net-zero

เตรียมรับมือภัยแล้ง! 10 จังหวัดต้องรู้ ทำอย่างไรเมื่อน้ำขาดแคลนอีก 10 ปี

    เตรียมรับมือภัยแล้ง! 10 จังหวัดต้องรู้ ทำอย่างไรเมื่อน้ำขาดแคลน หลัง กรมลดโลกร้อนคาดการณ์เกิดภัยแล้งในช่วง 10 ปีข้างหน้า

 จากรณีที่ ครม. มีมติเห็นเมื่อวานนี้ (13 สิงหาคม 2567) ได้มีมติเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวม 10,483 ล้านบาทนั้น ขณะที่ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  หรือ กรมลดโลกร้อน  ได้โพสต์ข้อความว่า คาดการณ์แนวโน้มการเกิดภัยแล้งในช่วง 10 ปีข้างหน้า ในอดีตที่ผ่านมาปัญหาภัยแล้งในประเทศไทยส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน เช่น การจัดการน้ำ เกษตร ท่องเที่ยว การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนและโอกาสของการเกิดภัยแล้งในอนาคต

กรมลดโลกร้อน ได้จัดทำข้อมูลการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดภัยแล้งในช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปัจจุบัน - พ.ศ 2578) โดยวิเคราะห์จากแบบจำลองภูมิอากาศ 2 กรณี ได้แก่ กรณีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับปานกลาง และกรณีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง  ….พบว่า 10 จังหวัดที่คาดว่าจะเกิดภัยแล้งรุนแรงในช่วง 10 ปีข้างหน้า ทั้ง 2 กรณี ส่วนใหญ่อยูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

10 จังหวัดที่คาดว่าจะเกิดภัยแล้งรุนแรงในช่วง 10 ปีข้างหน้า กรณีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับปานกลาง

  •  อำนาจเจริญ
  •  มหาสารคาม
  •  ยโสธร
  •  สมุทรปราการ
  •  อุดรธานี
  •  ขอนแก่น
  •  หนองบัวลำภู
  •  ร้อยเอ็ด
  •  สุโขทัย
  •  ลพบุรี

 

กรมลดโลกร้อน  เผย10 จังหวัดที่คาดว่าจะเกิดภัยแล้งรุนแรงในช่วง 10 ปีข้างหน้า

10 จังหวัดที่คาดว่าจะเกิดภัยแล้งรุนแรงในช่วง 10 ปีข้างหน้า กรณีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง

  •  หนองคาย
  • สกลนคร
  •  อุดรธานี
  •  บึงกาฬ
  • มหาสารคาม
  •  นครพนม
  • ร้อยเอ็ด
  •  ภูเก็ต
  •  ลพบุรี
  •  หนองบัวลำภู

กรมลดโลกร้อน  เผย10 จังหวัดที่คาดว่าจะเกิดภัยแล้งรุนแรงในช่วง 10 ปีข้างหน้า

 

การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ให้รอดจากภัยแล้ง 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดภัยแล้งในช่วง 10 ปีข้างหน้า ไปใช้ประกอบการวางแผนการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เพื่อดำเนินมาตรการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในส่วนที่เกี่ยวข้อง

มาตรการรับมือภัยแล้ง (ระยะสั้น)

  •  เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ
  • ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
  • กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
  • บริหารจัดการน้ำ ให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำและลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน
  • เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ
  • สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์
  • ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

มาตรการรับมือภัยแล้ง (ระยะยาว)

  • อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศต้นน้ำ โดยใช้แนวคิดการแก้ไขปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solution : NbS)
  • พัฒนาแหล่งโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำขนาดเล็ก แหล่งน้ำบาดาลนอกเขตชลประทาน เป็นต้น
  • พัฒนาระบบการผันน้ำและระบบเชื่อมโยงแหล่งน้ำ รวมถึงโครงข่ายกระจายน้ำ
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการน้ำ
  • พัฒนาระบบการพยากรณ์และกลไกการรายงานสถานการณ์น้ำ.

ที่มา: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม