จบดราม่า! “ไลน์ โมบาย” ... “ดีแทค” แจงชัดเป็นบริการบน “ดีทีเอ็น” ถือเป็นแบรนด์ที่ 2

03 ต.ค. 2560 | 07:37 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

“ดีแทค” เปิดโต๊ะแถลงข่าวกระแส “ไลน์ โมบาย” ยืนยัน เป็นการขอซื้อลิขสิทธิ์ในไทย แจงให้บริการบนเครือข่าย “ดีทีเอ็น” ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ 2 ไม่ใช่ MVNO วงในชี้! หาแบรนด์มาต่อยอดเพื่อเพิ่มจุดแข็ง หลังส่วนแบ่งการตลาดตกมาอยู่อันดับที่ 3

นายแอนดริว กาวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มดิจิทัล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้เปิดแถลงข่าวกรณี “ไลน์ โมบาย” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า “ไลน์ โมบาย” ที่ให้บริการบนโครงข่าย บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด หรือ DTN เป็นการซื้อลิขสิทธิ์ในการใช้ชื่อ “ไลน์ โมบาย” จากบริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งบริษัทต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ทางการค้า ส่วนรายละเอียดค่าลิขสิทธิ์ไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากเป็นความลับทางธุรกิจ

[caption id="attachment_213998" align="aligncenter" width="503"] แอนดริว กาวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มดิจิทัล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค แอนดริว กาวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มดิจิทัล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค[/caption]

 

อย่างไรก็ตาม “ไลน์ โมบาย” ที่เปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้ ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ 2 ของ “ดีแทค” และไม่ได้เป็นผู้ให้บริการในลักษณะ MVNO (Mobile Virtual Network Operater หรือ แบบไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง) เนื่องจากให้บริการบนโครงข่าย “ดีทีเอ็น”

เหตุผลที่ “ดีแทค” เปิดให้บริการ “ไลน์ โมบาย” เป็นผลจากความร่วมมือระหว่าง “ดีแทค ไตรเน็ต” และ “ไลน์ ประเทศไทย” โดยบริการนี้ให้บริการและดำเนินงานโดย DTN อยู่บนกฎระเบียบและข้อบังคับโทรคมนาคม “ไลน์ โมบาย” จะมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่าในราคาที่ถูกกว่า ด้วยศักยภาพการให้บริการทั้งวอยซ์และดาต้า บนโครงข่ายของ “ดีแทค ไตรเน็ต” และการที่ไม่ต้องมีหน้าร้านค้าเพ่ือเป็นจุดจำหน่าย จึงทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กล่าวมา นอกจากนี้ การทำงานร่วมกับ “ไลน์ ประเทศไทย” ยังทำให้ “ไลน์ โมบาย” มีจุดแข็งในการมอบประสบการณ์บริการดิจิตอลที่เหนือชั้นกว่าอีกด้วย

MP20-3301-1A

“ผู้ใช้มือถือชาวไทยมีการใช้งานโซเชียลมีเดียติดอันดับโลก โดยมีผู้ใช้งาน LINE จำนวน 41 ล้านรายในไทย สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก สำหรับ Facebook มีคนใช้งานต่อวันถึง 32 ล้านราย (daily active users) และกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ใช้งานมากเป็นอันดับ 1 ของโลก สำหรับ YouTube มีคนใช้งานถึง 28 ล้านราย และสูงติดท็อปเทนของโลกในจำนวนการใช้งาน”

สำหรับ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด หรือ DTN ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) บนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่านความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์

ขณะที่ แหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุผลที่ “ดีแทค” ต้องไปซื้อเครื่องหมายลิขสิทธิ์ทางการค้าจาก “ไลน์ โมบาย” เนื่องจากจำนวนฐานลูกค้าของ “ดีแทค” ปรับตัวลดลง จากมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2 ตกมาอยู่อันดับ 3 ดังนั้น การซื้อลิขสิทธิ์แบรนด์ “ไลน์ โมบาย” เพื่อต้องการส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น เพราะจำนวนผู้ใช้โปรแกรมสนทนา “ไลน์” ในประเทศไทย มีผู้ใช้มากที่สุดอยู่ในขณะนี้

ทั้งนี้ จำนวนผู้ใช้ “ไลน์” ในประเทศไทย เมื่อปี 2558 มีจำนวนผู้ใช้งาน 33 ล้านคน เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศญี่ปุ่น และในปี 2559 มีผู้ใช้เพิ่มเป็น 50 ล้านคน และจำนวนผู้ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่าน “ไลน์” มีสัดส่วนอยู่ที่ 83%

ก่อนหน้านี้ บริษัท ไลน์ คัมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ได้ส่งหนังสือชี้แจงไปยัง กสทช. เมื่อกลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่า บริษัทไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ “ไลน์ โมบาย” เป็นการให้บริการของ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด โดยซื้อลิขสิทธิ์ในการใช้ชื่อ “ไลน์ โมบาย” จากบริษัท ทั้งนี้ “ไลน์ โมบาย” ที่ให้บริการโดย DTN นั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริการกับ “ไลน์ โมบาย” ที่ประเทศญี่ปุ่น กล่าวคือ มีความเหมือนกันเพียงแค่ชื่อ “ไลน์ โมบาย” เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ “ไลน์” ได้แจ้งกับผู้ใช้บริการ “ไลน์ สโตร์” ว่า เนื่องด้วยนโยบายใหม่สำหรับช่องทางการชำระเงินใน “ไลน์ สโตร์” ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเติมเครดิต หรือ ซื้อสินค้าใน “ไลน์ สโตร” ด้วยบัตรเงินสด True Money และการหักผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระบบเติมเงิน True Move H ได้ ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. 2560 เวลา 23.59 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ ทาง LINE STORE ยังมีช่องทางการชำระเงินอีกหลากหลายช่องทางที่สะดวกสบายไว้รองรับผู้ใช้งาน ดังนี้

1.เครือข่ายโทรศัพท์ เอไอเอส และดีแทค ทั้งระบบเติมเงินและรายเดือน
2.บัตรเติมเงิน LINE (LINE Prepaid Card)
3.บัตรเงินสด AIS
4.Rabbit LINE Pan (E-wallet)
5.เครดิตการ์ด (LINE Pay)

สำหรับ “บัตรเติมเงินไลน์” ซื้อได้ตามช่องทางต่อไปนี้ 7-11 ทุกสาขา (แจ้งพนักงานที่เคาน์เตอร์), ตู้เติมเงินบุญเติม (ราคาเริ่มต้นที่ 30 บาท), Tesco Lotus / Tesco Lotus Express, บิ๊กซี, แฟมิลี่มาร์ท และแม็กซ์แวลู

ส่วนความเคลื่อนไหวทางธุรกิจของ 2 ค่ายมือถือ คือ เอไอเอส และ ทรูมูฟ เอช หลังจากส่งหนังสือให้ กสทช. ทำหน้าที่ตรวจสอบว่า “ไลน์ โมบาย” เป็นผู้ให้บริการ MVNO หรือไม่ ซึ่งทาง กสทช. ได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วนั้น หากแต่เคลื่อนไหวทางการตลาดของทั้ง เอไอเอส และ ทรูมูฟ เอช ในขณะนี้ คือ หากลูกค้าระบบเติมเงินย้ายเข้ามาระบบรายเดือน จะได้รับสิทธิพิเศษเล่นเน็ตไม่อั้น ไม่ลดสปีด หรือ เลือกรับส่วนลดรายเดือน 50% หรือ ส่วนลดสมาร์ทโฟน

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,301 วันที่ 1-4 ต.ค. 2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว