ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (วันที่ 24 ก.ย.67) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียน และทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน ที่จะถึงนี้ ทั้งหมด 8 ราย ซึ่งหนึ่งในจำนวน 8 ราย “ฐานเศรษฐกิจ” หยิบยก 3 ผู้บริหารสำคัญถึงนโยบายเร่งด่วนของ “นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีแผนปฏิบัติการที่สำคัญอย่างไรบ้างในช่วงนับจากนี้ ในการยกระดับการทำงานเกษตรแบบทันสมัย โดยใช้แนวคิดใช้แนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”
นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึง การขับเคลื่อนนโยบาย ส.ป.ก. ว่า ยังคงเดินหน้าตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งต้องทำงานให้สมกับที่ผู้บังคับบัญชาได้มอบความไว้วางใจให้ทำงาน โดยต้องร่วมมือกันกับหลายฝ่ายเพื่อให้กฎหมายที่จะแก้ไข เป็นประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องเกษตรกร อย่างไรก็ดีต้องขอเวลาเข้ามาศึกษา
ประวัติการทำงาน
ด้าน นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวถึง บทบาทกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ว่า เป็นผู้ช่วยนายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งจะช่วยในการดูแลในเรื่องบัญชี ความเสี่ยง ถือมีความท้ายเพราะระบบบัญชีสหกรณ์มีความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านเงินการบัญชี และการปฏิบัติด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์
ประวัติการทำงาน
ปิดท้ายด้วย นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดิน เป็นเรื่องการปรับปรุงดิน จะต้องมีนโยบายการขับเคลื่อนตามที่ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการฯ คนใหม่ได้ให้นโยบาย ที่สำคัญ นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งเป็นผู้บริหารโดยตรงที่กำกับหน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน มีบทบาทหน้าที่ดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกรมชลประทาน แต่มีขนาดเล็กกว่า
การดำเนินนโยบายที่สำคัญ เช่นเรื่องบ่อจิ๋ว เนื่องจากเกษตรกรให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ทางกรมมีงบประมาณจำกัด และไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรที่มีจำนวนมาก และที่สำคัญเรื่องน้ำ ในช่วงฤดูแล้ง ก็แล้งจริง ก็ต้องทำสถานที่กักเก็บน้ำในพื้นที่การเกษตร เดินตามแนวพระราชดำริ เขื่อนใหญ่เติมเขื่อนเล็ก และเขื่อนเล็ก เติมสระน้ำ-บ่อ เพื่อให้เกษตรกรได้มีน้ำใช้ไว้สำหรับการเกษตรเพื่อยังชีพ เป็นต้น
ประวัติการทำงาน