จุดจบ! ข้าว กข.65

11 มี.ค. 2562 | 11:24 น.

กรมการข้าว ยุติขยายพันธุ์ กข.65 ทันที หลังพบปลอมปนข้าวหอมมะลิที่จังหวัดเชียงราย ยันเป็นข้าวหอมชนิดหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะพิเศษต้านทานโรคไหม้ เพิ่งรับรองพันธุ์ข้าว ปี 59  ด้านอธิบดีเตรียมจัดงานวันสถาปนา ย่างก้าวสู่ปีที่ 14 ปี ยืนหยัดพัฒนาคุณภาพข้าวให้ตรงกับความต้องการของตลาด

จุดจบ! ข้าว กข.65

นายวัฒนชัย สุภา ผู้อำนวยการกองเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รับแจ้งจากสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่าย เมล็ดพันธุ์ข้าวว่ามีปัญหาข้าวหอมมะลิ 105 ปลอมปนผสมด้วยข้าวพันธุ์ กข.65 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวหอมชนิดหนึ่งที่มีความต้ารทานโรคเพลี้ยและโรคไหม้ แต่เมื่อเกิดปัญหาทางกรมการข้าวจึงขอยุติไม่นำพันธุ์นี้ออกมาจำหน่ายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

จุดจบ! ข้าว กข.65

อนึ่ง ข้าวพันธุ์ กข65 ได้รับการรับรอง เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 พร้อมกับ 3 สายพันธุ์ ได้แก่  พันธุ์ กข 67, กข 69 และข้าวเหนียว กข 22  เป็นข้าวเจ้าสายพันธุ์ IR77954-28-36-3 ผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้ และอายุเบา คุณลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตเฉลี่ย ในนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบน 634 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ ระยะกล้า ในภาคเหนือตอนบน  เป็นข้าวเจ้าหอม ไวต่อช่วงแสง ออกดอก 50% 

จุดจบ! ข้าว กข.65

อายุสั้นกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 5-7 วัน ช่วยกระจายแรงงานในระยะเก็บเกี่ยว ความสูงน้อยกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 10 เซนติเมตร ลดปัญหาข้าวหักล้มระยะเก็บเกี่ยว  เมล็ดยาวเรียว คุณภาพการสีดี คุณภาพการบริโภคคล้ายขาวดอกมะลิ 105 เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาดอนภาคเหนือตอนบน ที่ฝนหมดเร็ว และมีโรคไหม้ระบาดเป็นประจำ

จุดจบ! ข้าว กข.65

ด้านนายประสงค์ ประไพตระกูล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าว สถาปนาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549 ตลอดระยะเวลา 13 ปีแห่งการเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแลเรื่องข้าวของประเทศ กรมการข้าวได้มุ่งมั่นพัฒนาข้าว โดยเฉพาะด้านการผลิตรวมถึงการเชื่อมโยงด้านการตลาด การพัฒนาการปลูกข้าวและการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว การอนุรักษ์และคุ้มครองพันธุ์ข้าว การปรับปรุงพันธุ์พื้นเมืองให้มีลักษณะที่ตรงตามพันธุ์ อีกทั้งยังดูแลด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้เมล็ดพันธุ์ดี และกระจายสู่ชาวนาได้อย่างทั่วถึง

จุดจบ! ข้าว กข.65

รัฐบาลให้ความสำคัญและมีนโยบายการพัฒนาข้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอตรงความต้องการในประเทศและส่งออกต่างประเทศ จึงดำเนินการจัดทำแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร กำหนดพื้นที่ปลูกข้าว โดยในปี 2561 ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2561/62 จำนวน 70.42 ล้านไร่ ผลผลิต 33.42 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งเป็นปริมาณที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเห็นสอดรับกันว่าเป็นปริมาณผลผลิตและความต้องการตลาดที่มีความสมดุลกัน ทั้งนี้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรนี้ดำเนินการตั้งแต่การวิเคราะห์ดีมานต์และซับพลาย ช่วงการผลิต และช่วงการตลาด

จุดจบ! ข้าว กข.65

ในปีที่ผ่านมา กรมการข้าวให้ความสำคัญต่อเรื่องการผลิตและการตลาดข้าวเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันยังได้มีการปรับตัวเรื่องการวิจัยและพัฒนาข้าว แม้ในอดีตจะมีงานวิจัยที่ก่อประโยชน์นานัปการ มีผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จสามารถถ่ายทอดและเผยแพร่สู่สาธารณมากมาย แต่การปรับตัวเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันก็ยังคงต้องดำเนินการต่อไป จึงมีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและดึงตลาดข้าวให้กลับมาเป็นของไทยเช่นเดิม ด้วยการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และพัฒนาคุณภาพข้าวให้ตรงกับความต้องการของตลาด มีการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม เข้ามาพัฒนางานข้าวที่สำคัญๆ โดยเฉพาะการใช้พันธุ์ดีเพื่อเพิ่มโอกาสและอำนาจต่อรองให้ชาวนา

จุดจบ! ข้าว กข.65

ก้าวสู่ปีที่ 14 นี้ กรมการข้าวได้เร่งดำเนินนโยบายด้านการผลิตข้าวตามที่รัฐบาลได้มอบหมายตามแนวทางดำเนินงานของนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ด้านข้าว โครงการสำรองเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งศูนย์ข้าวชุมชนและเครือข่าย โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร โครงการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร โครงการวิจัยและพัฒนาข้าว จึงรับรองพันธุ์ข้าว กข79 ซึ่งเป็นข้าวเจ้าพื้นนุ่มผลผลิตสูงตรงตามความต้องการของชาวนาและกำลังเป็นที่นิยมของตลาด ขณะเดียวกันกรมการข้าวได้ต่อยอดการพัฒนาข้าว กข43 โดยส่งตัวอย่างข้าวตรวจวิเคราะห์ค่าดัชนีน้ำตาลที่ประเทศออสเตรเลีย เพื่อประโยชน์ในการทำการตลาดข้าวในต่างประเทศ

จุดจบ! ข้าว กข.65

นายประสงค์ กล่าวย้ำว่า การพัฒนาการเกษตรไปสู่ความยั่งยืนคือเป้าหมายของการทำงานที่รัฐบาลต้องการ โดยมุ่งหวังให้สินค้าเกษตรเป็นไปตามกลไกตลาด ไม่มีนโยบายแทรกแซง ไม่บิดเบือนราคา เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด การพัฒนาบนพื้นฐานของปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง การใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีนำการผลิต และการเชื่อมโยงทางการตลาด รวมทั้งการพัฒนาระบบตลาดให้กับเกษตรกรสามารถเข้าถึง และมีข้อมูลด้านการตลาดเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อสร้างอาชีพชาวนาให้มีความเข้มแข็ง มีรายได้ที่มั่นคงในอนาคตต่อไป