กกต.มีมติส่งปมจริยธรรม“ธีรวัฒน์” ให้ ป.ป.ช.สอบต่อ

18 มิ.ย. 2560 | 10:20 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กกต.มีมติส่งปมจริยธรรม “ธีรวัฒน์” ให้ป.ป.ช.สอบต่อ หลังรธน. 60 ประกาศใช้ ระบุชัดเป็นอำนาจป.ป.ช.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กกต.มีมติให้ส่งเรื่องการตรวจสอบจริยธรรมของนายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจพรรคการเมืองจากกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยว่านายธีรวัฒน์มีพฤติกรรมเข้าข่ายกระทำผิดจริยธรรมร้ายแรงไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ปปช.) ดำเนินการแทน เนื่องจากเห็นว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบันมาตรา 234 ( 1)บัญญัติให้การตรวจสอบการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงเป็นอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช. ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินดังรัฐธรรมนูญ 50

[caption id="attachment_164821" align="aligncenter" width="500"] นายธีรวัฒน์  ธีรโรจน์วิทย์ นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์[/caption]

ทั้งนี้ก่อนการมีมติดังกล่าว นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต.ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่ที่ประชุมกกต.เมื่อวันที่ 28 มี.ค. มีมติเห็นชอบ โดยมีนายกรพจน์ อัศวินวิจิตร กรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นประธาน  แต่ต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่เมื่อวันที่ 6 เม.ย. และคณะกรรมการที่มีการตั้งขึ้นยังไม่ได้มีการประชุม  ทางสำนักกฎหมายของสำนักงานกกต. จึงเสนอประเด็นข้อกฎหมายดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งก็มีความเห็นว่าการตรวจสอบจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญใหม่เป็นอำนาจของป.ป.ช. กกต.จึงสามารถที่ส่งเรื่องดังกล่าวไปให้ป.ป.ช.ดำเนินการได้

อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 59 ผู้ตรวจการแผ่นดินโดยนายศรีราชา วงศารยางค์กูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินในขณะนั้น ได้มีหนังสือแจ้งมติที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินที่เห็นธีรวัฒน์ มีพฤติกรรมเข้าข่ายผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อเนื่องจนดำรงตำแหน่งกกต.จริงตามที่ประธานสภาพัฒนาการเมืองได้ยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบมายังประธานกกต.ในฐานะผู้บังคับบัญชาของนายธีรวัฒน์ เพื่อให้ดำเนินการตามระเบียบกกต.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของกกต. กกต.จังหวัด  และพนักงานกกต.พ.ศ. 2551 แต่ติดขัดในเรื่องการหาบุคคลมาทำหน้าที่กรรมการสอบสวนที่ต้องมีคุณสมบัติสูงกว่าหรือเทียบเท่ากับผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งต้องได้รับอนุญาตจากองค์กรต้นสังกัด จึงทำให้การแต่งตั้งล่าช้าและเมื่อได้ตัวบุคคลมาทำหน้าที่ก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ที่บัญญัติให้อำนาจในการไต่สวนเรื่องมาตรฐานจริยธรรมเป็นของป.ป.ช.โดยตรง กกต.จึงมติส่งเรื่องดังกล่าวไปให้ป.ป.ช.ดำเนินการ