิตภัณฑ์ยาง ความต้องการของตลาด   เช่นเดียวกับ “บริษัท เอเชียเกียริ่ง จำกัด” ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือในการผลิตเครื่องจักรกล ที่ใช้กับอุตสาหกรรมยางให้ทันสมัยและลดต้นทุน โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการพัฒนาเครื่องจักรกลที่ใช้กับยาง   วิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจแนวคิดใหม่ในอาเซียน ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือในการให้ความรู้ด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำผลิตภัณฑ์รองเท้าจากยางพารา

2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

ด้าน  MR.Hla  Myint  ประธานสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางประเทศเมียนมาร กล่าวว่า เมียนมาเริ่มปลูกยางพาราตามประเทศศรีลังกา โดยช่วงที่ผ่านมามีอุปสรรคด้านการเมือง ทำให้การปลูกยางพาราไม่ค่อยพัฒนาที่ควร จนกระทั่งช่วงหลังเมื่อมีการเปิดประเทศ การปลูกยางพาราจึงมีการพัฒนาขึ้น ในช่วงที่เปิดประเทศมีพื้นที่ปลูกประมาณ 2 แสนเฮกตา  ปัจจุบันเพิ่มเป็น 1.6 ล้านเอเคอร์ และคาดว่าอีกไม่นานผลผลิตจะเพิ่มเป็น 2 แสนตัน  คาดว่าเมียนมาจะกลายเป็นอันดับ 7 รองจากไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินเดีย  แต่ยังไม่รวมประเทศทางแอฟริกา

2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

“ถึงผลผลิตของเมียนมาจะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าประเทศไทย และมีความแตกต่างอีกมาก  รวมทั้งมีเรื่องราวมากมายที่ต้องพัฒนายังต้องพัฒนาเรื่องปริมาณและคุณภาพ  ด้วยข้อจำกัดเดิมของการปิดประเทศ  เพราะผลผลิตที่ได้ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศไทย ประเด็นที่สำคัญคือ เรื่องคุณภาพ เพราะเมียนมาจะผลิตงานแผ่นรมควัน และยางแท่ง  เมื่อปีก่อนมีการผลิตน้ำยางข้นซึ่งเป็นความร่วมมือกับประเทศไทย แต่ปัจจุบันหยุดไป อย่างไรก็ดีการทำเอ็มโอยูในครั้งนี้สมาคมฯมีความยินดีอย่างยิ่งที่เกิดความร่วมมือครั้งนี้เพื่อร่วมผลักดันการพัฒนาให้เกิดขึ้น  ซึ่งจะเกิดประโยชย์กับทั้งเกษตรกร และอุตสาหกรรมยางพาราเพื่อนำไปสู่การใช้ยางพารามากขึ้น และทำให้มีอำนาจต่องรองมากขึ้น

2ชาติ'ไทย-เมียนมา'แก้ยางล้นตลาด-ราคาตก

เช่นเดียวกับนายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การลงนามเอ็มโอยูระหว่างไทยกับเมียนมาเพื่อกระชับองค์กรระหว่างประเทศอาเซียน  เป็นก้าวที่กลุ่ม CLMVT  อยู่ในภูมิภาคเดียวกันจะต้องรวมกันพัฒนาของต้นนน้ำ  กลางน้ำ  แล้วพัฒนาไปด้วยกัน 5 ประเทศ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราแก่เกษตรกรโดยให้จังหวัดบึงกาฬเป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมสร้างแบรนด์ร่วมกันดังนั้นต้องยึดหลักในการทำงานทั้งฝ่ายรัฐ ยึดถือประโยชน์ร่วมกันก็จะเดินหน้าต่อไปสู่ชัยชนะ