บูม Medical Foods อาหารทางการแพทย์มูลค่าหมื่นล้านบาท

24 ต.ค. 2566 | 08:08 น.

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้ Medical Foods อาหารทางการแพทย์ในไทย เติบโตเท่าตั้ว แตะ 1 หมื่นล้านในปี 2573 เป็นผลจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging-Society) แนะ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ผู้ประกอบการเตรียมตัวรับการเติบโต

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) โดยมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ในระยะ 5-6 ปีข้างหน้า จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารของไทยในการพัฒนาอาหารทางการแพทย์ (Medical Foods) ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเฉพาะโรค 

รู้จัก Medical Foods หนึ่งในอาหารอนาคต

อาหารที่ผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษทางการแพทย์ ตอบสนองความต้องการโภชนาการสำหรับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ โดยมีทั้งหมด 2 สูตร ได้แก่

  • สูตรทั่วไป เป็นอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) คือภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารหรือได้รับสารอาหารเกินความต้องการ ทำให้เกิดสะสมมีความเสี่ยงเกิดโรค 
  • สูตรเฉพาะโรค เป็นอาหารทางการแพทย์ที่พัฒนาให้มีส่วนประกอบของอาหารหลัก เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะของแต่ละโรค

นอกจากนี้ Medical Foods  ยังต่างจากยาและอาหารเสริม ดังนี้

บูม Medical Foods อาหารทางการแพทย์มูลค่าหมื่นล้านบาท บูม Medical Foods อาหารทางการแพทย์มูลค่าหมื่นล้านบาท

Medical Foods มูลค่าแตะหมื่นล้านบาทใน 6 ปี

นางสาวสุคนธ์ทิพย์ ชัยสายัณห์ นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Medical Foods ที่มีแนวโน้มเติบโตดี ได้แก่ อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร เช่น ผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังจาก 6.1 ล้านคนเมื่อปีที่แล้ว อาจเพิ่มสูงเป็น 6.8 ล้านคนในปี 2588 ขณะเดียวกัน Medical Foods ยังมีลดค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงสามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ 24% ลดภาวะแทรกซ้อน 25-50% และลดจำนวนวันในการรักษาตัว 2-33 วัน 

ทั้งนี้จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกพบว่า ผู้บริโภคสนใจ Medical Foods เพิ่มมากขึ้น โดย 70% ของผู้บริโภคทั่วโลกสนใจบริโภคอาหารเพื่อจัดการกับโรคเรื้อรังต่าง ๆ ,  3 ของผู้ ของผู้บริโภคทั่วโลกสน ของผู้บริโภคทั่วโลกสนใจบริโภคเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์โดยเฉพาะ , 60% ของผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ สนใจบริโภคอาหารที่เป็นยามากขึ้น และ 90% ของผู้บริโภคชาวยุโรปต้องการผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะทาง 

บูม Medical Foods อาหารทางการแพทย์มูลค่าหมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม FoodTech และ HealthTech กำลังเติบโตอย่างก้าวหน้าและรวดเร็วทำให้ต้นทุนการพัฒนาอาหารมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยพบว่าเงินลงทุนจาก Venture Capital ใน Startup มีอัตราการเติบโตอย่างมาก จากปี 2560 มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 398 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4.6 เท่า เป็น 1,837 พันล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อปีที่แล้ว หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 35.8% ต่อปี และยังเติบโตได้อีกมาก เพราะทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอีก 28% ภายในปี 2573 

โดยคาดว่าในปี 2573 มูลค่าตลาด Medical Foods ของโลกจะสูงถึง 3.66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากในปี 2565 ที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 2.19 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 3.3% ขณะที่ในประเทศไทย คาดว่า ในปี 2573 ตลาด Medical Foods จะมีมูลค่าประมาณ 9.5 พันล้านบาท หรือขยายตัวเฉลี่ยปีละ 6.2% จากในปี 2565 ที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 5.9 พันล้านบาท

“คาดว่าผู้ผลิตอาหารทางการแพทย์จะมีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 23% เป็น 42% หรือเพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับการผลิตอาหารทั่วไป และถ้าผู้ประกอบการต่อยอดสู่ Organic/Plant-based Medical Foods จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรของไทยประมาณ 12-22 เท่า และคาดว่าจะทำให้ผู้ผลิตอาหารทางการแพทย์มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 55%”

บูม Medical Foods อาหารทางการแพทย์มูลค่าหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่จะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของตลาด Medical Foods ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจผลิตส่วนผสมอาหารทางการแพทย์ ผู้ประกอบธุรกิจผลิตอาหารทางการแพทย์ รวมถึงผู้ประกอบการในธุรกิจต่อเนื่องที่มีโอกาสพัฒนาสูตรอาหารทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น ธุรกิจโรงพยาบาล ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย เป็นต้น

บูม Medical Foods อาหารทางการแพทย์มูลค่าหมื่นล้านบาท

นางสาวอังคณา สิทธิการ นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า ธุรกิจอาหารทางการแพทย์ของไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของวัฏจักรธุรกิจ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังรับรู้ถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ไม่มาก และเผชิญการแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการจึงควรเน้นการลงทุนในเทคโนโลยี วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและได้มาตรฐานสากล ศึกษากฎระเบียบและมาตรฐานส่งออกอาหารทางการแพทย์ของประเทศคู่ค้า รวมทั้งสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ของอาหารทางการแพทย์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการหรือบรรเทาอาการของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษา นอกจากนี้ ควรสร้างความร่วมมือทั้ง Ecosystem ตั้งแต่ผู้ประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนา รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ให้การรับรองมาตรฐานและให้คำปรึกษาด้านมาตรฐานอาหารทางการแพทย์ เพื่อยกระดับศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยมากขึ้น

บูม Medical Foods อาหารทางการแพทย์มูลค่าหมื่นล้านบาท บูม Medical Foods อาหารทางการแพทย์มูลค่าหมื่นล้านบาท