เช็คความเห็น คนกทม. คิดเห็นอย่างไรบ้างกับ "วันลอยกระทง"

07 พ.ย. 2565 | 03:20 น.

เปิดโพลความเห็นคนกทม. เกินครึ่งยังสนใจวันลอยกระทง แต่จะเข้าร่วมลอยกระทงไม่ถึงครึ่งและเกือบ100%อยากให้รัฐบาลรณรงค์ใช้กระทงมาจากวัสดุธรรมชาติ 100 %

วันลอยกระทง เป็นประเพณีสำคัญของคนไทยเป็น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง

เช็คความเห็น คนกทม. คิดเห็นอย่างไรบ้างกับ "วันลอยกระทง"

ซึ่งมีความคล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์ ประเพณีลอยกระทงสถานที่ในการลอยกระทงคือบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ เป็นประเพณีที่รักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์เปิดเผยว่า  ในปัจจุบันมีการณรงค์ให้ใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 100 % ย่อยสลาย ได้ง่าย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งดใช้โฟม เพื่อไม่เป็นการสร้างขยะเพิ่มขึ้นในแหล่งน้ำต่างๆ  และควรลอยกระทงในแหล่งน้ำปิด ไม่ลอยในแม่น้ำ ลำคลอง เพื่อไม่ให้วัสดุต่างๆ ของกระทง ลอยลงสู่ทะเล กระทบต่อระบบนิเวศ ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อเทศกาลลอยกระทง มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้  

 

  • 75.7% ทราบว่า วันลอยกระทงปี 2565 ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน
  • 74.7 คิดว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาพระแม่คงคา  
  • 62.7 ให้ความสำคัญในวันลอยกระทง
  • 48.1%คิดว่าจะไปลอยกระทงในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 

สำหรับประเด็นหากจะไปลอยกระทงท่านอยากไปลอยกระทงใคร คนกทม.เห็นว่า

  • 36.1% ลอยกับคนในครอบครัว
  • 25.5% คนรัก/แฟน
  • 17.2% เพื่อนๆ 
  • 21.2% ไม่แน่ใจ   

นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังทราบว่าในวันลอยกระทง การจุดพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ รวมทั้งปล่อยโคมลอย ในกรุงเทพมหานคร เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ร้อยละ 75.3

 

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าการลอยกระทงเป็นการสร้างขยะในน้ำ เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 91.3 และอยากให้รัฐบาลมีการรณรงค์ให้มีการกระทงมาจากวัสดุธรรมชาติ 100 % ย่อยสลาย ได้ง่าย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 93.3