มุมมองสร้างธุรกิจยั่งยืน เจ้าสัวธนินท์

13 ม.ค. 2561 | 13:45 น.
จากงาน “10 ปีหมู่บ้าน เกษตรสันติราษฎร์” และ “พิธีมอบกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินให้แก่ข้าราชการตำรวจ โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์” ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี พลิกแผ่นดินแห้งแล้ง 230 ไร่ ต.นาวังหิน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ให้เป็นพื้นที่ทำกิน สร้างบ้าน พร้อม 4 ธุรกิจเกษตร “การปลูกผัก การเพาะเลี้ยงกบ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการเลี้ยงสุกร” ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ 31 ครอบครัวตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรเกาะจันทร์ จ.ชลบุรี คือ หนึ่งในความภาคภูมิใจ ของ “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่สามารถนำวิชาชีพทางการเกษตรของซีพี ส่งมอบต่อให้กับนายตำรวจผู้น้อย ให้มีอาชีพทำกินสร้างรายได้แบบยั่งยืนให้ครอบครัว

[caption id="attachment_248769" align="aligncenter" width="503"] “ธนินท์ เจียรวนนท์” มอบกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินให้แก่ข้าราชการตำรวจ 31 ครอบครัว โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ “ธนินท์ เจียรวนนท์” มอบกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินให้แก่ข้าราชการตำรวจ 31 ครอบครัว โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์[/caption]

“เจ้าสัวธนินท์” ได้พูดถึงโครงการนี้ว่า โครงการเกษตรสันติราษฎร์ เกิดจากการที่เล็งเห็นปัญหาของตำรวจผู้น้อย ที่เงินเดือนไม่พอเลี้ยงครอบครัว พอเกษียณก็ยังเดือดร้อนในบั้นปลายชีวิต เจ้าสัวจึงคิดว่าต้องทำโครงการที่เป็นตัวอย่างให้ผู้ใหญ่ในแวดวงตำรวจได้รับรู้ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว โครงการนี้จึงเกิดขึ้น ด้วยการซื้อที่ดินที่ ต.นาวังหิน ไร่ละ 7 หมื่นบาท กว่า 200 ไร่ จัดสรรให้กับนายตำรวจ เครือซีพีได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถานีตำรวจภูธรเกาะจันทร์ จ.ชลบุรี และธนาคารทหารไทย เมื่อปี 2549 คัดเลือกข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย 31 ครอบครัว เข้าร่วมโครงการ

โครงการนี้ทำให้ตำรวจได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ด้วยพื้นที่บ้าน 1 ไร่ครึ่ง และยังมีธุรกิจเกษตรเป็นรากฐานในการเสริมรายได้ เพิ่มจากเงินเดือนประจำให้ข้าราชการตำรวจ โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์สามารถปลดหนี้จำนวน 56.3 ล้านบาทที่กู้มาเริ่มต้นได้สำเร็จ ซีพีจึงจัดมอบกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินให้ ส่วน 4 ธุรกิจเกษตร คือ การปลูกผัก การเพาะเลี้ยงกบ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการเลี้ยงสุกร อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทเกษตรสันติราษฎร์ ที่จัดสรรให้กับ 31 ครอบครัวเท่าๆ กัน โดยแบ่งรายได้ต่อเดือนต่อครอบครัว จากการเลี้ยงสุกร 4,700 บาท การปลูกใบกระเพรา 18,000 บาท และการเลี้ยงกบ 4,000 บาท

MP28-3330-2A “เกษตรกร ขาด 3 อย่าง คือ ทุน เทคโนโลยี ความรู้ และตลาด เครือซีพีมีสิ่งเหล่านี้ ก็นำเข้าไปช่วย เมื่อทำสำเร็จแล้ว ก็ให้คนมาเรียนรู้ ก็ทำตามความสามารถเขา ซีพีเก่งเรื่องเกษตรก็ทำเกษตร...ผมบอกกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ท่านไปหามาอีก 10 โรงพักที่เหมาะสม ผมจะไปทำให้ ทำให้เกิดความยั่งยืน ที่เรียกว่ายั่งยืน คือ ต้องกู้เงินและจ่ายดอกเบี้ยได้ คืนเงินต้นได้ และยังมีกำไร โมเดลนี้ ไปทำกับที่อื่นก็ได้ แต่ต้องมีเจ้าภาพ”

แน่นอนว่าโครงการนี้ เครือซีพีเองได้ประโยชน์ ได้ผลตอบแทนทางธุรกิจ แต่เกษตรกรก็ต้องมีรายได้ มีความรู้เลี้ยงชีพเช่นกัน

MP28-3330-3A “เจ้าสัวธนินท์” ยังมีแนวคิดในการต่อยอดความรู้และเทคโนโลยีที่เครือซีพีมี โดยเฉพาะทางการเกษตร ซึ่งซีพีมองเห็นโอกาสจากตลาดโลก และเห็นศักยภาพของประเทศและคนไทยที่มีความสามารถ...สิ่งที่เจ้าสัวพูดถึง และกำลังศึกษา คือ การปลูกพืชที่มีน้อย แต่สร้างกำไรเยอะ อาทิ มะพร้าว ทุเรียน ยาง ด้วยการหาพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม นำการตลาด

เข้าไปเติมเต็ม พร้อมเสริมความแกร่งด้วยองค์ความรู้ อีกหนึ่งโครงการที่เจ้าสัวซีพีทดลองทำแล้วคือ การมอบองค์ความรู้เรื่องการกรีดยาง การรักษาคุณภาพยาง และการทำแพ็กเกจจิ้งที่ดีให้กับเกษตรกร 2 ครอบครัว ที่ภูเรือ จังหวัดเลย...30 ตารางกิโลเมตร ผมจะสร้างโรงงานยางแท่ง 1 โรงงาน แล้วจะมีผู้เชี่ยวชาญไปสอนกรีดยาง รักษาคุณภาพยางอย่างไร มีผลิตเป็นกระป๋องพลาสติก มีฝาด้วย เป็นที่ของเกษตรกร 2 ครอบครัว เขาสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องขนส่งไกล ไม่ผ่านคนกลาง และมีความรู้ในการปลูกยาง

MP28-3330-4A อีกเรื่องที่ “เจ้าสัวธนินท์” กำลังศึกษา คือ การศึกษาความหนาแน่นของคนในเมือง อาทิ นครราชสีมา และเชียงใหม่ ดูว่าเมืองใหญ่ขนาดไหน มีประชากรขนาดไหน ร้านค้าจึงจะอยู่ได้ มีคน เข้ามาใช้บริการ เพราะหากจะทำธุรกิจ ทำมาค้าขาย คนน้อยไปก็อยู่ ไม่ได้ สาเหตุที่ต้องศึกษา เพราะขณะนี้เมืองกำลังขยายออกไป จากระบบขนส่งและสาธารณูปโภคใหม่ๆ ที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิด

โมเดลในการผลักดันเกษตรกรรมของเจ้าสัวซีพีอีกอย่างคือ การให้เครือซีพีเข้าไปเช่าพื้นที่ทำเกษตรกรรม โดยเกษตรกรยังคงเป็นเจ้าของที่ดิน มีการการันตีรายได้ ซึ่งโมเดลลักษณะนี้ ซีพีทำแล้วที่ประเทศจีนและสำเร็จแล้ว หากโมเดลแบบนี้เกิดขึ้นในเมืองไทย เกษตรกรจะเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น เกษตรกรสามารถมีรายได้ ทั้งจากการให้เช่าพื้นที่ และหากตัวเองขยันก็สามารถทำอย่างอื่น สร้างเป็นรายได้เพิ่มเติมได้อีก

MP28-3330-5A แนวคิด และโมเดลต่างๆ ในการเกื้อหนุนสังคมและชุมชน เป็น สิ่งที่เจ้าสัวบอกว่า พูดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำให้เห็น...ผมเชื่อมั่นว่า สินค้าเกษตรของไทยดี อะไรที่เมืองไทยปลูกได้ จะหอม และอร่อย กว่าที่อื่น ซึ่งนั่นคือ ที่ต้องการของตลาด ที่จะสร้างรายได้ และสร้างความยั่งยืนให้กับคนไทยต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,330 วันที่ 11 - 13 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9