ภูเก็ตจับมือวว.อัดฉีดวิจัย-นวัตกรรมปั้น"ถนนสายดอกไม้"

11 ส.ค. 2565 | 06:39 น.

จังหวัดภูเก็ต ลงนามบันทึกข้อตกลง กับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ  เพื่อการใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับ และพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปั้นถนนดอกไม้เพิ่มจุดขายการท่องเที่ยวของจังหวัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 10 ส.ค. 2565 ที่ห้องประชุมมุขหน้า ชั้น 5  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต  นายณรงค์  วุ่นซิ้ว  ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วย“การใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต”

 

โดยมีนายสายันต์  ตันพานิช  รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ (วว.)  นายเรวัต  อารีรอบ  นายก อบจ.ภูเก็ต  ผศ.ดร. หิรัญ  ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นายศึกษา  สุวรรณดิษฐกุล  นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ ร่วมลงนาม

ภูเก็ตจับมือวว.อัดฉีดวิจัย-นวัตกรรมปั้น"ถนนสายดอกไม้"

ภูเก็ตจับมือวว.อัดฉีดวิจัย-นวัตกรรมปั้น"ถนนสายดอกไม้"

นายณรงค์ กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดีเป็นอย่างมาก ต่อการใช้ประโยชน์งานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้พัฒนาพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะการท่องเที่ยว แหล่งธรรมชาติ ที่มีพรรณไม้พื้นถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด สืบเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 นอกจากปัญหาด้านสาธารณสุข สุขภาพของประชาชนแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ ที่ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน คือ ปัญหาระบบเศรษฐกิจของจังหวัด 

 

การหดตัวเรื่องการท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อจังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจร้านอาหาร รวมทั้งธุรกิจของฝากและของที่ระลึก ซึ่งได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน

ภูเก็ตจับมือวว.อัดฉีดวิจัย-นวัตกรรมปั้น"ถนนสายดอกไม้"  

ภูเก็ตจับมือวว.อัดฉีดวิจัย-นวัตกรรมปั้น"ถนนสายดอกไม้"

เมื่อสถานการณ์การระบาดโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง หลายประเทศเริ่มคลาย lockdown รวมทั้งประเทศไทย เริ่มให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกได้ รวมทั้งแต่ละประเทศก็กำลังแสวงหากลยุทธ์ใหม่ ๆ กระตุ้นการท่องเที่ยว เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาเยือน หรือมาท่องเที่ยวอีกครั้ง 

 

นายณรงค์  กล่าวต่อไปว่า  เพื่อให้การทำงานแบบบูรณการร่วมกันหลายฝ่าย สร้างความยั่งยืนครั้งนี้ จะเป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ คือ การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ประโยชน์ในการสร้างแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมิใช่เพียงแค่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 

ภูเก็ตจับมือวว.อัดฉีดวิจัย-นวัตกรรมปั้น"ถนนสายดอกไม้"

ทั้งนี้โครงการยังจะสร้างงาน สร้างอาชีพ และธุรกิจใหม่ ให้กับจังหวัด ด้วยการพัฒนา Model การท่องเที่ยว แหล่งที่ 3 ของจังหวัดภูเก็ต นอกเหนือจากทะเล เมืองเก่า ที่เป็นการนำศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี มาผสมผสานกับวิถีชีวิต การแต่งกาย และอาหารพื้นเมืองของเมืองภูเก็ตอวันนี้จะมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ คือ ถนนสายดอกไม้ของเมืองภูเก็ต 

 

การดำเนินงานด้านไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดภูเก็ตนั้น จะเกิดจากความร่วมมือ ประกอบด้วย 5 หน่วยงาน ได้แก่  1.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  2.องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ภูเก็ต 3. สมาคมโรงแรม 4. มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต และ 5.จังหวัดภูเก็ต ที่จะเป็นหน่วยงานร่วมรับผิดชอบด้วย     

ภูเก็ตจับมือวว.อัดฉีดวิจัย-นวัตกรรมปั้น"ถนนสายดอกไม้"

โดย วว. จะนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี ด้านการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ มามอบให้กับจังหวัด เพื่อนำความรู้เหล่านี้ถ่ายทอดให้กับเกษตรกร ผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ อีกทั้งใช้ทรัพยากรที่มีในพื้นที่สร้างประโยชน์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้กับจังหวัด พร้อมทั้งการออกแบบให้เข้ากับภูมิอากาศและภูมิทัศน์ จากปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตนำเข้าไม้ดอกไม้ประดับมาจากนอกพื้นที่ ซึ่งต่อไปนี้คนภูเก็ตเอง จะเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับได้โดยตรง  

 

นอกจากพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแล้ว วว. ก็ยังพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อสร้างผู้ประกอบการ สร้างอาชีพ ให้เกิดธุรกิจใหม่ด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต อีกทั้งได้รับการสนับสนุนและร่วมกันพัฒนาพื้นที่ จากทาง อบจ. จังหวัดภูเก็ต นำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาด้านการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ 

 

อีกหนึ่งหน่วยงานหัวใจสำคัญในการผลักดันงานให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้จะเข้ามาเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับ นอกจากนำไปใช้ตกแต่งสถานที่ ตามโรงแรมต่าง ๆ ในเครือข่ายสมาคมแล้ว ยังสามารถนำไปประดับใน menu อาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ในเครือข่ายของสมาคม

ภูเก็ตจับมือวว.อัดฉีดวิจัย-นวัตกรรมปั้น"ถนนสายดอกไม้"

ทางสมาคมจะเป็นผู้สร้างตัวกลางหรือ trader ไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดภูเก็ต เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างโรงแรมต่าง ๆ และเกษตรกร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ รวมทั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ร่วมสนับสนุน โดยจะมาช่วยพัฒนานิสิตนักศึกษา คนรุ่นใหม่ของจังหวัดภูเก็ต มาร่วมทำธุรกิจด้านไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งจะเป็นพี่เลี้ยงด้านเทคโนโลยี และเป็นศูนย์การบ่มเพาะ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ให้กับพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 

 

ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ กับกระบวนการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ ถือเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพแก่เกษตรกรชาวจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง และลดการนำเข้าไม้ดอกไม้ประดับจากนอกพื้นที่ ซึ่งจะเป็นกรลดต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ และยังป็นการสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย 

 

หลังเสร็จสิ้นการแถลงข่าว คณะลงมาปลูกต้นไม้ ในบริเวณศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย