เศรษฐกิจโลก-การค้าโลกหดตัว กระทบตลาดส่งออกหลักของไทยติดลบระนาว

30 พ.ย. 2565 | 18:00 น.

เศรษฐกิจโลก-การค้าโลกหดตัว กระทบตลาดส่งออกหลักของไทยติดลบระนาว เหตุประเทศคู่ค้าชะลอจากเงินเฟ้อทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูงกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค ภาคการผลิตของโลกชะลอลง

ผ่านไป10เดือนสำหรับการส่งออกไทย ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม - ตุลาคม) การส่งออก มีมูลค่า 243,138.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 9.1% การนำเข้า มีมูลค่า 258,719.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว18.3% ดุลการค้า ขาดดุล 15,581.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่า 21,772.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (801,273 ล้านบาท) หดตัว4.4%

เศรษฐกิจโลก-การค้าโลกหดตัว กระทบตลาดส่งออกหลักของไทยติดลบระนาว

หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 2.8% อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าชะลอลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค ภาคการผลิตของโลกชะลอลงต่อเนื่องสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโลกที่ต่ำกว่าระดับ 50

 

 

 โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรปที่ขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง และตลาดจีนที่ยังคงใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าในหลายหมวดชะลอตัวลง อย่างไรก็ดีการส่งออกยังมีปัจจัยบวกจากภาวะเงินบาทอ่อนค่า และค่าระวางเรือที่เริ่มปรับเข้าสู่สมดุล

เศรษฐกิจโลก-การค้าโลกหดตัว กระทบตลาดส่งออกหลักของไทยติดลบระนาว

ทั้งนี้ตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ยังคงหดตัว ตามอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวลดลง ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ

โดยตลาดหลัก ซึ่งประกอบด้วย สหหรัฐ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน สหภาพยุโรป CLMV ภาพรวมติดลบ 4.5% โดยตลาดสหรัฐฯติดลบ 0.9% เป็นการติดลบในรอบ 29 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น

 ส่วนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกขยายตัว 16.8%

เศรษฐกิจโลก-การค้าโลกหดตัว กระทบตลาดส่งออกหลักของไทยติดลบระนาว

 ตลาดอาเซียนยังติดลบในรอบ18เดือน

ตลาดจีน ติดลบ 8.5% ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่อง 5 เดือนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา เม็ดพลาสติก และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกติดลบ 6.1%

ตลาดญี่ปุ่น ติดลบ 3.1% เป็นการติดลบต่อเนื่อง 2 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น แต่สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไก่แปรรูป แก้วและกระจก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น   ขณะที่ 10 เดือนแรก ขยายตัว 0.5%

เศรษฐกิจโลก-การค้าโลกหดตัว กระทบตลาดส่งออกหลักของไทยติดลบระนาว

ตลาดอาเซียน (5) ติลบ 13.1% ติดลบต่อเนื่องในรอบ 18 เดือนซึ่งสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรก ขยายตัว16.5%

ตลาดสหภาพยุโรป (27) ติดลบ 9.8% ในรอบ 6 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และไก่แปรรูป เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรก ขยายตัว 6.8%

 ตลาดรอง10เดือนขยายตัว17.2%       

ในขณะที่ตลาดรอง  เช่น ตลาดเอเชียใต้ แอฟริกา ลาตินอเมริกา รัสเซียและกลุ่มCIS   ทวีปออสเตรเลียและตะวันออกกลาง  ซึ่งภาพรวมติดลบ 5.7%   สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่ 10 เดือนแรก ขยายตัว 17.2% โดยตลาดที่ติดลบเช่น

ตลาดทวีปแอฟริกา ติดลบ 22.5% ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่อง3 เดือน และสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และน้ำตาลทราย เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกติดลบ 1.8%

ตลาดลาตินอเมริกาติดลบ 5% เป็นการติดลบในรอบ 3 เดือนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเม็ดพลาสติก เป็นต้น และสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรก ขยายตัว 7.6%

เศรษฐกิจโลก-การค้าโลกหดตัว กระทบตลาดส่งออกหลักของไทยติดลบระนาว

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ติดลบ 62.9%ต่อเนื่อง 8 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญ
ที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และข้าว เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกติดลบ 36.8%

ส่วนตลาดอื่น ๆ ยังคงขยายตัว51.7% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัว103.5%  นอกจากนี้ยังมีตลาดที่ยังคงขยายตัวเป็นไม่ว่าจะเป็นตลาด CLMV ขยายตัว 10.6% ต่อเนื่อง 14 เดือนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรก ขยายตัว 15.5%

เศรษฐกิจโลก-การค้าโลกหดตัว กระทบตลาดส่งออกหลักของไทยติดลบระนาว

ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัว 18.8%ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรก ขยายตัว 4.8%

และตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัว 22.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกขยายตัว 26.2%