NIDA ผนึก สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย หนุนเศรษฐกิจฐานราก

29 ก.ย. 2565 | 12:27 น.

NIDA-สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ หนุนเศรษฐกิจฐานราก ทั้งด้านวิชาการ การสำรวจและประชาสัมพันธ์โครงการร่วม ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG Economy

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ผนึกกำลัง สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย  ผนึกความร่วมมือ สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กเข้าถึงองค์ความรู้สร้างความเป็นผู้ประกอบการที่มีธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยจะส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากใน  3 ประเด็นคือ

NIDA ผนึก สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย หนุนเศรษฐกิจฐานราก

1 ด้านวิชาการ ส่งเสริมการวิจัย และนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในภาคเศรษฐกิจฐานรากที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการ SME ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG Economy และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

2 ด้านการสำรวจ และสะท้อนสถานการณ์เศรษฐกิจฐานราก โดยพัฒนาดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจฐานราก และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการและประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของมาตรการต่างๆที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจฐานรากทั้งทางตรง และทางอ้อม

NIDA ผนึก สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย หนุนเศรษฐกิจฐานราก

3 ด้านการเผยแพร่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์โครงการความร่วมมือต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อเศรษฐกิจฐานรากและ NIDA

 

ทั้งนี้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ NIDA เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐ มีคณาจารย์ที่มีความรู้ ประสบการณ์ถ่ายทอดที่หลากหลายและศูนย์การศึกษาในส่วนภูมิภาคถึง 8 แห่ง รองรับการขยายโอกาสทางศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพิ่มสมรรถนะ ทักษะนักศึกษา ผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไปที่สนใจให้ได้รับการเรียนรู้ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบทั้ง Re skills Up skills และ Future skills เป็นที่พึ่งและให้บริการทางวิชาการแก่ทุกภาคส่วนในสังคม

 

ขณะที่สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบการ SME ไทยที่มีอยู่ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ ลงลึกถึงในระดับอำเภอนับแสนราย และเป็นผู้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา สถาบันการเงิน และหน่วยงานภาคเอกชน ในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจฐานรากได้เข้าถึงองค์ความรู้สร้างความเป็นผู้ประกอบการที่มีธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน 

 

การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจ การประยุกต์ตลาดดิจิทัล เพิ่มโอกาสแหล่งทุนต้นทุนต่ำ พึ่งพาตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลดความเหลื่อมล้ำทั้ง GDP SME ที่มีสัดส่วนเพียง 35% ของ GDP ทั้งประเทศ ผู้ประกอบการรายย่อย มีสัดส่วน GDP เพียง 3% ผู้ประกอบการรายย่อม มีสัดส่วน GDP เพียง 14% และผู้ประกอบการขนาดกลางมีสัดส่วน GDP 18% ขณะที่สัดส่วนการส่งออกของเอสเอ็มอีไทยทั้งหมดในปี 2564 มีเพียงราว 12.37% โดยเป็นผู้ประกอบการรายย่อยเพียง 1.06% รายย่อม 3.72% และรายกลางเพียง 7.66% 

 

สิ่งสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้ คือ การเป็นกระบอกเสียง “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก” เพื่อแก้ปัญหาเชิงรุกที่มีความเท่าทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจที่มีหลากหลายปัจจัย อาทิ รายได้ลดลง ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น พลังงานเพิ่มขึ้น ค่าครองชีพพุ่ง เงินเฟ้อ เศรษฐกิจฝืด การปรับตัวของดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทแปรปรวน ค่าแรงเพิ่ม และหนี้ครัวเรือนขยายตัวส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียทั้งในระบบธนาคารพาณิชย์ และนอกระบบธนาคารพาณิชย์ ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำที่ขยายวงกว้างขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขที่จริงจัง ตรงประเด็น รวดเร็วและเป็นธรรม