WOW#2 เข้มข้น "พศิน" แนะ เร่งค้นหา "อริยทรัพย์" อย่ามัวรับใช้เศรษฐกิจ-สังคม

23 มี.ค. 2566 | 12:40 น.

WOW#2 เครือเนชั่น เติมองค์ความรู้ด้านจิตใจผู้บริหาร "พศิน อินทรวงค์" นักเขียนคอลัมนิสต์ด้านพัฒนาจิต ยกคำสอนพระพุทธเจ้า แนะคนเราต้องเร่งค้นหา "อริยทรัพย์" ทรัพย์ที่มีความสำคัญที่สุด คือ ละโลภ โกรธ หลง มนุษย์เกิดมาเพื่อละกิเลส อย่ามัวหมกเมากับ "เศรษฐกิจและสังคม"

ในคลาสการเรียนการสอนหลักสูตร Wealth of Wisdom : WOW#2 ขุมทรัพย์แห่งปัญญา รอบรู้ทุกมิติการลงทุน สู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และกรุงเทพธุรกิจ ล่าสุด ได้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “อริยทรัพย์ ในโลกทุนนิยม” โดยนายพศิน อินทรวงค์ นักเขียนคอลัมนิสต์ และวิทยากรบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาจิต 

WOW#2 เข้มข้น "พศิน" แนะ เร่งค้นหา "อริยทรัพย์" อย่ามัวรับใช้เศรษฐกิจ-สังคม

นายพศิน กล่าวว่า ในโลกใบนี้ ทรัพย์ที่สำคัญที่คนเราไค่อยม่พูดถึงนั่นคือ "อริยทรัพย์" แต่คนเราจะพูดไปถึงแต่ทรัพย์ภายนอก ซึ่งในทางพุทธศาสนา พระพุทธองค์ท่านไม่ได้ปฏิเสธเรื่องปัจจัย 4 ท่านบอกว่า อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค บ้านช่อง ต่างๆ มันทำให้คนมีความสุข แต่ท่านก็บอกด้วยว่า ชีวิตมนุษย์ไม่ควรหมกเมาและแสวงหาแต่ปัจจัย 4 เท่านั้น มนุษย์ควรจะค้นหา "อริยทรัพย์" 

อริยทรัพย์คืออะไร อริยทรัพย์ คือ การฝึกจิตให้พ้นไปจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ฝึกจิตให้มีความเมตตากรุณา และสูงสุดไปกว่านั้น ท่านบอกว่า ฝึกจิตให้เป็นอิสระจากวัตถุ จากบุคคล และจากสถานการณ์​ 

WOW#2 เข้มข้น "พศิน" แนะ เร่งค้นหา "อริยทรัพย์" อย่ามัวรับใช้เศรษฐกิจ-สังคม

มีคนเคยถามว่า ในโลกใบนี้ มีอะไรที่เราถือครองแล้วไม่มีความทุกข์เลย พระพุทธองค์ท่านบอกว่า จะมีได้ก็ต่อเมื่อ สิ่งๆ นั้นมีคุณสมบัติสองประการ ประการที่หนึ่งคือไม่มีการเกิดปรากฎ ประการที่สองคือไม่มีการดับปรากฎ ไม่มีการเกิดดับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าคุณไปครอบครองสิ่งนั้น ไม่มีวันที่คุณจะมีความทุกข์ แต่เมื่อใดที่คุณได้ครอบครอง สิ่งที่มีการเกิดและมีการดับ สิ่งนั้นจะให้ทั้งสุขและทุกข์กับคุณเป็นปกติ เช่น คนนี้คุณรักมาก สมบัติชิ้นนี้ก็จะให้ทั้งความสุขและความทุกข์กับคุณพอๆ กัน 

ในโลกปัจจุบัน มีปริมาณคนเป็นโลกซึมเศร้ามากมาย จากจำประชากรโลกกว่า 8,000 ล้านคน มีคนที่เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ถึง 10-15% โดย 10% คือคนในประเทศที่มีฐานะมีความเจริญ และ 15% ในประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ คนยังมีอัตราการฆ่าตัวตายถึง 7.3 แสนคน ในปี 2562 และคาดว่าในปัจจุบันจะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะคนมีความทุกข์ ซึ่งความสุขและทุกข์ของคนเกิดจาก จิตใจ สุขภาพกาย การงาน และเศรษฐกิจ ถึงแม้คนเราจะมีฐานะ มีเงินจำนวนมาก แต่คนก็มักจะมองว่า ตัวเองยังมีเงินไม่เพียงพอ เมื่อเอาตัวเองไปเทียบกับคนอื่น ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่ดีกว่า 

 

ในแง่มุมของการเปรียบเทียบ เมื่อตัวเองมีความสุข แล้วเอาตัวไปเปรียบเทียบกับคนที่ดีกว่า ก็จะเกิดแรงบันดาลใจ แต่ในอีกโมเมนท์ เมื่อตัวเองไม่มีความสุข ก็จะทำให้เกิดโทสะ เกิดความอิจฉา แต่ถ้าเกิดเป็นโมหะ ก็อาจทำร้ายตัวเอง ซึ่งคนที่มีความสุข ก็คือกลุ่มคนที่ปริมาณน้อย อยู่บนยอดฐานปิรามิด ที่เหลือด้านล่างลงมา คือคนที่ดิ้นรนไปตามเศรษฐกิจ ซึ่งในอนาคตช่องว่างตรงนี้จะเยอะมากขึ้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากกว่าเดิม 

WOW#2 เข้มข้น "พศิน" แนะ เร่งค้นหา "อริยทรัพย์" อย่ามัวรับใช้เศรษฐกิจ-สังคม

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ หากมองไปที่เสาหลัก 3 เสา คือ หนึ่ง มนุษยชาติ สอง เศรษฐกิจและสังคม และสาม คือ ธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติคือเสารที่ใหญ่ที่สุด เสาที่เล็กลงมาคือมนุษยชาติ ก็ต้องรับใช้ธรรมชาติ และเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นเสาที่เล็กที่สุด ต้องรับใช้มนุษย์ 

 

แต่ในโลกความเป็นจริง มนุษยชาติ กับยกให้เศรษฐกิจและสังคมเป็นเสาที่ใหญ่ที่สุด นอกจากคนไปรับใช้เศรษฐกิจและสังคมแล้ว ก็ยังไปทำลายธรรมชาติที่ไม่มีปากมีเสียงไปด้วย สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ เป็นเพราะเมื่อกว่า 300 ปีที่แล้ว ที่เกิดยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นยุคที่ทำให้มนุษย์เราเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กลับหัวกลับหาง เอาเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นอันดับหนึ่ง แล้วเปลี่ยนตัวเองเพื่อรับใช้เศรษฐกิจและสังคม และพ่วงด้วยธรรมชาติที่ถูกนำมารับใช้เศรษฐกิจและสังคมไปด้วย ทำให้เกิดความเสียหาย และกว่าจะยุติยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ 100% ก็คือปี พ.ศ.2573 

 

นายพศิน ทิ้งท้ายว่า มนุษย์เราเกิดมาเพื่อสะสมบารมีธรรม บางครั้ง บอกว่า มนุษย์เกิดมาเพื่อละกิเลส เพื่อให้รู้แจ้งเห็นธรรม แต่สิ่งพวกนี้มันหายไป เพราะเสาหลักของเรากลายเป็น เศรษฐกิจและสังคม แล้วเราก็รับใช้เศรษฐกิจและสังคม แล้วธรรมชาติก็ต้องรับใช้เศรษฐกิจและสังคมด้วย 

 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องเร่งทำตอนนี้คือ การค้นหา "อริยทรัพย์" ให้เจอ เพื่อละ โลภ โกรธ หลง ให้ได้ และเมื่อนั่นใจจะเป็นสุข โดยต้องใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท