พืชปรับแต่งจีโนม อนาคตใหม่การผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย

23 ธ.ค. 2566 | 02:57 น.

“ธรรมนัส”มอบกรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง เร่งศึกษาเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรมพืช ที่มีความปลอดภัยสูง หรือ Gene Editing ( GEd ) ซึ่งไม่ใช่เทคโนโลยี จีเอ็มโอ อนาคตใหม่การผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย

สืบเนื่องจาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้พิจารณาเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการปรับแต่งพันธุกรรม (Gene Editing, GE) เมื่อเดือน พค 2566  โดย FAO มีความเห็นว่า Gene Editing มีความปลอดภัยสูงและมีความแตกต่างจาก GMOs ซึ่งไม่มีการปนเปื้อนของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น 

 

พืชปรับแต่งจีโนม อนาคตใหม่การผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย

 

อีกทั้ง ปัจจุบัน FAO และประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกได้ให้การยอมรับถึงความปลอดภัยพืชที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยี Gene Editing นี้แล้ว ทั้งในเชิงการค้าและการบริโภค เช่นเดียวกันกับพืชปกติทั่วไป อาทิ ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ แคนนาดา อเมริกา ประเทศกลุ่มอเมริกาใต้ เคนยา และไนจีเรีย เป็นต้น

 

พืชปรับแต่งจีโนม อนาคตใหม่การผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย

 

ทางกรมวิชาการเกษตร จึงได้ประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง “การขับเคลื่อนงานวิจัยภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในภาวะโลกเดือด” ณ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2566  โดย สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร ได้เชิญ ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ร่วมเสวนาและให้ความคิดเห็น อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและเอกชน

พืชปรับแต่งจีโนม อนาคตใหม่การผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยว่า  การสร้างการรับรู้ และความเข้าใจ การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วย เทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม Gene Editing เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง  จึงขอยกตัวอย่างเบื้องต้นว่า เทคนิคการปรับแต่งพันธุกรรม (Gene Editing) เปรียบสเหมือน การดัดฟัน การทำเลสิก สายตา หรือ การทำศัลยกรรมเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความสวยงามเป็นการแก้ไขข้อบกพร่อง ด้วยเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยต่อมนุษย์สูง และไม่มีการใช้ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาตัดต่อพันธุกรรม   ทางกรมสนองตามนโยบายรัฐบาล และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” และ “การยกระดับรายได้เกษตรกร เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี ” นั้น

พืชปรับแต่งจีโนม อนาคตใหม่การผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ด้านการเกษตร  โดยเฉพาะ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร สมัยใหม่ (Modern Biotechnology Agriculture ) ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม ที่มีความปลอดภัยสูง หรือ Gene Editing ( GEd ) ซึ่งไม่ใช่การตัดต่อข้ามสายพันธุกรรม เหมือน GMOs โดยพบว่า การปรับแต่งพันธุกรรมพืชด้วยการปรับแต่ง Gene ในตัวเองโดยไม่ต้องตัดต่อข้ามสายพันธุ์ สามารถทำ ให้พืชมีความแข็งแรง เช่น การปรับแต่งยีนทนโรคทนไวรัสในมันสำปะหลัง การปรับแต่งยีนเพิ่ม GABA สูง ในมะเขือเทศ ปรับแต่งยีน ถั่วเหลืองให้มีกรดโอเลอิกสูง ผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้านทานต่อโรคและแมลง ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และมีโภชนาการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ

พืชปรับแต่งจีโนม อนาคตใหม่การผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย

ดังนั้น ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาการระบาดของโรคแมลงและศัตรูพืชอย่างรุนแรงนี้ จึงมีความจำเป็นและถึงเวลาแล้วที่ควรจะต้องเร่งศึกษาการนำเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง โดยเฉพาะเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม ที่มีความปลอดภัยสูง หรือ Gene Editing ( GEd ) มาใช้ให้ทันเวลาและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์ที่โลกประสบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว และรุนแรงมากขึ้น หรือที่เราเรียกว่า “ภาวะโลกเดือด (Global Boiling)”

พืชปรับแต่งจีโนม อนาคตใหม่การผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย

การศึกษาการนำเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะสามารถช่วยยกระดับภาคการเกษตรได้ตั้งแต่ ต้นน้ำ (การปรับปรุงพันธุ์พืช) จนกระทั่งถึงปลายน้ำ (การผลิตอาหาร) อีกทั้งยังสอดคล้องกับ นโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดล บีซีจี (BCG Economy Model) ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านและก้าวข้ามสู่ระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพที่มีบทบาทสำคัญในอนาคต ผ่านการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม ที่มีความปลอดภัยสูง หรือ Gene Editing ( GEd ) เป็นต้น