เปิด 4 แบบเทอร์มินัล 2 สุวรรณภูมิ ทอท.แจงยิบไฟเขียว “ดวงฤทธิ์” คว้างาน

23 ส.ค. 2561 | 02:54 น.
เปิดภาพการออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ จากทั้ง 4 บริษัท ขณะที่บอร์ดทอท.ไฟเขียวกลุ่มดวงฤทธิ์ ชนะประมูลงานออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 329.5 ล้านบาท แจงละเอียดยิบ ปัดกลุ่มที่ปรึกษาSA ที่ได้คะแนนเทคนิคสูงสุด ตกรอบ เหตุจากผิดทีโออาร์ เผย ผู้รับจ้างจะมีระยะเวลาในการออกแบบ 10 เดือน จากนั้นทอท.จะนำแบบไปประมูลงานก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปลายปี 2562 และแล้วเสร็จในปลายปี2564 อาคารใหม่รับผู้โดยสารเพิ่มอีก 30 ล้านคนต่อปี

05 BIRD NIGHT_FINALbyD ในการประชุมบอร์ดบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 ได้อนุมัติให้ทอท.ดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างงานสำรวจออกแบบโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่2 สนามบินสุวรรณภูมิ โดยวิธีประกวดแบบ วงเงินการจัดหารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 329.5 ล้านบาท และอนุมัติหลักเกณฑ์ตามระเบียบข้อกำหนดทอท.ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาดำเนินงานตามเรื่องนี้ ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม2560 ทอท.ได้เปิดประมูลงานจัดหาผู้รับจ้างสำรวจออกแบบโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ โดยวิธีประกวดแบบ และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 มีผู้ยื่นซองประมูลจำนวนรวม 4 ราย

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ได้แก่ 1.กลุ่มบริษัทที่ปรึกษากลุ่มบริษัทร่วมทำงานเอส เอ ประกอบไปด้วย บริษัทสแปน คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทไชน์-เทค เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทอะซูซา เซคเคอิ จำกัด และบริษัทสกายปาร์ตี้ จำกัด 2.กลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก-อีเอ็มเอส-เอ็มเอชพีเอ็ม-เอ็มเอสเอ-เออาร์เจ 3.กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ที่ประกอบไปด้วย บริษัทวาร์ดา แอสโซซิเอทส์ จำกัด บริษัทไวส โปรเจ็คคอลซัลติ้ง จำกัด และบริษัทจงลิม อาร์คิเทกเจอร์ จำกัด และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบไปด้วยบริษัทเดอะโบว์มอนท์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด บริษัทอินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด บริษัทอีจิส เรล (ประเทศไทย)จำกัด บริษัทซีอีแอล เอ็นจิเนียส์ จำกัด บริษัทซีอีแอล อาร์คิเทคส์ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด บริษัทอลานา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

โดยทอท.ได้ตั้งคณะกรรมการจัดหาพัสดุงานจ้างสำรวจออกแบบโครงการนี้ ซึ่งมีผู้แทนจากสมาคมสถาปนิกสยามร่วมเป็นกรรมการ  คณะกรรมการจัดหาพัสดุฯได้ประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้ยื่นซองประมูลทั้ง 4 ราย ตามข้อกำหนดและรายละเอียดงานจ้าง(TOR)ข้อ 14.5 กำหนดให้ผู้ผ่านข้อเสนอเทคนิคจะต้องได้รับคะแนนตั้งแต่ 80% ขึ้นไป และจัดลำดับเพื่อเชิญมาต่อรองราคา โดยทั้ง 4 กลุ่มบริษัทได้ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวตามลำดับคะแนน คือ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษากลุ่มบริษัทร่วมทำงานเอส เอ,กลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก,กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาวาร์ดา แอสโซซิเอทส์ จำกัด และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเดอะโบว์มอนท์ พาร์ทเนอร์ส

ดังนั้นทอท.จึงได้เชิญกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเอสเอ กรุ๊ป มาเปิดซองข้อเสนอด้านราคา แต่กลุ่มที่ปรึกษาเอสเอ ไม่ได้ยื่นต้นฉบับใบเสนอราคา ตามที่ทอท.กำหนดในTOR ข้อ 13.3.3 ซึ่งระบุว่า “ผู้เสนองานต้องใช้ต้นฉบับใบเสนอราคา ที่ได้รับจากทอท.เท่านั้น ใบเสนอราคานอกเหนือจากนี้จะไม่รับพิจารณาโดยเด็ดขาด”

เนื่องจากเอกสารต้นฉบับใบเสนอราคาที่ได้รับจากทอท.เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้เสนอราคาต้องใข้ในการเสนอราคา เพราะนอกจากจะมีข้อเสนอด้านราคา ซึ่งต้องระบุเป็นตัวเลขและตัวอักษรแล้ว ยังมีเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญอื่นๆระบุไว้ ได้แก่ ระยะเวลายื่นราคา คำรับรองว่าจะเริ่มทำงานตามสัญญาทันทีที่ได้รับแจ้งจากทอท.และจะส่งมอบงานตามเอกสารประกวดแบบภายในระยะเวลาที่กำหนด คณะกรรมการจัดหาพัสดุจึงไม่พิจารณาเอกสารข้อเสนอราคา

ต่อมาได้เชิญกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก ซึ่งได้คะแนนเทคนิคสูงอันดับถัดไปมาต่อรองราคาตามเงื่อนไขของข้อกำหนดและรายละเอียดการจ้าง(TOR)ข้อ 14.6 ซึ่งบริษัทได้เสนอเอกสารข้อเสนอด้านราคามาครบถ้วนตามเงื่อนไขและข้อตกลงในการประมูลฯและข้อกำหนดและรายละเอียดงานจ้าง(TOR)โดยเสนอราคาค่าออกแบบเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 349 ล้านบาทรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และคณะกรรมการจัดหาพัสดุได้ดำเนินการต่อรอง รวมเป็นค่าจ้างออกแบบทั้งสิ้น 329.5 ล้านบาท(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)และได้นำเสนอบอร์ดทอท.เพื่อขออนุมัติการจัดจ้างกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก

 

[caption id="attachment_308615" align="aligncenter" width="503"] Suvarnabhumi Airport Terminal II / Design Proposal by DBALP Consortium ©Duangrit Bunnag Suvarnabhumi Airport Terminal II / Design Proposal by DBALP Consortium ©Duangrit Bunnag[/caption]

ทั้งนี้เมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างจะมีระยะเวลาในการออกแบบ 10 เดือน จากนั้นทอท.จะนำแบบไปประมูลงานก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปลายปี 2562 และแล้วเสร็จในปลายปี2564 เมื่อแล้วเสร็จจะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ ได้อีก 30 ล้านคนต่อปี

ทั้งนี้กลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก  มีผลงานและเอกสารประกอบในการประกวดแบบ(credential)ที่มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากดีบีเอแอลพี หรือบริษัทดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด ซึ่งเป็น Lead firm ของกลุ่มคอนซอเตียมนี้ มีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งในและนอกประเทศมาก ขณะที่บริษัทต่างชาติที่ดึงมาร่วมออกแบบ อย่าง Nikken ก็เป็นบริษัทสถาปนิกที่ใหญ่เป็นอันดับ1ในญี่ปุ่นและอันดับ2ของโลก มีทีมออกแบบซึ่งมีประสบการณ์ด้านงานออกแบบอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานนานาชาติ ที่มีขีดความสามารถไม่น้อยกว่า 15 ล้านคนต่อปี มีผลงานการออกแบบระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระแบบ In-Line Screening (BHS&HBS)ของท่าอากาศยานนานาชาติ และมีผลงานการออกแบบระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ(APM) เป็นต้น ส่วนแบบอาคารผู้โดยสาร ที่นำเสนอเป็นคอนเซ็ปต์ Forest Airport Terminal มีการจัดพื้นที่บางส่วนสร้างระบบนิเวศน์ป่า สร้างความร่มรื่น ส่วนการออกแบบกลุ่มบริษัทที่ปรึกษากลุ่มบริษัทร่วมทำงานเอส เอ เป็นคอนเซ็ปต์ดอกบัว

090861-1927
สำหรับโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบไปด้วย 1. งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่2 บริเวณด้านทิศเหนือของอาคารเทียบเครื่องบินA มีพื้นที่ประมาณ348 แสนตารางเมตร เป็นอาคารแบบมัลติ-เทอร์มินัล

สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี แบ่งเป็นผู้โดยสารภายในประเทศ 12 ล้านคนต่อปี และผู้โดยสารระหว่างประเทศ 18 ล้านคนต่อปี พร้อมทั้งปรับปรุงลานจอดอากาศยานให้สอดคล้องกับอาคารผู้โดยสาร โดยมีหลุมจอดประมาณ 14 หลุมจอด 2. งานก่อสร้างปรับปรุงอาคารเทียบเครื่องบิน A,B และ C 3.งานก่อสร้างอาคารบริการท่าอากาศยานครบวงจร (Airport Multiplex Building : AMB)ด้านทิศใต้ของอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ พื้นที่อาคารประมาณ8.4 หมื่นตารางเมตร สามารถจอดรถยนต์ในอาคารได้ประมาณ1,000-1,500 คัน 4.งานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ โดยเป็นระบบรถไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยหลัก(MTB)และอาคารเทียบเครื่องบินAในปัจจุบัน ไปยังอาคารผู้โดยสารหลังที่2 และเชื่อมต่อการเดินทางจากอาคารผู้โดยสารหลังที่2 กับสถานีรถไฟฟ้า Airport  Rail Link มีระยะทางรวมทั้งระบบยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร 5.งานระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร เพื่อรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคนต่อปี และเชื่อมต่อกับระบบของอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน 6.งานก่อสร้างระบบถนนภายในท่าอากาศยาน เพื่อใช้เป็นเส้นทางเข้า-ออกอาคารผู้โดยสารหลังที่2 และ7. งานก่อสร้างระบบสาธาณูปโภคเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการฯ




เปิดภาพการออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ จากทั้ง 4 บริษัท

ภาพการออกแบบของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษากลุ่มบริษัทร่วมทำงานเอส เอ

450587

ภาพการออกแบบของกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก

05 AIRSIDE01 01 ENTRANCE with PEOPLE 03 COURT+LA

05 BIRD NIGHT_FINALbyD

06 AIRSIDE02

08 GRAND FRONT VIEW_people + newlight02 +EDIT

ภาพการออกแบบของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาวาร์ดา แอสโซซิเอทส์

S__31031375

 

S__31031374

 

ภาพการออกแบบของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเดอะโบว์มอนท์ พาร์ทเนอร์ส

S__31031383

 

S__31031381