“เอกชน-ท้องถิ่น-เทคโนโลยี” 3 ตัวแปรท้าทาย ในการเปลี่ยนผ่านระบบบัตรทอง (จบ)

04 ส.ค. 2566 | 21:49 น.

“เอกชน-ท้องถิ่น-เทคโนโลยี” 3 ตัวแปรท้าทาย ในการเปลี่ยนผ่านระบบบัตรทอง (จบ) : Healthcare Insight ธานี มณีนุตร์ [email protected]

โดยเริ่มถ่ายโอนเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 ซึ่งเป็นจุดสตาร์ทปีงบประมาณ 2566 ทั้งนี้ มี รพ.สต. จำนวน 3,263 แห่งทั่วประเทศ ได้ถูกถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ใน 49 จังหวัด หรือคิดเป็น 33.21% แล้ว ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่จบเพียงแค่จำนวน รพ.สต. ที่ถูกถ่ายโอน แต่ยังต้องจับตาดูกันต่อไปว่า หลังจากนี้คุณภาพและประสิทธิภาพการให้บริการโดย อบจ. ที่ต้องบริหารจัดการ รพ.สต. จะเป็นอย่างไร

เพื่อตอบสนองการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในมิติต่างๆ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่ายและรพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ ระบบการส่งต่อผู้ป่วย และระบบข้อมูลสุขภาพ หน่วยบริการและหน่วยงานกำกับดูแลในระดับพื้นที่

“เอกชน-ท้องถิ่น-เทคโนโลยี” 3 ตัวแปรท้าทาย ในการเปลี่ยนผ่านระบบบัตรทอง (จบ)

ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.), สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้รับบริการจะได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ และผู้ให้บริการจะสามารถให้บริการที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็ต้องไม่ด้อยไปกว่าเดิม

คำถามถัดมา หลังจากการถ่ายโอนเพื่อกระจายอำนาจด้านสุขภาพไปยังส่วนของถิ่นแล้ว เราจะสร้างการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืนได้อย่างไร? หนึ่งในกุญแจสำคัญก็คือ การนำระบบ “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ ท่ามกลางยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในปัจจุบัน ก็มีการพูดถึงแนวทางการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนางานด้านสุขภาพปฐมภูมิของ อบจ. ในอนาคต

เช่น การลงทุนผ่านแพลตฟอร์ม Crowdfunding ฯลฯ ซึ่งการร่วมลงทุนเหล่านี้มีความเป็นไปได้ และจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพในอนาคตได้ ซึ่งในส่วนนี้ เราจะต้องเตรียมความพร้อมในด้านระบบนิเวศ (Ecosystem) ทั้งการทำพื้นที่นำร่อง (Sandbox) และมีการวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปพร้อมๆ กันด้วย

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สะท้อนให้เห็นว่า ระบบบริการสาธารณสุขของบ้านเรา ยังคงต้องการการเอาใจใส่ สะท้อนปัญหา และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ได้แก่ “เอกชน-ท้องถิ่น-เทคโนโลยี” ล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน ขึ้นอยู่กับเราว่าจะใช้ปัจจัยทั้ง 3 นี้ ในการขับเคลื่อนระบบบริการปฐมภูมิในช่วงเปลี่ยนผ่านให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร นับเป็นความท้าทายใหญ่อีกครั้งที่ต้องเอาใจช่วยและร่วมกันลงมือทำ

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,910 วันที่ 3 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566