'ประยุทธ์' สั่งเร่ง ก.ม.ดิจิทัล 2 ฉบับ! เคาะแผนปั้น 1 พันคน รอ พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์

09 พ.ค. 2561 | 14:58 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

วันที่ 9 พ.ค. 2561 เวลา 14.00 น. ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยไซเบอร์ หรือ บอร์ดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ครั้งที่ 1/2561 ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดย นายกรัฐมนตรี กล่าวก่อนการประชุมว่า ปัจจุบัน มีกระแสข่าวที่เป็นทั้งข่าวเท็จและข่าวลวง ซึ่งเหล่านี้เกิดจากกระบวนการคิดของคน และแสดงให้เห็นว่าคนไม่หยุดคิดจึงอยากให้มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาเพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรียังได้ย้ำให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เร่งออกกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์และร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้สามารถทำการค้ากับต่างประเทศได้และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

 

[caption id="attachment_279980" align="aligncenter" width="503"] พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)[/caption]

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบกรอบแนวคิดนโยบายและแผนระดับชาติซึ่งได้มีการหารือในรายละเอียดเพื่อวางแผนป้องกันการโจมตีไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเว็บไซต์ มัลแวร์ ไวรัส รวมถึงการโจรกรรมข้อมูล โดยได้เห็นชอบให้มีการรักษาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ 6 ชุดแรก ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินการธนาคารและตลาดหลักทรัพย์ และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน อีกทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้รับทราบ 5 แนวทางปฏิบัติในการป้องกันภัยจากโลกไซเบอร์คือ 1.มีขีดความสามารถระบุปัญหาจากไซเบอร์ได้เมื่อถูกโจมตี 2.ป้องกันตัว ล้อมรั้วไม่ให้เกิดเหตุ 3.ตรวจสอบและเฝ้าระวัง 4.ดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ และ 5.ฟื้นฟูหากเกิดความเสียหาย

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบแผนพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยไซเบอร์จำนวน 1,000 คน ทั้งผู้เชี่ยวชาญระดับสูงในระดับผู้บริหารระบบ ระดับผู้ใช้ และระดับช่างเทคนิค โดยให้กระทรวงดีอีประสานหน่วยงานภาครัฐ กระทรวงศึกษาธิการและภาคเอกชนร่วมมือกันพัฒนาบุคลากร โดยใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจำนวน 350 ล้านบาท และงบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั่วอาเซียนจำนวน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะ 5 ปี


app18266844_s

นอกจากนี้ ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ชั่วคราวก่อนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะมีมติแต่งตั้งคณะขึ้นอย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทยเพื่อประสานงานกลาง และให้การสนับสนุนด้านเทคนิค ความมั่นคง และเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบป้องกันภัยไซเบอร์ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยติด 1 ใน 20 ประเทศที่มีความพร้อมด้านความปลอดภัยไซเบอร์โลก


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
พาณิชย์เปิดเกมรุก'ปลุก'SMEและStartupโมดิฟายธุรกิจด้วยดิจิทัล
คอยน์ แอสเซทผนึกพันธมิตรหวังเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราดิจิทัลไทย


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว