ไทย-ภูฏาน เฟสติวัล ตอกย้ำสานสัมพันธ์ 2 ประเทศ

18 มิ.ย. 2560 | 10:00 น.
[caption id="attachment_164179" align="aligncenter" width="503"] MP26-3271-2 “สมเด็จพระราชินี เจต ซุน เพมา วังชุก ในสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฎาน เสด็จพระราชดำเนิน เปิดงานเทศกาลสานสัมพันธไทย-ภูฏานครั้งที่ 1 ณ กรุงทิมพู จัดขึ้นระหว‹างวันที่ 9-11 มิถุนายน และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยมี พล.อ.ธนะศักดิ์ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีถวายการต้อนรับ”[/caption]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับราชอาณาจักรภูฏาน มีความใกล้ชิดกันมานาน ทั้งระดับราชวงศ์ รัฐบาล และประชาชน พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ททช.) ย้ำว่าไทยกับภูฏานเป็นมิตรแท้ที่ให้การสนับสนุนไทยในทุกเวทีนานาชาติ และยังใช้ไทยเป็นโมเดล และขณะนี้มีนักศึกษาภูฏานกำลังเรียนอยู่ในประเทศไทย 1,200 คนและยังมีความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะอีกด้วย

MP26-3271-6 ++เซ็นเอ็มโอยู 2 ฉบับ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนไทยกับภูฏานมีการลงนามเอ็มโอยู 2 ฉบับคือความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมจากครั้งแรกระหว่าง นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับ Mrs .Chimmy pem Director of Tourism Council of Bhutan ผู้อำนวยการสภาการท่องเที่ยวภูฏาน และความร่วมมือด้านการกีฬา ซึ่งมีสาเหตุจากคนภูฏานชอบเล่นกีฬามาก มีสนามฟุตบอลถึง 2 สนาม เปิดตั้งแต่ 8 โมงถึงตี 2 ทุกวันสนามจะถูกจองเต็มมาก มีสนามกอล์ฟ จะมีการจัดแข่งขันจักรยาน ซึ่งการลงนามดังกล่าวจะเกิดการความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมุ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวตลาดคุณภาพของทั้ง 2 ประเทศ

อย่างไรก็ดีสำหรับความสัมพันธ์ในภาพใหญ่ทุกกระทรวงของไทยมีความร่วมมือกันภูฏานอยู่แล้ว รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงเกษตรฯ ด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า กระทรวงสาธารณสุข มีการจัดชุดทีมแพทย์อาสาเคลื่อนที่มา 20 ปี และยังจะมีการหารือในเรื่องการส่งข้าราชการระดับสูงไปรักษาพยาบาลในเมืองไทย รวมถึงจะมีความร่วมมือทางด้านแรงงานอีกด้วย เขาเก่งเรื่องภาษาอาจจะให้เป็นครูสอนภาษา ซึ่งน่าจะมีการแลกเปลี่ยนกันในเร็ว ๆ นี้ โดยความร่วมมือต่าง ๆ มีการประสานผ่านไทก้า หรือ Thailand Internation Cooperation Agency (TICA)

MP26-3271-4 นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือด้านการเกษตรตามโครงการพระราชดำริฯและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชการที่ 9 ที่สอดคล้องกับ Gross National Happiness ของภูฏาน โครงการนี้ตั้งอยู่เมืองพูนาคา เมืองหลวงเก่า ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นได้ราว 3 ปี มีเจ้าหน้าที่ 7 คนและลูกจ้าง 50 คน มีพื้นที่ 155 เอเคอร์ ติดริมแม่น้ำ จะมีการสาธิตแปลงเกษตร ปลูก พืช ผัก ผลไม้ เมืองหนาว และในอนาคตเหมือนดอยตุง อีกทั้งภูฏานยังมีผลิตภัณฑ์ OGOP ขายสินค้าคล้ายกับโอท้อปของไทย

++ อินเดียเที่ยวภูฏานมากสุด
ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวถือเป็นรายได้หลักของภูฏานนอกเหนือจากการขายพลังงานให้อินเดีย ข้อมูลจากสภาการท่องเที่ยวภูฏาน หรือ Tourism Council Bhutan ระบุว่าปี 2559 มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปภูฏาน 176,654 คน มีรายได้จากการท่องเที่ยว 73.74 ล้านยูเอสดอลล่าร์ (ราว 2,555 ล้านบาท) แยกสัดส่วนนักท่องเที่ยว 65 % มาจากอินเดียเนื่องจากไม่ต้องขอวีซ่าใช้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น 22 % มาจากยุโรปและอื่น ๆ 5 % จากจีน 4 % จากบังคลาเทศและอเมริกา ส่วนคนไทยมีจำนวนเพียง 4,000 คนเท่านั้น และวัตถุประสงค์ 84 % เพื่อการพักผ่อน

MP26-3271-7 ส่วนนักท่องเที่ยวภูฏานมาไทยปีที่แล้วมีจำนวน 22,000 คน เพิ่มขึ้น 4 % มีรายได้ 940 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 % จากจำนวนประชากรทั้งประเทศมีเพียง 792,877 คน ทั้งยังพบว่านักท่องเที่ยวภูฏานนิยมไปท่องเที่ยวอินเดีย เนปาล สิงคโปร์ และไทย ส่วนพฤติกรรมนักท่องเที่ยวภูฏานในไทย เดินทางมาเพื่อการพักผ่อน การศึกษา ตรวจสุขภาพ ช้อปปิ้ง เที่ยวทะเล ซึ่งจะเดินทางกันแบบครอบครัว

++ ก่อสร้าง-ท่องเที่ยวน่าลงทุน
โดยแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมคือกรุงเทพ พัทยา ภูเก็ต กระบี่แล้วยังมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ อย่างหัวหิน ตราด เกาะช้าง ที่กำลังเป็นที่นิยมตามมา ส่วนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้น มีโรงพยาบาลชั้นนำ ในไทยอย่าง รพ.กรุงเทพ เปิดสำนักงานตัวแทนอยู่ในภูฏาน รพ.บำรุงราษฏร์ และสมิติเวช มีตัวแทนประสานงานให้บริการกลุ่มไฮเอ็นด์ที่จะเดินทางมารักษาสุขภาพในเมืองไทย ซี่งเป็นการส่งเสริมตลาดเมคดิคัลทัวร์ริสซึ่ม

MP26-3271-5 ด้านการลงทุนข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่าศักยภาพในการลงทุนในภูฏานที่นักธุรกิจสามารถเข้าไปลงทุนมี 2 สาขาคือ 1. การก่อสร้าง โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานต่างๆ อาทิ ถนน สาธารณูปโภค และ 2. ด้านการท่องเที่ยวปัจจุบัน มีนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุน โรงแรม 2 แห่ง คือ โรงแรม Haven รีสอร์ท พาโร เจ้าของเดียวกับ โรงแรม Haven หัวหิน และบริษัท ดี 2 ภายใต้เครือดุสิตธานีจะเข้าบริหารโรงแรมที่กรุงทิมพู ซี่งมีนักธุรกิจภูฏานเป็นเจ้าของ คาดจะเปิดบริการในปีนี้

MP26-3271-1 ทั้งนี้จากการที่ประเทศไทยมีการจัดอีเว้นท์ระดับโลกเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปลายปีนี้ถึงปีหน้า ก็จะเอื้อต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง(ฮับ) ดึงทั่วโลกมาไทยแล้วไปเที่ยวต่อยังประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงภูฏาน ภายใต้ แนวใต้แนวคิด Two Kingdoms One Desitination เป็นสิ่งที่ วิน วิน ด้วยกัน !!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,271 วันที่ 18 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560