คมนาคมโชว์ศักยภาพ "ระบบรางและถนน" ... ปลุกเชื่อมั่น! ผู้รับเหมา-วัสดุก่อสร้าง

06 เม.ย. 2561 | 05:56 น.
060461-1234

นับตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งแทน นายพิชิต อัคราทิตย์ เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2560 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ก็ได้เร่งขับเคลื่อนโครงการเมกะโปรเจ็กต์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่องทันที

ล่าสุด ในการสัมมนาเรื่อง “สัญญาณเตือนเมกะโปรเจ็กต์ไทยและอุตสาหกรรมก่อสร้าง” ที่จัดโดย สภาการเหมืองแร่ นายไพรินทร์ก็ได้ย้ำถึงแผนการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม ให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้เห็นถึงความคืบหน้าไว้อย่างชัดเจน ทั้งโครงการที่เกิดขึ้นแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตลอดจนโครงการที่จะเร่งขับเคลื่อนในระยะต่อไป


12-3354

ทั้งนี้ ในการดำเนินการกระทรวงคมนาคม มียุทธศาสตร์หลายประการเกี่ยวกับเนื้อหาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และจัดให้เป็นแผนการพัฒนาระยะ 5 ปี แผนระยะกลางและแผนระยะยาว โดยเฉพาะแผนใหญ่ อย่าง แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี โดยแยกย่อยออกมาเป็นแผนระยะ 5 ปี และแผนต่อเนื่องกันไปอีกด้วย

สำหรับปี 2560 ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้มีแผนการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาทแล้ว ยังมีแผนการลงทุนในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดอีกประมาณ 1 แสนล้านบาท ดังนั้น งบประมาณการลงทุนรวมทั้งหมดแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งพบว่า มีประสิทธิภาพด้านการใช้งบของกระทรวงคมนาคมประมาณ 80-90% ที่มีการเบิกจ่ายจริง


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

สำหรับปีนี้มีหลายโครงการที่กำลังอนุมัติและได้รับอนุมัติให้ไปเร่งดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น โครงการถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน ฯลฯ คิดเป็นวงเงินการลงทุนหลายแสนล้านบาท ไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา


เร่งไฮสปีดเทรนเชื่อมอีอีซี
ในโหมดระบบราง อยากให้แยกส่วนออกเป็น 3 เรื่อง คือ


train-4

1.ระบบรถไฟพื้นฐานขนาดมิเตอร์เกจ ราง 1 เมตร ซึ่งมีแนวเส้นทางอยู่ประมาณ 4,000 กิโลเมตร ที่จะเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง สปป.ลาว และมาเลเซีย ได้อีกด้วย โดยใช้ระบบรถไฟทางคู่
2.ระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งแนวคิดการบริหารจัดการจะเป็นมาตรฐานสูงยิ่งขึ้น
3.ระบบรถไฟในเมืองและรถไฟชานเมือง ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับผิดชอบเป็นหลัก

โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงหากมองแนวเส้นทางในแผนที่ จะเห็นเป็นรูปตัวเอ็กซ์ (X) ใจกลางอยู่กรุงเทพมหานคร แนวเส้นทางขึ้นทางภาคเหนือ (ภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น), ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน) อยู่ระหว่างก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, ภาคใต้ เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และภาคตะวันออก เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง


HONDACIVIC_300x250

ในส่วนโครงการรถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน ฝ่ายไทยใช้งบประมาณเองทั้งหมด แต่เบื้องต้น การออกแบบรายละเอียดได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายจีน ส่วนฝ่ายไทยเป็นผู้ตรวจสอบในขั้นตอนสุดท้ายอีกครั้ง ซึ่งในโครงการนี้ใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศไทยเกือบทั้งหมด อีกทั้ง ในช่วงจากนครราชสีมา-หนองคาย จะให้วิศวกรไทยออกแบบรายละเอียดและฝ่ายไทยเป็นผู้ก่อสร้างเองทั้งหมด โดยจะซื้อระบบรถและอาณัติสัญญาณจากจีน

สำหรับรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่งอนุมัติให้ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา เริ่มจากสนามบินดอนเมืองเชื่อมไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง ระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ภายในเดือน เม.ย. นี้ กลางปีนี้จะทราบผู้ชนะการประมูล ก่อนที่ในปลายปี 2561 จะได้ลงนามสัญญาและเริ่มต้นก่อสร้างในปี 2562 ซึ่งเป็นเส้นทางเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของรัฐบาล


12-3354-40

เช่นเดียวกับ รถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ฝ่ายญี่ปุ่นให้การสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ โดยภายใน 1-2 เดือนนี้ กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอรัฐบาลพิจารณา และในส่วนเส้นทางสุดท้าย จะเป็นเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน เพื่อลงสู่ภาคใต้ ซึ่งกำหนดแนวเส้นทางในอนาคตเชื่อมไปยังมาเลเซีย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้น จะเริ่งเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณารูปแบบการร่วมลงทุนตามนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐต่อไป


เดินหน้ารถไฟทางคู่ ระยะที่ 2
ในส่วนต่อไป จะเป็นแผนพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ โดยระยะแรกเริ่มก่อสร้างไปได้แล้ว 2 เส้นทาง คือ เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และอีก 5 เส้นทาง อยู่ระหว่างการเข้าพื้นที่ก่อสร้างของบริษัทรับเหมาที่ได้ลงนามสัญญาไปแล้วทั้ง 9 สัญญา และช่วงกลางปีนี้ จะทยอยประมูลในส่วนที่เหลือต่อไป


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

นอกจากนั้น ยังมีโครงการในระยะที่ 2 อีก 9 เส้นทาง ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้นจะเร่งเสนอคณะกรรมการรถไฟและรัฐบาลเร่งผลักดันต่อเนื่องกันไป ซึ่งในการพัฒนาระยะที่ 2 จะมีเส้นทางสายใหม่เพิ่มมาอีก 2 เส้นทาง คือ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และเส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม โดยในอีกไม่นานนี้ จะสามารถเร่งประกวดราคาหาผู้รับจ้างกันต่อไป รวมมูลค่ามากกว่า 6 แสนล้านบาท


เร่งโครงข่ายรถไฟฟ้า-มอเตอร์เวย์
ส่วนในอนาคตต่อไปนั้น กระทรวงคมนาคมจะปรับเปลี่ยนระบบรถไฟพื้นฐานทั้งหมดที่ปัจจุบันใช้ระบบดีเซลรางไปเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด โดยจะนำร่องในเส้นทางสู่ชายแดนประเทศมาเลเซีย ก่อนที่จะขยายให้โครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศในอนาคตต่อไป ขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินการ


DQazDhGUEAElI8P

ทางด้าน ระบบรถไฟในเมืองยังมีโครงการรถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทางที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบ ซึ่งปัจจุบัน สายสีเขียวส่วนต่อขยายและสายสีนำ้เงินส่วนต่อขยาย สายสีเหลือง สีชมพู และสายสีส้ม อยู่ระหว่างการก่อสร้าง อีกทั้งในระยะต่อไปนั้น ยังมีส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน สายสีส้ม จะได้เร่งนำเสนอ ครม. อนุมัติให้ดำเนินการต่อไป

สำหรับการพัฒนาโครงข่ายถนน ปัจจุบัน กรมทางหลวงอยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง คือ เส้นทางพัทยา-มาบตาพุด, เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา และเส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรี และปัจจุบัน อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดเส้นทางนครปฐม-หัวหิน เพื่อเชื่อมลงสู่ภาคใต้ต่อไป


……………….
รายงานพิเศษ โดย ฐานเศรษฐกิจ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,354 วันที่ 5-7 เม.ย. 2561 หน้า 12

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"อาคม"ลุยญี่ปุ่นถกความช่วยเหลือระบบคมนาคม
"DOA for ALL" … ท่าอากาศยานมาตรฐานสากล ส่งเสริมโครงข่ายคมนาคมของประเทศ


e-book-1-503x62