AIS แนะ 3 แกน เนรมิตเมืองอนาคตสู่ความยั่งยืน

14 ธ.ค. 2566 | 00:32 น.

"สายชล ทรัพย์มากอุดม" เผย AIS 35 ปี ลงทุน 1 ล้านล้านบาท เดินหน้าสู่ ‘Cognitive Telco’ องค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ เปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด แนะ Digital Economy- Promote digital Inclusio และ Act on climate 3 แกนหลักช่วยสร้าง Sustainable Urbanization ไปสู่เมืองยั่งยืนในอนาคต

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวบนเวทีสัมมนา “SUSTAINABILITY FORUM 2024” ในหัวข้อ "Sustainable Urbanization : Better Cities and Communities" จัดโดย "กรุงเทพธุรกิจ" ให้ความสำคัญกับ 3 แกนหลัก ที่จะช่วยให้  Sustainable Urbanization ไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต 

AIS แนะ 3 แกน เนรมิตเมืองอนาคตสู่ความยั่งยืน

อันดับหนึ่งคือเรื่องของ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล” หรือ Digital Economy โดยเน้นการพัฒนาสินค้าและบริการในรูปแบบดิจิทัล พนักงานและวัฒนธรรมองค์กรต้อง transform คือการอาศัยผลิตอุปกรณ์ คนทำซอฟต์แวร์ แอป และเทคโนโลยี เข้ามาช่วยพัฒนาให้เร็วและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เซ็นเอกสารโดยไม่ใช้กระดาษ เรียกให้เข้าใจง่าย ๆ คือ อีเซอร์วิส 

ต่อมาก็จะเป็น “การเข้าถึงดิจิทัล” หรือ Promote digital Inclusion เพราะเมื่อโลกดิจิทัลเชื่อมต่อกัน ข้อมูลบนออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นแล้วระบบการดูแลรักษาข้อมูลจึงสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงการให้ความรู้ด้านการเข้าถึงดิจิทัลที่ AIS ให้ความสำคัญและสร้างการรับรู้ให้กับผู้ใช้งาน

AIS จึงจัดโครงการอุ่นใจไซเบอร์ เพื่อสร้างความปลอดภัยในโลกดิจิทัล ทั้งเรื่อง data privacy (ข้อมูลและความเป็นส่วนตัว) และ cyber security (ความปลอดภัยบนโลกออนไลน์) โดยมองจากมุมผู้ใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงโลกออนไลน์ได้ถูกวิธี และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

สุดท้ายจะเป็นเรื่องของ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (act on climate) โดยได้ดำเนินการ 2 เรื่อง ได้แก่ โซล่าเซลล์ เพื่อสร้างพลังงานอย่างยั่งยืน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-Waste) ในการใช้พลังงาน 

 

 

นางสายชล ได้อธิบายเพิ่มว่า โดย 35 ปี ที่ผ่านมา AIS ลงทุนเครือข่ายไปทั้งหมด 1 ล้านล้านบาท   โดยตั้งเป้าหมายไปสู่ Cognitive Telco หรือ องค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ  และเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด การปรับตัวด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมนี้ถือว่าไม่ยากนัก เนื่องจากสามารถใช้พลังงานสะอาด เป็นแหล่งทดแทนพลังงานแบบดั้งเดิมได้

มีข้อมูลระบุว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.4% ของปริมาณการปล่อยที่น้อย แต่แท้จริงแล้วบทบาทโทรคมนาคมที่มีต่อ ESG คือ ทำอย่างไรให้โทรคมนาคมมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมอื่นลดการปล่อยได้ 10 เท่าตัว

อีกทั้งยังมีโครงการคนไทยไร้ e-Waste คือใครที่ไม่รู้จะเอาอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งที่ไหน สามารถไปทิ้งได้ที่ AIS เพราะจะมีการคัดแยกขยะให้ถูกวิธีไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นมลพิษทางขยะ ถือเป็นการช่วยลดและรีไซเคิลของเสียที่ไม่จำเป็นให้ถูกที่

ดังนั้นแล้วเวลาเราจะเลือกซื้ออุปกรณ์จะใช่แค่ได้ดูราคาเพียงอย่างเดียวแต่เราต้องดูด้วยว่าอุปกรณ์นี้ติดตั้งแล้วกินไฟเท่าไรตลอดอายุการใช้งาน ฉะนั้นต้นทุนและพลังงานต้องเหมาะสม เราที่เป็นผู้บริโภคจะต้องมองการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ทั้งหมดทั้งมวลที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นมุมมองของฝั่งอุตสาหกรรมโทรคม คอนซูมเมอร์ ที่มอง Sustainable Urbanization ในอีกรูปแบบหนึ่ง ถึงแม้อุตสาหกรรมโทรคม คอนซูเมอร์ มีการใช้พลังงาน 0.4% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั่วโลก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีผู้ใช้งาน AIS ไม่น้อย ดังนั้นแล้วหากเรามีความพยายามลดใช้พลังงาน และสร้างการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาตคอีกด้วย