กรมวิชาการเกษตรผนึก คพ. รวมพลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ภาคเกษตร

29 มี.ค. 2566 | 04:12 น.

กรมวิชาการเกษตร จับมือ กรมควบคุมมลพิษ ฝ่าวิกฤติ แก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ภาคเกษตร ดันมาตรฐาน GAP รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมดึงรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรมวิชาการเกษตรผนึก คพ. รวมพลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ภาคเกษตร

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรประชุมร่วมกับ นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ.) เพื่อหารือมาตรการแผนปฏิบัติการวาระแห่งชาติ ทุกหน่วยงานเข้มข้นแก้ฝุ่น PM 2.5 ตามแผนการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ตามบัญชาของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และแนวทางการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรกรรม

กรมวิชาการเกษตรผนึก คพ. รวมพลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ภาคเกษตร

ด้าน นายปิ่นสักก์  กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษ ติดตามเฝ้าระวังฝุ่นละออง PM 2.5 และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จำนวนจุดความร้อนหรือ Hot Spot จากภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA และร่องรอยการเผาแปลงหรือ Burn Scar ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ว่ามีจุดความร้อนเกิดขึ้น แต่ไม่สามารถระบุเป็นรายแปลงได้ ทำให้ไม่สามารถชี้ได้ว่า แปลงดังกล่าวเป็นแปลงของเกษตรกรรายใด จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปดำเนินการจัดการในพื้นที่

กรมวิชาการเกษตรผนึก คพ. รวมพลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ภาคเกษตร

นายระพีภัทร์ กล่าวว่า ในฐานะประธานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Climate Resilience Network: ASEAN-CRN)เห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้หารือกับอธิบดีกรมควบคุมมลพิษในการลดการเกิด PM 2.5 ในภาคการเกษตรและเสริมสร้างการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน โดยเสนอใช้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ที่กรมฯ ประสบความสำเร็จในมาตรการ GAP Plus, GMP Plus ที่ใช้ควบคุมดูแลผลไม้ส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ปลอดศัตรูพืช และปลอดเชื้อ COVID-19

รวมทั้งมาตรการ GAP Monkey free Plus สกัดข้อกล่าวหาใช้แรงงานลิงเก็บมะพร้าวป้องอุตสาหกรรมส่งออกมะพร้าวไทยไปต่างประเทศ มาตรการ GAP เป็นการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชตามเงื่อนไข 8 ด้าน และมีหัวใจสำคัญคือ ต้องมีการดำเนินกิจกรรมในแปลงที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ หรือกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการหารือครั้งนี้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เห็นด้วยกับแนวทางกรมวิชาการเกษตรที่จะแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยใช้หลักการของมาตรฐาน GAP ที่เข้มข้น

กรมวิชาการเกษตรผนึก คพ. รวมพลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ภาคเกษตร

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มีความเห็นร่วมกันว่าการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ด้วยมาตรการ GAP ซึ่งเป็นมาตรฐานภาคสมัครใจ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ดังนั้นภาคเอกชนที่รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ควรจะรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหา PM 2.5 จึงเสนอแนะให้การประชุมครั้งต่อไปจะมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาหารือ

กรมวิชาการเกษตรผนึก คพ. รวมพลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ภาคเกษตร

ในส่วนของ GAP Carbon Credit Plus กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ทำ MOU ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation andVerification Body: WB) และพัฒนางานวิจัยด้านคาร์บอนเครดิต รวมถึงการพัฒนาโครงการ Carbon credit baseline ภาคการเกษตรระดับประเทศในพืชเศรษฐกิจสำคัญ 6 ชนิดได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา ทุเรียน และมะม่วง ในพื้นที่นำร่องทั่วประเทศ การดำเนินงานและความพยายามนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกรมวิชาการเกษตร ในการพัฒนาทางด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน และการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรกรรม

กรมวิชาการเกษตรผนึก คพ. รวมพลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ภาคเกษตร

สำหรับเงื่อนไขที่จะนำไปสู่ GAP Carbon Credit Plusพื้นที่ปลูกต้องไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความลาดชันและสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ส่วนราชการกำหนด หากเป็นพื้นที่ทำการเกษตร และมีการดำเนินการกิจกรรมด้านการเกษตรไม่น้อยกว่า 5 ปี ต้องมีการจัดทำประวัติการใช้ที่ดินย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี ต้องมีข้อมูลการใช้ปุ๋ย และ/หรือ สารปรับปรุงดินย้อนหลังในพื้นที่โครงการหรือข้อมูลอ้างอิงจากพื้นที่ใกล้เคียงไม่น้อยกว่า 3 ปี ต้องจัดทำบัญชีรายชื่อและจดบันทึกข้อมูลปัจจัยการผลิต แหล่งที่มา และปุ๋ย ธาตุอาหารเสริม โดยใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมต่อพืชตามอัตราแนะนำ หรือตามผลค่าวิเคราะห์ดิน

กรมวิชาการเกษตรผนึก คพ. รวมพลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ภาคเกษตร

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าด้วยว่า การประชุมร่วมกับ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษในวันนี้จะเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 กรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ แนวทางการปฏิบัติทางการเกษตร ที่สนับสนุนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร และไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ มาตรการ “GAP Carbon Credit Plus และ GAP PM 2.5 Plus” ในอนาคตต่อไป