"มูลนิธิเอสซีจี" ส่งต่อพลังใจสู่ "ผู้พิทักษ์ป่า"

23 ก.ย. 2561 | 05:03 น.
"ผู้พิทักษ์ป่า" อาชีพที่ใครหลายคนอาจนึกไม่ถึง ว่า เขาเหล่านี้ต้องปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางความเสี่ยงและอันตรายมากเพียงใด เพื่อดูแลเเละปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้คงอยู่



ผู้รับทุน “ความฝัน วันแห่งอนาคต”

จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประเทศไทยมีผืนป่ากว่า 102 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 31 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศไทย อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าจำนวน 20,000 คน ซึ่งหมายถึง พื้นที่ป่ากว่า 5,000 ไร่ อยู่ภายใต้การดูแลของผู้พิทักษ์ป่าเพียง 1 คนเท่านั้น

เบื้องหน้า คือ ผืนป่าอันกว้างใหญ่ เบื้องหลัง คือ ครอบครัวที่ห่วงใย แม้จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างหนักหน่วง บางครั้งอาจจะต้องเผชิญกับขบวนการลักลอบตัดไม้และล่าสัตว์ โรคภัยไข้เจ็บสารพัด หรือแม้แต่ภัยธรรมชาติและความดุร้ายของสัตว์ป่าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการทำหน้าที่ไปพร้อมกับความกังวลว่า "ใครจะดูแลลูกและครอบครัว" แต่เขาเหล่านี้ยังคงเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฮีโร่อย่างเข้มแข็ง แม้จะตกอยู่ในภาวะ "ห่วงหน้า พะวงหลัง" ก็ตาม

เพื่อตอบแทนความทุ่มเท เสียสละทั้งเเรงกายเเรงใจของผู้พิทักษ์ป่า "มูลนิธิเอสซีจี" จึงมอบทุนการศึกษาเเก่บุตรผู้พิทักษ์ป่า ภายใต้โครงการ "Sharing the Dream Scholarship โดยมูลนิธิเอสซีจี" ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2558 เป็นปีแรก จนถึงปัจจุบันได้มอบทุนเเก่บุตรผู้พิทักษ์ป่าไปแล้ว 366 ทุน ใน 152 พื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งในปี 2561 นี้ นับเป็นปีที่ 4 ได้มอบทุนแก่บุตรผู้พิทักษ์ป่าอีกจำนวน 160 ทุน ใน 92 พื้นที่อนุรักษ์ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้พิทักษ์ป่า ให้ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถโดยไม่ต้อง "ห่วงหน้า พะวงหลัง" ต่อไป

"ทุนการศึกษาที่บุตรของผู้พิทักษ์ป่าได้รับนั้น เป็นทุนให้เปล่า ไม่มีภาระผูกพันต้องใช้คืน มูลนิธิเอสซีจีจะมอบให้ต่อเนื่องไปจนจบการศึกษา เรียกได้ว่า ช่วยลดความกังวลให้กับผู้พิทักษ์ป่า ไม่ต้องห่วงหน้า พะวงหลัง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่" ขจรเดช เเสงสุพรรณ กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าว


พ่อถาวร_น้องวิว (1)

หนึ่งในตัวอย่างผู้พิทักษ์ป่า "ถาวร ชูกรณ์" พนักงานพิทักษ์ป่า สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า เล่าว่า จุดเริ่มต้นชีวิตผู้พิทักษ์ป่าของเขาเริ่มขึ้นเมื่อปี 2550 ในตำแหน่งพนักงานจ้างเหมาชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า ในขณะนั้นทำหน้าที่ลาดตระเวนตรวจหาไฟป่าและควบคุมไฟป่า ตลอดระยะเวลา 7 ปี ปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทมาโดยตลอด จนกระทั่งได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า ในปี 2557


กิจกรรมจากหัวใจ “อ้อมกอดจากลูก”_3

'ถาวร' ต้องปฏิบัติงานในพื้นยากลำบาก หน้าที่หลักของเขา คือ การทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟไม่ให้ลุกลามต่อเนื่อง และเมื่อเกิดไฟป่าขึ้นต้องควบคุมไฟและดับไฟให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง นับเป็นการปฏิบัติหน้าที่บนความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่เขาก็ยังยืนหยัดที่จะปฏิบัติหน้าที่นี้ เพราะต้องการจะปกป้องผืนป่าและทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลังได้สัมผัสและชื่นชมต่อไป

11 ปี กับอาชีพผู้พิทักษ์ป่า ภารกิจที่ 'ถาวร' ภูมิใจมากที่สุด คือ การได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดับไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2555 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นไฟป่ามีความรุนแรง ลุกโหมกินพื้นที่กว่าพันไร่ เขาต้องแบกเครื่องสูบน้ำเข้าไปในป่าเป็นระยะทางประมาณ 3-4 กิโลเมตร เพื่อดับไฟป่าและต้องอัดฉีดน้ำลงไปในดิน ให้น้ำซึมลงไปให้ลึกพอที่จะดับไฟได้ การดับไฟป่าในครั้งนี้ทำให้ 'ถาวร' ต้องใช้ชีวิตกินนอนอยู่ในป่านานกว่า 2 เดือน เลยทีเดียว

สิ่งที่ 'ถาวร' ห่วงอยู่เสมอนอกเหนือจากการดูแลป่า คือ การศึกษาของลูก




พ่อยอด_น้องโฟว์ (2)

"รายได้ของผมตอนนี้ไม่เพียงพอที่จะส่งลูก ๆ เรียน ผมต้องทำงานกรีดยางเป็นอาชีพเสริม เพื่อสานฝันของพวกเขาให้เป็นจริง พอผมรู้ว่า มูลนิธิเอสซีจีให้ทุนการศึกษาลูกผม ทำให้ผมหายห่วงและมีกำลังใจทำงานต่อไป และบอกลูกเสมอว่า ได้ทุนเรียนแล้ว ขอให้ตั้งใจเรียน เรียนให้เก่ง ๆ เมื่อโตขึ้นจะได้เป็นพยาบาลอย่างที่ลูกตั้งใจไว้" ถาวร กล่าว


กิจกรรมจากหัวใจ “อ้อมกอดจากลูก”_4 (1)

ด.ญ.ทักษิณา ชูกรณ์ หรือ "น้องวิว" บุตรสาวคนโตของ 'ถาวร' ปัจจุบันอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช หนึ่งในผู้รับทุนการศึกษาบุตรผู้พิทักษ์ป่า กล่าวว่า รู้สึกดีใจและตื้นตันใจที่มีคนมองเห็นความสำคัญของพ่อ ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อ ก่อนที่พ่อจะออกไปทำงานในป่าแต่ละครั้งจะยกมือไหว้ แม้จะไม่แสดงออกมาเป็นคำพูดว่ารักพ่อมากแค่ไหน แต่เมื่อพ่อกลับมาบ้านทุกครั้ง จะวิ่งเข้าไปกอดพ่อ ดีใจที่พ่อกลับมาบ้านอย่างปลอดภัยทุกครั้ง

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-16-503x62