“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

29 เม.ย. 2566 | 00:42 น.

"วันพืชมงคล"ปี2566 ถือเป็นพระราชพิธีที่เป็นสิริมงคลบำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก จัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณี ถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา

วันพืชมงคลหรือ“พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทยและวันที่เกษตรกรทั่วประเทสให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นวันเกษตรกรด้วย โดยปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการเตรียมการจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 ว่า ในปีนี้ได้กำหนดวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งประกอบด้วยพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีทางสงฆ์ โดยจะประกอบพระราชพิธี ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ในวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 และถือเป็นวันเกษตรกรด้วย สำหรับในวันถัดมาของการประกอบพระราชพิธีคือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์จะประกอบพระราชพิธีในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง 

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ถือเป็นพระราชพิธีซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริมบำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก โดยกำหนดจัดขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี หรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณี ให้จัดขึ้นในเวลานั้นอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

โดยปีนี้ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนาคือ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวดวงพร งามประดิษฐ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ กรมวิชาการเกษตร และนางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวปนัดดา เปี่ยมมอญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวภัทรปภา มินรินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย คู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย และพระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

ในปีนี้กรมการข้าวทำหน้าที่ในการจัดเตรียมพันธุ์ข้าวพระราชทานและพันธุ์พืช ซึ่งนำมาใช้ในงานพระราชพิธีฯโดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำพันธุ์ข้าวทรงปลูกในฤดูนาปี 2565 โครงการนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดามาใช้ในงานพระราชพิธีฯ ประจำปี 2566

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

ประกอบด้วย ข้าวนาสวน จำนวน 6 พันธุ์ (ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 539 กิโลกรัม, ปทุมธานี 1 จำนวน 325 กิโลกรัม, กข 6 จำนวน 73 กิโลกรัม, กข 87 จำนวน 400 กิโลกรัม, กข 85 จำนวน 521 กิโลกรัม และ กข 43 จำนวน 386 กิโลกรัม) เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่นำเข้าในพระราชพิธีมีน้ำหนักรวมทั้งสิ้น 2,244 กิโลกรัม และจัดเป็น “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” บรรจุในซองพลาสติกแจกจ่ายให้บรรดาพสกนิกร ประชาชนผู้สนใจ และชาวนาทั่วประเทศรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพการเกษตรตามประเพณีนิยม เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์สืบไป

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

“วันพืชมงคล”ทำไมมีความสำคัญกับเกษตรกร

 

ประชาชนสามารถรับชมและรับฟังการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 ในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป ผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสื่อโซเชียลมีเดีย รวมทั้งสามารถลงทะเบียนออนไลน์เพื่อขอรับเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน ได้ทาง http://rice.moac.go.th หรือสแกนคิวอาร์โค้ดด้านล่าง โดยเริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 3 พฤษภาคม 2566 และเริ่มรับเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม – 16 มิถุนายน 2566 ตามรายละเอียดที่ท่านได้ลงทะเบียนโดยส่วนกลางรับได้ที่กรมการข้าว ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน โทร. 0-2561-3794 และส่วนภูมิภาครับได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด กรมส่งเสริมการเกษตร