เปิดเทรนด์ใหม่อสังหาฯ! SCB ชี้ตลาดบ้านอิ่มตัว เอกชนดิ้นหารายได้รูปแบบใหม่

20 มิ.ย. 2561 | 04:52 น.
200661-1132

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ไทยพาณิชย์ เผย เห็นสัญญาณดีเวลอปเปอร์รายใหม่-รายเก่า แห่เปิดอาคารสำนักงาน-โรงแรม-ศูนย์สุขภาพ จับมือต่างชาติลงทุน เบนเข็มหารายได้เซ็กเมนต์ใหม่ หลังตลาดอสังหาริมทรัพย์ซื้อมาขายไปเริ่มอิ่มตัว พร้อมประเมินตลาดที่อยู่อาศัยปี 61 โต 7% มูลค่าโอน 4.6 แสนล้านบาท


 

[caption id="attachment_291395" align="aligncenter" width="312"] วิธาน เจริญผล ผู้อำนวยการอาวุโสคลัสเตอร์ธุรกิจบริการ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วิธาน เจริญผล
ผู้อำนวยการอาวุโสคลัสเตอร์ธุรกิจบริการ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)[/caption]

นายวิธาน เจริญผล ผู้อำนวยการอาวุโสคลัสเตอร์ธุรกิจบริการ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ช่วง 2-3 ปีจากนี้ไป จะเห็นผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ดีเวลอปเปอร์) เริ่มแสวงหารายได้ในรูปแบบใหม่ ๆ จากเดิมที่จะใช้วิธีการเปิดโครงการที่อยู่อาศัย รอขาย และปิดโครงการ เพื่อรองรับรายได้ แต่หลังจากนี้ จะเริ่มเห็นผู้ประกอบการมองหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น เพราะมองว่า การซื้อมาขายไปตลาดค่อนข้างเริ่มอิ่มตัวและไม่ได้ขยายตัวแบบก้าวกระโดดเหมือนในอดีต

ดังนั้น แนวโน้มจะเห็นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั้งรายใหม่และรายเก่า หันมาทำตลาดประเภทอื่นมากขึ้น เช่น ผู้ประกอบการรายเก่าหันมาพัฒนาอาคารสำนักงาน โรงพยาบาล หรือผู้ประกอบการรายใหม่หันมาทำโรงแรม หรือ ศูนย์ดูแลสุขภาพ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ไม่ได้เฉพาะแค่ลูกค้าต่างประเทศ แต่ลูกค้าไทยก็มีจำนวนมากเช่นกัน หรือ โครงการ Mixed Use ที่มีอัตราการเติบโตค่อนข้างมากในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน หากอยู่ในทำเลที่ตั้งใกล้ชุมชนและสภาพแวดล้อมที่ดีใกล้แหล่งอาหารและเครื่องดื่ม จะยิ่งทำให้มีการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้นถึง 15%


appHOME

ทั้งนี้ จากทิศทางที่ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่และมีมูลค่าสูง ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการร่วมมือกับต่างประเทศมากขึ้น ทั้งในแง่ของเม็ดเงินลงทุนและความรู้จากต่างประเทศที่จะมาช่วยพัฒนาโครงการ รวมถึงสามารถขยายฐานลูกค้าต่างชาติ จึงเกิดการดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น ประกอบกับนักลงทุนต่างชาติเอง มองตลาดไทยกำลังเติบโตและจะมีการลงทุนในโครงการต่อขยายรถไฟฟ้าเพิ่มอีกหลายสาย จึงเป็นโอกาสที่จะลงทุน และจะเห็นว่า ผลตอบแทนการลงทุนค่อนข้างดี อย่าง โครงการ Mixed Use ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยค่อนข้างสูง จึงเกิดการร่วมลงทุนระหว่างดีเวลอปเปอร์ไทยและนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น หากดูสัดส่วนการลงทุนโดยตรง (FDI) รายประเทศที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงปี 2558-2560 พบว่า ฮ่องกงมีสัดส่วนลงทุนสูงถึง 21% สหภาพยุโรป 19% สหรัฐอเมริกา 17% สิงคโปร์ 13% และญี่ปุ่น 5%

"เราเริ่มเห็นภาพดีเวลอปเปอร์รายใหญ่ ๆ ในตลาดเริ่มย้ายไปทำในตลาดใหม่ ๆ เพื่อหารายได้ใหม่ ๆ จากเดิมที่สร้างและขาย เพราะซื้อมาขายไปคงไม่บูมเหมือนในอดีต แต่ด้วยโครงการมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงต้องร่วมมือกับต่างชาติที่มีโนว์ฮาวและเงินลงทุนเข้ามาร่วมทุน และต่างชาติก็มองไทยยังเติบโตได้ รวมถึงต่างชาติที่นิยมเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยในไทยเพิ่มขึ้น เช่น ชาวสิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน"


3375_180620_0012

สำหรับภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2561 นายวิธาน กล่าวว่า เฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีอัตราเติบโตที่ 7% คิดเป็นมูลค่าการโอน 4.6 แสนล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม 46% บ้านเดี่ยว 23% ทาวน์เฮาส์ 21% จากปี 2560 อยู่ที่ 4.3 แสนล้านบาท หากรวมตลาดต่างจังหวัดจะอยู่ที่ 7-9 แสนล้านบาท โดยคาดว่า ตลาดต่างจังหวัดน่าจะเติบโต 2-3% ขณะที่ จำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์โตที่ 3% จาก 1.63 แสนยูนิต เพิ่มเป็น 1.69 แสนยูนิต ซึ่งไตรมาส 1 ยอดการโอนเติบโตได้ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยมียอดการโอนเติบโตแล้ว 20-30% และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ค่อนข้างนิ่งอยู่ที่ 2-3% เนื่องจากสถาบันการเงินยังคงมาตรฐานความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังเป็นความท้าทายและต้องจับตามองในปีนี้ เป็นเรื่องจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายที่มีสะสมตั้งแต่ปี 2556 กว่า 1.7 แสนยูนิต แบ่งเป็นคอนโดมิเนียมประมาณ 40% และทาวน์เฮาส์ 20% แม้ว่าจะเป็นอัตราที่เทียบเท่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และมีทิศทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ได้อยู่ในภาวะที่น่าห่วงหรือกังวลมากนัก เพราะปัจจุบัน ยังมีกำลังซื้ออยู่ แต่ผู้ประกอบการอาจจะต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ เช่น ชะลอเปิดโครงการใหม่ หรือ เปิดโครงการในตลาดที่มีกำลังซื้อ ซึ่งการระบายยอดเหลือขายอาจจะต้องใช้เวลาเฉลี่ย 1 ปีครึ่ง ปีนี้คาดว่าโครงการใหม่และยอดระบายเหลือขายน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดิม


appMP33-3176-A

"ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและปรับกลยุทธ์ใหม่ เช่น พัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น แอพพลิเคชันบริการหลังการขาย เพราะคนจะเริ่มหาข้อมูลในโซเชียลมากขึ้น หรือ พัฒนาเทคโนโลยี การดึง Big Data มาวิเคราะห์ตลาด เพื่อสร้างโปรดักต์ที่ตอบโจทย์และโดนใจผู้บริโภคมากขึ้น"


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,375 วันที่ 17-20 มิ.ย. 2561 หน้า 24+23

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
SCB ปรับเกมกลยุทธ์ธุรกิจอสังหาฯ พิชิตใจผู้บริโภคยุค 4.0
ตึกแถว 'คลองสาน' ฮอต | บิ๊กอสังหาฯ กว้านซื้อสร้างคอนโดฯ รับสายสีทอง


e-book-1-503x62