จีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด กระทบหนัก 2กลุ่มสินค้าส่งออกไทย

11 ส.ค. 2566 | 07:59 น.

เอกชนชี้ ตลาดส่งออกจีนสุ่มเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืด หลังสินค้าและบริการราคาถูกลงคนชะลอจับจ่าย ชี้สินค้าส่งออกไทยโดนหางเลข 2 กลุ่ม สินค้าคงทน-สินค้าฟุ่มเฟือย ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคยังโตต่อเนื่อง

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย  เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงจีนกำลังเข้าสู่ ภาวะเงินฝืด (deflation) ทำให้มีความกังวลว่า เศรษฐกิจที่เติบโตช้ามากของจีน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก(รองจากสหรัฐอเมริกา) จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยหรือไม่นั้นยังไม่มี เพราะสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังซื้อยังไม่กลับมา และสภาพก็คล้ายกันทั่วโลกในขณะนี้ที่เศรษฐกิจชะลอตัว

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

 

โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ ยุโรป ที่มีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อจากราคาพลังงาน ราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ชาติมหาอำนาจต่างขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ ทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว เกิดความกังวลในการใช้จ่าย ธุรกิจไม่กล้าลงทุนเพิ่ม ที่จะทำให้เกิดหนี้สินเพิ่มจากดอกเบี้ยที่สูง ส่งผลให้ความสามารถในการหาเงินลดลง ซึ่งการส่งออกก็ยากขึ้นเพราะประเทศผู้นำเข้าชะลอการสั่งซื้อ

จีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด กระทบหนัก 2กลุ่มสินค้าส่งออกไทย

ขณะที่สงครามการค้าจีน-สหรัฐ ก็ทำให้ส่งอกนำเข้าได้ยากขึ้น  ซึ่งจีนเองก็อยู่ในสภาวะหน่วงๆ ขณะที่หลายประเทศเองก็รอคอยความหวังจากจีนจะมาช่วยกระตุ้นการจับจ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจโลก เพราะจีนมีมูลค่าการนำเข้าที่สูงจากหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทยด้วย

สำหรับการส่งออกไปจีนในช่วงเดือนก.ค. 2566 พบว่าตลาดจีน กลับมาขยายตัว 4.5%  สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เครื่องยนต์สันดาปภายใน และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น

ส่วนสินค้าสำคัญที่ติดลบได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ส่งผลให้ครึ่งแรกของปีติดลบ 3.7%

จีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด กระทบหนัก 2กลุ่มสินค้าส่งออกไทย

2กลุ่มสินค้าส่งออกกระทบ

สินค้าที่ได้รับผลกระทบมากในการส่งออก จะเป็นสินค้าคงทนและสินค้ากลุ่มฟุ่มเฟือย เนื่องจากความต้องการเปลี่ยน สินค้าลดลง จากกําลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงในสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย ซึ่งสะท้อนในตัวเลขของสินค้าอุตสาหกรรมที่ครึ่งปีแรกติดลบ 9.7% ตัวอย่างสินค้าหดตัวเช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ เป็นต้น

แต่ในสินค้าเกษตร และอาหารยังสามารถรักษาระดับได้ เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็น โดยครึ่งปีแรก สินค้าเกษตร เติบโตร้อยละ 8.6 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเติบโต39.4%

“จีนมีภาวะเศรษฐกิจแบบหน่วงๆ สินค้าไทยเองก็ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ สินค้าฟุ่มเฟือย สินค้ากลุ่มนี้ลูกค้าก็จะลดการสั่งซื้อ  ส่วนสินค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบก็จะยังคงเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลักเพราะยังมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต”

จีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด กระทบหนัก 2กลุ่มสินค้าส่งออกไทย

แนะผู้ส่งออกเตรียมตัวรับผลกระทบหาตลาดใหม่

อย่างไรในส่วนของภาครัฐและผู้ประกอบการไทยอาจจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยง เตรียมการหรือรองรับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจและตลาดของจีนที่สำคัญ โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง   

โดยการเร่งการดำเนินนโยบายในเชิงรุกและเชิงลึกในการผลักดันส่งเสริมการส่งออกทั้งตลาดเดิม ซึ่งจีนเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย ยังคงส่งเสริมและรักษาตลาดไว้ เจาะตลาดใหม่ เพื่อขยายโอกาสของผู้ประกอบการส่งออกไทย   ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีแผนดำเนินการในครึ่งปีหลังของปี 2566 สนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมีโอกาสเชื่อมโยงหรือสร้าง exposure ในตลาดจีน หรือในกลุ่มคู่ค้าชาวจีนมากขึ้น ผ่านการเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าที่มีคุณภาพ และ e-Commerce   รวมถึงเพิ่มแต้มต่อทางการค้า เช่น ภาครัฐเร่งลดต้นทุนภาคการผลิต ที่ปรับสูงขึ้นและอาจเสียเปรียบคู่ค้าคู่แข่งที่สำคัญ อาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าแรง และอัตราดอกเบี้ย

“ สิ่งสำคัญยังคงต้องติดตามจับตาผลจากมาตรการส่งเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการอุดหนุนต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการทุ่มตลาดสินค้า และการใช้มาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า นอกจากนั้นยังต้องติดตาม สถานการณ์เศรษฐกิจ และมาตรการ และสถานการณ์ทางการค้าต่างๆ”