'ซัมมิท' ควัก 100 ล้าน เร่งพัฒนาไอทีติด GPS ค้นหาลูกค้า

28 ม.ค. 2562 | 04:45 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

... ดูเหมือนว่า ภาพรวมตลาดสินเชื่อจักรยานยนต์ ปี 2562 จะยังไม่สดใสนัก โดยบริษัท ซัมมิท แคปปิตอล จำกัด ประเมินว่า ยอดขายรถจักรยานยนต์ปีนี้น่าจะยังคงปรับตัวลงราว 1-2% มาอยู่ที่ 1.7 ล้านคัน จากยอดขายในปีก่อนอยู่ที่ 1.78 ล้านคัน ลดลง 1.24% จากปี 2560 ที่มียอดขาย 1.81 ล้านคัน

ทั้งนี้ เพราะตลาดยังคงเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาค ทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ผลสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่ สหภาพยุโรปยังมีประเด็นการแยกตัวอังกฤษ (Brexit) ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนให้ตลาด ส่งผลต่อภาคการค้าระหว่างประเทศและเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวจาก 4% เหลือ 3.8% และการส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักปรับลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2560 ที่ขยายตัวสูงกว่า 9% เหลือ 7% ในปี 2561 และคาดว่าจะเหลือเพียง 3.8% ในปีนี้

 

[caption id="attachment_379911" align="aligncenter" width="334"] วิชิต พยุหนาวีชัย วิชิต พยุหนาวีชัย[/caption]

นายวิชิต พยุหนาวีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงข้างต้น กลยุทธ์การทำธุรกิจในปีนี้จึงจะเร่งเครื่องลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพ รองรับการเติบโตธุรกิจและขยายคู่ค้าตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ (ดีลเลอร์) ให้มากขึ้น โดยภายในไตรมาสแรกจะเปิดตัวระบบ Daily Observed Checking System รวมถึงซื้อระบบ Collection and Recovery System จากอินเดีย ซึ่งเป็นระบบติดตามหนี้ผ่านแพลตฟอร์มบนโมบายแอพพลิเคชัน สามารถค้นหาลูกค้าด้วยระบบ GPS และตรวจสอบสถานะของลูกค้าได้เร็วขึ้น

บริษัทจะใช้เงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ในเทคโนโลยีและพัฒนาระบบต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและอนุมัติสินเชื่อให้รวดเร็วได้ภายใน 30 นาที เพื่อให้ดีลเลอร์ส่งธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากตลาดรถจักรยานยนต์ที่ถดถอย โดยปีนี้ตั้งเป้าขยายดีลเลอร์เป็น 900 ราย หรือ 2,800 โชว์รูม จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 800 ราย หรือ 2,500 โชว์รูม

นอกจากนั้น ยังเป็นการเตรียมพร้อมรองรับการเติบโตของสัญญาใหม่ 9-10% คิดเป็นยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.1 หมื่นคันต่อเดือน จากปีก่อนอยู่ที่ 1 หมื่นคันต่อเดือน หรือ 1.2 แสนคันต่อปี เติบโต 13% และตั้งเป้ารายได้รวม ทั้งรายได้จากดอกเบี้ยและรายได้จากค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 15% จากปีก่อนเติบโต 30% โดยสัดส่วน  80% ยังคงมาจากรายได้ดอกเบี้ย และ 20% เป็นรายได้ค่าธรรมเนียม


บาร์ไลน์ฐาน

อย่างไรก็ตาม ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลต่อการสร้างรายได้ของบริษัท จากแนวโน้มต้นทุนทางการเงิน (Cost Of Fund) เพิ่มขึ้น รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรง แต่บริษัทจะคงรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้อยู่ในระดับเดิมและยังไม่มีแผนการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

นายวิชิต กล่าวต่อว่า บริษัทยังมีแผนเพิ่มพนักงานจาก 1,600 คน เป็น 1,800 คน โดยมีพนักงานขาย หรือ ทีม Credit Officer ราว 500 คน และทีมติดตามหนี้อีก 300 คน ซึ่งเทคโนโลยีที่ลงทุนใหม่จะมีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้ยอดการอนุมัติสินเชื่อ (Approval Rate) เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 75% และยอดปฏิเสธสินเชื่อ (Reject Rate) อยู่ที่ 25%

ด้านสินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) ตั้งเป้าปล่อยใหม่ราว 1,500 ล้านบาท จากยอดคงค้าง 1,200 ล้านบาท หรือ 10% ของยอดสินเชื่อรวม ซึ่งปีนี้จะไม่เน้นการเติบโตมากนัก เพราะเป็นสินเชื่อที่อยู่ระหว่างศึกษาและเป็นฐานลูกค้าใหม่ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีรายได้ 5 หมื่น - 1 แสนบาทต่อเดือน วงเงินปล่อยกู้เฉลี่ยรายละ 4-5 แสนบาท ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ ในระบบ

ขณะเดียวกันกำลังศึกษาที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่จะต้องรอความชัดเจนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการชี้แจงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน หากมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ถึงการคำนวณอัตราดอกเบี้ยชัดเจนบริษัทก็มีความสนใจที่จะทำผลิตภัณต์ดังกล่าว

หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,439 วันที่  27 - 30 มกราคม พ.ศ. 2562

595959859