ครม.ผ่านร่างแผนปฏิรูปประเทศ ตั้งเป้าคนไทยเข้าใจหลักปชต. "ยอมรับความเห็นต่าง"

13 มี.ค. 2561 | 14:16 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

- 13 มี.ค. 61 - พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม. ว่า สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน เสนอร่างแผนปฏิรูปประเทศเข้าสู่ที่ประชุมครม. ทั้งนี้ แผนปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้านได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย การบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการยุติธรรม ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข สื่อมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ สังคม พลังงาน และการป้องกันปราบปรามการทุจริต

"1. ด้านการเมือง วางเป้าหมายว่าต้องการให้ประชาชนมีความเข้าใจในหลักการประชาธิปไตย มีส่วนร่วมและยอมรับความเห็นที่แตกต่าง พรรคการเมืองต้องโปร่งใส ซื่อสัตย์ ตรวจสอบได้ และที่สำคัญเมื่อมีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะต้องหาทางออกได้โดยวิธีการพูดคุยหรือสันติวิธี แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

2. ด้านบริหารราชการแผ่นดิน มีหลักการสำคัญคือต้องการทำให้หน่วยงานราชการมีความกะทัดรัดแต่ทันสมัย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ข้าราชการจะต้องเป็นคนที่มีคุณภาพสูงทั้งในแง่การปฏิบัติติงานและคุณธรรมจริยธรรม ต้องสามารถตรวจสอบเรื่องการต่อต้านการทุจริตได้

3. ด้านกฎหมาย หลักการสำคัญคือต้องปรับแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ และ เป็นกฎหมายที่ไม่เพิ่มภาระให้ประชาชน เช่น กฎหมายแรงงานต่างด้าว แต่เดิมการจะเปลี่ยนนายจ้าง ย้ายสถานที่ทำงานจะต้องขออนุญาต แต่ในปัจจุบันได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเปลี่ยนเป็นการแจ้งให้ทราบ ถือเป็นการลดภาระให้ประชาชน อย่างไรก็ตามประชาชนหรือผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้อง มีความรู้ความเข้าใจ ใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง ไม่ทำผิดกฎหมาย

4. ด้านยุติธรรม ทุกขั้นตอนของกระบวนการทั้งหลายจะมีระยะเวลาที่ชัดเจน เป็นการช่วยเหลือประชาชนให้มีความเสมอภาคกัน เช่น กองทุนยุติธรรม กฎหมายทั้งหลายจะต้องเอื้ออำนวยให้ประเทศมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นได้ บาร์ไลน์ฐาน

5. ด้านเศรษฐกิจ จะต้องครอบคลุมทุกภาคส่วนและใช้นวัตกรรม ใช้เทคโนโลยีพัฒนาการผลิต ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนทุกกลุ่ม

6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ยึดหลักการสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์ หากทรัพยากรธรรมชาติหมดสภาพจะต้องเร่งฟื้นฟูให้สมบูรณ์และยั่งยืน

7. ด้านสาธารณสุข เน้นเรื่องการบริการปฐมภูมิคือการสร้างนำการซ่อม คือจะป้องกันก่อนเจ็บป่วยไม่สบาย เช่น โครงการคลินิกคุณหมอครอบครัว เป็นการให้คำปรึกษาตั้งแต่ต้นอย่ารอให้ป่วยแล้วค่อยมารักษา ทุกคนในประเทศไทยต้องเข้าถึงบริการได้เหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน

8. ด้านสื่อมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นสร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของสื่อมวลชนกับความรับผิดชอบของสื่อมวลชนในการทำหน้าที่ และสื่อจะต้องเป็นโรงเรียนให้สังคม เป็นโรงเรียนให้ประชาชน แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1

9. ด้าน สังคม คนไทยต้องมีหลักประกันทางรายได้หลังเกษียณ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ คนในระบบรัฐวิสาหกิจ หรือคนนอกระบบราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นก็จะมีหลายอย่างให้เลือกเช่นกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันทางรายได้ให้ประชาชนทุกภาคส่วน และพยายามสร้างศรัทธาให้ประชาชนมีจิตสาธารณะไม่แบ่งแยก และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้โดยง่าย และชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง

10. ด้านพลังงาน ส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มจัดทำแผน เช่น กรณีโรงงานไฟฟ้าหากเกิดความไม่มั่นใจในกระบวนการการทำอีไอเอ ก็ปรับเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบทางยุทธศาสตร์

11. ด้านป้องกันปราบปรามการทุจริต จะต้องมีมาตรฐานการควบคุมกำกับติดตามงานทั้งในภาครัฐและเอกชนโดยจะต้องเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้ประชาชนได้รับทราบ โดยนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำเรื่องบิ๊กดาต้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณการลงทุนของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปดูได้ เช่น หน่วยงานนั้นๆมีงบลงทุนในกี่โครงการ แต่ละโครงการมีกรอบวงเงินเท่าไหร่ ขณะนั้นการประกวดราคาอยู่ในขั้นไหน แต่ละบริษัทบิตได้ราคาเท่าไหร่ มีบริษัทใดเป็นคู่แข่งบ้าง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะอัพเดทในทุกๆเดือน โดยนายกรัฐมนตรีได้ย้ำและให้เวลา 3 เดือนให้ทุกหน่วยงานจะต้องบรรจุข้อมูลเข้าไปให้เรียบร้อย" โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเเละหัวหน้าคสช. ได้ระบุว่า เป้าหมายเรื่องการปฏิรูปด้านต่างๆ นั้น ใครๆ ก็พูดได้ แต่อยากฝากประชาชนและฝากสื่อมวลชนให้นำเสนอด้วยว่า เป้าหมายของแต่ละเรื่อง เมื่อทำแล้วประชาชนจะได้อะไร และที่สำคัญคือประเด็นการปฏิรูปทั้งหมดนี้หากนับเป็นประเด็นย่อยจะนับได้ 132 ประเด็น 478 กิจกรรม และมีตัวชี้วัด 791 ตัวชี้วัด ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ระบุว่าทุกกระทรวงต้องนำเป้าหมายทั้ง 11 ด้านของแผนปฏิรูปประเทศมากางแล้วให้ดูว่า แต่ละประเด็นแต่ละกิจกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับกระทรวงทบวงกรมใดบ้าง อย่างไร แล้วให้นำกิจกรรมย่อยของตัวเองใส่ลงไปเพื่อให้แต่ละกระทรวงได้ติดตามอย่างถูกต้อง เมื่อจะเล่าข้อมูลหรือรายงานให้ประชาชนได้รับทราบจะได้อธิบายได้ว่าทำเรื่องดังกล่าวนั้นเพราะสอดคล้องกับกิจกรรมของการปฏิรูปด้านใด และอยู่ในเป้าหมายการปฏิรูปเรื่องอะไร เพื่อที่คนรับฟังจะได้รู้เรื่องอย่างเป็นระบบ ที่ผ่านมาหลายคนมักจะพูดว่าไม่เห็นรัฐบาลทำอะไรเลย ไม่เห็นปฏิรูปอะไรเลย ไหนบอกว่าจะปฏิรูป ทั้งที่ในความเป็นจริงมีบางเรื่องที่รัฐบาลปฏิรูปไปแล้ว บางเรื่องอยู่ระหว่างทำ บางเรื่องกำลังจะทำตามแผนปฏิรูป

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า เมื่อผ่านความเห็นชอบของครม.แล้ว จะได้เสนอขอความเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อรับทราบแล้วจะได้นำประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้ไม่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามคณะกรรมการปฏิรูปทั้งหมดมี 13 ด้าน ซึ่งด้านตำรวจกับด้านการศึกษายังไม่เสร็จ จึงเอา 11 ด้านนี้ก่อน คณะกรรมการปฏิรูปทั้ง 11 ด้านจะมีระยะเวลาอยู่ต่ออีก 5 ปี ซึ่งในระหว่างนั้นหากพบว่าหน่วยงานทำเรื่องใดไม่ได้หรือติดขัดประเด็นใด ต้องรายงานให้คณะกรรมการปฏิรูปได้รับทราบเพื่อตรวจสอบ และหากเห็นว่าติดขัดจริงก็ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อปรับแก้ไขแผนการปฏิรูปได้ เมื่อประกาศใช้แล้ว แต่ละกระทรวงทบวงกรมเมื่อรับทราบแล้วจะต้องไปออกกฏหมายของตัวเองเพื่อมารองรับการปฎิบัติ ให้สามารถปฏิบัติได้จริง คณะกรรมการปฏิรูปทั้ง 11 ด้านก็จะมีหน้าที่ติดตามตรวจสอบส่วนราชการที่ดำเนินการ หากหน่วยงานใดไม่ทำจะต้องถูกรายงานให้รัฐบาลทราบ แต่ถ้ารัฐบาลยังนิ่งเฉยก็จะรายงานให้กรรมการยุทธศาสตร์ สภา และป.ป.ช. ได้รับทราบ ว่าหน่วยงานของรัฐไม่ยอมปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปประเทศ ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว