"ดร.นฤมล" ชี้! "สังคมสูงวัย" ซุกปัญหา แต่ซ่อนโอกาส

07 กุมภาพันธ์ 2562
วันที่ 7 ก.พ. 2562 - หนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ" จัดงานสัมมนาทางวิชาการ ในหัวข้อ "ROAD to Silver Age : เจาะขุมทรัพย์หมื่นล้าน" ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เพื่อชี้ให้เห็นถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในอนาคต ที่จะเป็น "สังคมผู้สูงอายุ" ซึ่งจะมีผลต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ

 

[caption id="attachment_385780" align="aligncenter" width="503"] ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์[/caption]

ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาถึงนโยบายของรัฐบาลในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตอนหนึ่งว่า เคยทำการศึกษาเรื่อง "ประกันสังคมของผู้สูงวัย" ตั้งแต่เรียนปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสำนักงานประกันสังคม โดยได้ศึกษากองทุนประกันสังคมของไทย ซึ่งต้องมีการแก้ไขในหลายเรื่องเพื่อไม่ให้เงินของกองทุนหมด เพราะหากหมดแล้ว อาจจะเป็นภาระกับภาษีและงบประมาณในอนาคต ซึ่งปัญหาของสังคมผู้สูงวัยที่จะตามมา คือ ภาระของรัฐ เพราะแรงงานที่จะเข้ามาในระบบจะน้อยลง เม็ดเงินภาษีที่จะนำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ก็จะน้อยลง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมารองรับกับสังคมสูงอายุ และส่วนอื่น ๆ ที่จะต้องดูแลอีก


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว

ผู้ช่วย รมต.ประจำกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า อยากให้มองปัญหาสังคมผู้สูงอายุทั้งภาพใหญ่ เพราะไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาคนสูงอายุ แต่จะเป็นปัญหาประชากรทั้งระบบ ตั้งแต่เกิด ที่ต้องดูแลตั้งแต่ในครรภ์ การดูแลในช่วง 6 ขวบปีแรก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเรื่องโภชนาการ วินัย ความรู้ หลักสูตรการเรียนการสอนก็ต้องเปลี่ยนไป ดังนั้น เดือนหน้าจะมีการเลือกตั้ง ขอให้ดูว่าพรรคใดมีนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงวัย เพื่อให้รัฐบาลเข้าดูแลเรื่องนี้ตั้งแต่ในครรภ์

ดร.นฤมล กล่าวอีกว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีการศึกษาวิจัย พบว่า อีก 2 ปี จะมีผู้สูงอายุ 17% ของประชากร ซึ่งจะเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้สูงอายุติดบ้าน มีประมาณ 1.9 ล้านคน 2.ผู้สูงอายุติดเตียง ประมาณ 2 แสนคน และ 3.ผู้สูงอายุติดสังคม ประมาณ 8 ล้านกว่าคน ซึ่งนโยบายของรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับทั้ง 3 กลุ่ม และเจ้าของกิจการอาจคิดค้นสินค้าและนวัตกรรมมารองรับ เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุราคาถูกลงด้วยเทคโนโลยี อย่างเช่น โรคติดบ้าน อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าตามมา ก็ต้องมีผลิตภัณฑ์ บริการใด ให้กระตุ้นสมอง ช่วยให้อยากอยู่ในสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับติดเตียงก็มีสินค้าและบริการมาช่วยดูแลเพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่วนที่ติดสังคมอาจจะมีผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับ 8 ล้านคน ให้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เพราะเขามีกำลังทรัพย์ในการใช้จ่ายได้

 

[caption id="attachment_385525" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]