สสว.รุก "SME ปัง ตังได้คืน ปี2" วางเป้าช่วยเอสเอ็มอีกว่า 5,000 ราย

19 มี.ค. 2566 | 11:00 น.

สสว.รุก "SME ปัง ตังได้คืน ปี2" วางเป้าช่วยเอสเอ็มอีกว่า 5,000 ราย พร้อมเพิ่มหมวดจัดอบรมเรื่องใหม่ที่เอสเอ็มอีต้องทำ คาดปีนี้เอสเอ็มอีในประเทศได้รับผลบวกจากการท่องเที่ยว คาดจีดีีเอสเอ็มอีโต 2-4%

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ดำเนินโครงการ “SME ปัง ตังได้คืน ปีที่ 2” ภายใต้กรอบวงเงิน 500 ล้านบาท โดยคาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการขนาดกลาง ถึงขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี (SMEs) ได้มากกว่า 5,000 ราย เนื่องจากเอสเอ็มอีแต่ละรายสามารถขอรับสิทธิ์ได้ 2 ครั้งภายใต้วงเงิน 2 แสนบาที่จะได้รับ

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบผู้ให้บริการทางธุรกิจ (BDS) อุดหนุนค่าใช้จ่ายให้ในการพัฒนาเอสเอ็มอีแบบร่วมจ่ายในสัดส่วน 50-80% ตามขนาดของธุรกิจ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท จนถึงเดือนก.ย.2566 

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคการผลิตรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี ภาคการค้าและภาคบริการรายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อปี จะได้รับการอุดหนุนร่วมจ่าย 50% 

ส่วนผู้ประกอบการไมโคร เอสเอ็มอี(MSME) มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี กิจการเพื่อสังคม ภาคการผลิตรายได้ไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อปี และภาคอื่นๆ รายได้ไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อปี จะได้รับการอุดหนุนร่วมจ่าย 80% 

อย่างไรก็ดี ล่าสุดมีผู้ให้บริการทางธุรกิจเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 120 ราย รวมกว่า 200 บริการ ครอบคลุม 5 หมวดบริการ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพธุรกิจ การพัฒนาและบริหารธุรกิจ การพัฒนาช่องทงการจำหน่ายและการตลาด 

และการพัฒาสู่ตลาดต่างประเทศ มีเอสเอ็มอีเข้าโครงการแล้ว 3,000 ราย จากผู้สนใจเข้าระบบกว่า 5,000 ราย โดยมีการเบิกจ่ายแล้วประมาณ 300 ราย อาทิ ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและเครื่องสำอาง เป็นต้น คิดเป็นวงเงินประมาณ 12 ล้านบาท

สสว.รุก SME ปัง ตังได้คืน ปี2 วางเป้าช่วยเอสเอ็มอีกว่า 5,000 ราย นายวีระพงษ์ กล่าวอีกว่า เฟสที่ 2 จะมีการเปิดให้เอสเอ็มอีขอใช้บริการเพิ่มเติมได้ในหมวดของการอบรมเพื่อยกระดับกิจการ หรือเสริมความรู้ แต่ทั้งทั้งนั้นะต้องไม่ใช่การอบรมแบบเรื่องทั่วไป แต่ต้องเป็นเรื่องใหม่ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) หรือเรื่องที่เอสเอ็มอีจะต้องทำที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สสว.ยังตั้งเป้าผลิตภัณฑ์มวลรวม(จีดีพี) เอสเอ็มอีปี 2566 โต 2-4% โดยเตรียมแผนพัฒนาเอสเอ็มอีไว้ในหลายด้าน ซึ่งส่วนแรกคือการประสานให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเงินกู้สถาบันการเงินให้เอสเอ็มอีวงเงิน 968 ล้านบาท เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา 

ซึ่งคาดว่าจะเห็นชอบภายในเร็ววันนี้ โดยการค้ำประกันดังกล่าวเพื่อให้ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาช่วงโควิด-19 และมีหนี้เสียเกิดขึ้นในส่วนโควิดมีเงินทุนหมุนเวียนนำไปปรับปรุงกิจการรายละไม่เกิน 2 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะครอบคลุมเอสเอ็มอีกว่า 1,500 ราย รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบอย่างน้อย 3,000 ล้านบาท

นายวีระพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า ภาพรวมของเอสเอ็มอีในปีนี้นั้น มองว่าได้รับผลกระทบไม่มาก ยกเว้นกลุ่มที่ส่งออกซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน ภาวะไม่ปกติทางด้านสงคราม และการล้มละลายของธนาคารในสหรัฐอเมริกา 

ส่วนเอสเอ็มอีภายในประเทศเชื่อว่าได้รับปัจจัยบวกมากกว่า จากเรื่องการท่องเที่ยวซึ่งมาจากการเปิดประเทศ ส่งผลทำให้ร้านขนาดเล็กมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น โดยจะได้ประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 40 ล้านคนที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามา แต่เอสเอ็มอีเองก็ต้องปรับตัวรับปัจจัยบวกดังกล่าวด้วยเช่นเดียนวกัน เช่น การปรับปรุงเปลี่ยนร้าน หรือผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูดความสนใจของลูกค้า