ทางออกนอกตำรา : ขาดทุนสะสมยับ! 9 แสนล้าน ทำไมบอร์ด-ผู้บริหารธปท. รับปีละ 62 ล้าน

09 พ.ค. 2561 | 14:18 น.
65965695 Seal_of_the_Bank_of_Thailand ตกตะลึงพรึงเพริดไปตามๆกัน เมื่อมีข้อมูลโผล่ออกมาจากการรายงานฐานะการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า  ณ วันที่ 19 เมษายน 2561 ประสบปัญหาการขาดทุนสะสมในฝ่ายการธนาคารสูงลิ่ว 879,419,715,480 บาท อ่านว่า (แปดแสน..เจ็ดหมื่น..เก้าพัน..สี่ร้อย..สิบเก้าล้าน เจ็ดแสน..หนึ่งหมื่น..สี่ร้อย..แปดสิบบาท)

ผลการขาดทุนสะสมก้อนนี้มากมายมหาศาล กว่าโครงการรับจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาท ที่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำเนินการช่วยชาวนา แต่เงินกลับไปตกอยู่ในมือโรงสี โกดัง พ่อค้าคนกลาง นักการเมือง ยันพวกพ้องเครือข่ายตระกูลชินวัตร ที่กรมบัญชีกลางตีราคาพบว่า ขาดทุนทางราคา และทางบัญชีสิริรวม 6.82 แสนล้านบาท จากต้นทุนการรับจำนำข้าว 1.1 ล้านล้านบาท
ยิ่งลักษณ์หาเสียง เรื่องนี้ ต้องบอกว่า “ช็อก” กันไปทั้งคุ้งน้ำเจ้าพระยา ยันบางขุนพรหม เพราะไม่คาดคิดว่าธนาคารชาติจะ “อาการหนัก” ในการบริหารเพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพค่าเงินถึงขนาดนี้

เมื่อไปย้อนดูข้อมูลฐานทางการเงินของธนาคารชาติก็พบว่า 3 วันดี 4 วันไข้มาตลอดในระยะที่ผ่านมา ในช่วงสิ้นปี 2557 ขาดทุนเบ็ดเสร็จ 273,992 ล้านบาท ทำให้มียอดขาดทุนสะสม 572,901 ล้านบาท มีส่วนทุนติดลบ 700,494 ล้านบาท
EyWwB5WU57MYnKOuh3j1NnAOphH02ZndWSDBvmiKCKHkbugehTTuIP พอถึงงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2558 พบว่า ขาดทุนสุทธิกว่า 89,137 ล้านบาท ในจำนวนนี้มาจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสุทธิราว 38,138 ล้านบาท จากปี 2557 ที่ได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิราว 9,443 ล้านบาท ทำให้มียอดขาดทุนสะสม 635,251 ล้านบาท และมีส่วนทุนติดลบอยู่ 606,230 ล้านบาท

ครั้งล่วงเข้าปี 2559  ขาดทุนเบ็ดเสร็จ 139,533 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนสะสมเพิ่มเป็น 7.25 แสนล้านบาท มีสินทรัพย์ 4.21ล้านล้านบาท มีหนี้สิน 4.96 ล้านล้านบาท

ในช่วงเดือนพ.ค.2560 ผมจำได้ว่า คุณจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ธปท.ชี้แจงว่า ผลขาดทุน 1.39 แสนล้านบาท เป็นผลจากการตีราคาเงินสำรองระหว่างประเทศ 5.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุนทางบัญชี และผลจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับจ่าย เพราะในปี 2559 ดอกเบี้ยเงินสกุลสำคัญของโลกตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินบาท จึงทำให้เกิดขาดทุนจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย

[caption id="attachment_279962" align="aligncenter" width="503"] จันทวรรณ สุจริตกุล จันทวรรณ สุจริตกุล[/caption]

คุณจันทวรรณ ชี้แจงว่า “การขาดทุนตอนนั้นเกิดจากการตีราคา เงินสำรองระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน ปอนด์ ซึ่งทุกสิ้นปีจะมีการเทียบมูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ในรูปของเงินบาท เพื่อให้ทราบว่าหากจำเป็นต้องขายเงินสำรองทั้งหมดเพื่อแปลงให้อยู่ในรูปเงินบาทแล้ว สถานะการเงินจะเป็นอย่างไรตามมาตรฐานบัญชี  ซึ่งในปี 2559 เงินปอนด์และเงินยูโร อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับเงินบาท จึงขาดทุนจากการตีราคา 5.8 หมื่นล้านบาท ถือเป็นการขาดทุนทางบัญชี

แต่พอถึงตอนนี้ปี 2560 ปรากฏว่า ฐานะการเงินในฝ่ายการธนาคารของ ธปท.ขาดทุน 71,816 ล้านบาท ทำให้ทั้งยอดขาดทุนสะสมพุ่งขึ้นมาเป็น 879,419 ล้านบาท

เมื่อไปดูไส้ในไล่เลียงไปตั้งแต่ 4 ม.ค.2561 วันที่ 1 ก.พ.2561 วันที่ 1 มีนาคม 2561 พบว่า ยอดขาดทุนสะสมเท่ากันทุกงวดคือ 807,603 ล้านบาท แต่พอถึงวันที่ 19 เม.ย.2561 ยอดการขาดทุนสะสมที่พุ่งพรวดขึ้นมาเป็น 879,419 ล้านบาท
ขนเงิน98ล้านบาทฝากธนาคาร4 ผมสืบเสาะไปดูงบการเงิน ธปท.ในบัญชีฝ่ายการธนาคารระบุสาระสำคัญไว้ชัดว่า ฝั่งทรัพย์สิน เงินสดเพิ่มจาก 115,945.9 ล้านบาท มาเป็น 182,601.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66,656 ล้านบาท เงินตราต่างประเทศเพิ่มจาก 646,567.58 ล้านบาท เพิ่มเป็น 761,942.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 116,575 ล้านบาท หลักทรัพย์ต่างประเทศลดจาก 3,466,560.62 ล้านบาทลดเหลือ 3,382,522 .67 ล้านบาท หายไป 64,038 ล้านบาท

ฝั่งหนี้สิน รายการที่มีนัยสำคัญคือ เงินรับฝากจากรัฐบาลที่มีอยู่ 196,814 ล้านบาทเศษ เพิ่มเป็น 203,540 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมา  6,726 ล้านบาท เงินรับฝากจากสถาบันการเงินลดฮวบจาก 156,860 ล้านบาท เหลือ 98,337 ล้านบาท หายไป 58,527 ล้านบาท น่าจะตัวเบา

แต่กลับมีหนี้สินอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ 5,455,213.9 ล้านบาท มาเป็น 5,659,678.3 ล้านบาท หนี้สินก้อนนี้เพิ่มมาพรวดเดียว 204,465 ล้านบาท นี่จึงเป็นตัวการที่ทำให้ขาดทุน

คุณจันทวรรณ ออกมาบอกว่าอย่าตกใจธปท. เข้าไปซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินควร จนอาจจะเป็นผลเสียต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังเปราะบาง
328.rwr7lx.fwljio.5 เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น จึงเกิดการขาดทุนจากการตีราคา (valuation loss) หรือ การขาดทุนทางบัญชี และในทางตรงข้าม ถ้าเงินบาทอ่อนค่าลง เงินสำรองฯ ที่ตีมูลค่าเป็นเงินบาทก็จะเพิ่มขึ้น (valuation gain) หรือมีกำไรทางบัญชี และตามปกติเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเงินมีแนวโน้มแข็งขึ้น ธนาคารกลางก็มักจะขาดทุนจากการตีราคา แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ค่าเงินอ่อนค่าลง ส่งผลให้ธนาคารกลางมักจะมีกำไรจากการตีราคา

คุณจันทวรรณ บอกว่า ในสิ้นปี 2560 ธปท. มีเงินสำรองระหว่างประเทศรวมฐานะการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าประมาณ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นหนึ่งบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ ธปท. จะขาดทุนจากการตีราคาทันที 2.4 แสนล้านบาท ในทางตรงกันข้าม ถ้าเงินบาทอ่อนค่าลงหนึ่งบาท ธปท. ก็จะมีกำไรจากการตีราคาทันที 2.4 แสนล้านบาท โดยไม่ต้องทำอะไรเลย

[caption id="attachment_279977" align="aligncenter" width="503"] อำพน กิตติอำพน อำพน กิตติอำพน[/caption]

ฟังแล้วดูดี ไม่มีปัญหา No Problem แต่คุณจันทวรรณลืมไปว่า ธปท.นั้นมีการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนแบบ “Manange Float” ลอยตัวค่าเงินแบบมีการจัดการ แม้ ธปท.จะเป็นเจ้ามือ แต่ต้องมีการบริหารจัดการในเรื่องค่าเงินให้ดี ไม่ให้แข็งค่า อ่อนค่ามากไป

เขาจึงมอบเครื่องมือในการบริหารจัดการ เครื่องมือแทรกแซงตลาดเพื่อ “รักษาเสถียรภาพ” ไว้หลายด้าน ที่เรียกกันว่า "ดูดดอลลาร์ ปล่อยบาท" สร้างกลไกดูดซับสภาพคล่องเงินส่วนเกิน เพื่อให้มีความสมดุล เรียกว่า "currency sterilization” ผ่านการดำเนินการในตลาดการเงิน “Open Market Operations” ด้วยเครื่องมือการทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี “bilateral RP” การสว็อปเงินตราต่างประเทศ “Sell-Buy FX swaps” ผ่านการซื้อสปอร์ต-สว็อป-ฟอร์เวิร์ด เพื่อปรับสภาพคล่องในตลาดการเงิน สภาพคล่องเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจ

ดังนั้น ถ้าคนบริหารจัดการทำให้ในทางบัญชีขาดทุนยับแบบนี้ติดต่อกันมา 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 ปี คุณคิดว่า “คนที่บริหารจัดการ ทำงานดี หรือทำงานไม่ดี จึงทำให้ในทางบัญชีมีปัญหา”

[caption id="attachment_279964" align="aligncenter" width="503"] วิรไท สันติประภพ วิรไท สันติประภพ[/caption]

ผมว่าเรื่องนี้คุณจันทวรรณ ไม่ต้องตอบก็ได้ แต่คนที่ต้องตอบในเรื่องนี้ให้ชัดกับสังคมคือ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มี “อำพน กิตติอำพน” เป็นประธาน “วิรไท สันติประภพ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ทำไมบัญชีตัวแดง ขาดทุนสะสมเพิ่มทุกปี แต่กลับจ่ายเงินให้ผู้บริหารตั้งแต่ รองผู้ว่าการ 3 คน -ผู้ว่าการ ธปท. 1 คน คณะกรรมการ ธปท. ติดต่อกันมา 3 ปี ปีละ 62-63 ล้านบาท

เขาเหล่านี้ทำงานดีในการรักษาเสถียรภาพค่าเงิน เสถียรภาพอัตราดอกเบี้ย ชนิดดีเลิศ ประเสริฐศรี ใช่มั้ยครับนายท่าน...โปรดตอบ....



......................................
คอลัมน์ | ทางออกนอกตำรา โดย...บากบั่น บุญเลิศ | หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3364 ระหว่างวันที่ 10-12 พ.ค.2561|
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว ่านข่าวที่เกี่ยวข่อง ......


[caption id="attachment_280572" align="aligncenter" width="503"] ทางออกนอกตำรา : ธปท.ต้องรับผิด อย่าหลอกประชาชน ทางออกนอกตำรา : ธปท.ต้องรับผิด อย่าหลอกประชาชน[/caption]