ดร.เอ้ ตั้งคำถาม? ฝนตกหนักที่สิงคโปร์ น้ำแห้งในหนึ่งชั่วโมง ทำได้ไง?

04 ต.ค. 2565 | 09:03 น.

Fackbook ของดร.เอ้ .ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ได้โฟสตั้งคำถามไว้ว่า ฝนตกหนักที่สิงคโปร์ น้ำแห้งในหนึ่งชั่วโมง ทำได้ไง? เรียนรู้ไม่เสียหาย

คืนก่อนกรุงเทพน้ำท่วม ฝนตกหนักที่สิงคโปร์ระหว่างการจัดการแข่งขัน Formula 1 Singapore Grand Prix 2022 ที่จัดขึ้นบริเวณถนนแถวอ่าวมารีน่า ผมนั่งรอดูผ่านจอโทรทัศน์ ผู้ประกาศแจ้งว่าอาจต้องเลื่อนการแข่งขัน เพราะฝนตกหนัก ถ้ามีน้ำท่วมขัง อันตราย เสี่ยง แข่งรถต่อลำบาก   คนไปดูที่สนามแข่ง อุ้มหนีน้ำท่วมแทบไม่ทัน บรรยากาศคุ้นตา

แต่แล้วภายใน 1 ชั่วโมง ที่แฟนๆนักแข่งรถใจจดใจจ่อรอคอย ก็โล่งใจ F1 ประกาศแข่งต่อได้ ทำให้เซร์คิโอ เปเรซหนุ่มหล่อจากเม็กซิโก จากทีม Oracle Red Bull Racing คว้าชัยได้สำเร็จ

การแข่งรถระดับโลก ไม่ต้องเสี่ยงน้ำท่วม เพราะสิงคโปร์ทำให้ถนนแห้งสนิท ทำได้ไง หลังฝนตกหนัก เพียงหนึ่งชั่วโมง?

บอกก่อนว่า สิงคโปร์ในอดีต เคยน้ำท่วมหนักไม่น้อยกรุงเทพ เพราะอยู่ในแนวมรสุม พายุเข้าทุกปี ทั้งยังมีปัญหาน้ำทะเลหนุนสูง และปัญหาน้ำหลากจากภูเขา หนักกว่ากรุงเทพมาก

แต่ทำไมประสิทธิภาพของการระบายน้ำขังที่เกิดจากฝนตกหนักทำได้เยี่ยม น่าเรียนรู้ยิ่ง

เพราะสิงคโปร์แก้ปัญหาน้ำท่วม ด้วย "ระบบการจัดการอัตโนมัติ" และ แก้ปัญหา "โครงสร้างภาพรวม" คือ

ดร.เอ้ ตั้งคำถาม?  ฝนตกหนักที่สิงคโปร์ น้ำแห้งในหนึ่งชั่วโมง ทำได้ไง?

1. บริเวณปากอ่าวมารีน่า มีเขื่อนกั้นน้ำทะเลหนุนที่เรียกว่า "Marina Barrage" หรือภาษาไทยที่แปลว่า "เขื่อนกั้นน้ำมารีน่า" เป็นด่านสำคัญป้องกันน้ำทะเลดันเข้ามา ทำให้สามารถสูบน้ำท่วมระบายได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะทำด่านกั้นไว้ให้

2. ฝนยุคนี้ตกตู้มหนัก น้ำระบายจากในใจกลางเมืองออกอ่าวไม่ทัน น้ำก็ท่วมรอระบายบนถนนออร์ชาร์ด ถนนเศรษฐกิจ คล้ายจตุจักร อโศก สุขุมวิท เวลาน้ำท่วม

สิงคโปร์ รู้ปัญหา จึงสร้าง “แก้มลิงใต้ดิน” ที่ช่วยพักน้ำรอการระบาย จากฝนตกหนัก ไว้ใต้ดิน เก็บพักไว้ใต้ถนนออร์ชาร์ด ตรงนั้นก่อน น้ำยังไม่ต้องเดินทาง

ดร.เอ้ ตั้งคำถาม?  ฝนตกหนักที่สิงคโปร์ น้ำแห้งในหนึ่งชั่วโมง ทำได้ไง?

ขณะที่ระบบสูบระบายน้ำ ก็สูบกันไป เป็นการผ่อนหนักเป็นเบา แกัน้ำท่วมได้เบ็ดเสร็จ ถนนแห้งไวมาก ได้ผล

3. สิงคโปร์ยังมีวิสัยทัศน์ ให้ทุกอาคารมีระบบ "แก้มลิงใต้ดิน" ขนาดย่อมของตัวเอง เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่นั้น เช่น โครงการ "Urban Water Harvesting System (UWHS)" หรือ "ระบบแก้มลิงในเมืองใต้อาคาร" ที่กักเก็บน้ำจากตอนฝนตก ส่วนหนึ่งระบบลงระบบระบายน้ำสาธารณะ อีกส่วนทางอาคาร หรือ หมู่บ้านนำมา บำบัดเป็นน้ำใช้ นอกจากประหยัดค่าน้ำประปาแล้วยังช่วยในเรื่องของการลดการระบายน้ำลงสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะอีกด้วย

4. การใช้เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าอัตโนมัติ ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่มาเปิดปิด ไม่ทันการณ์ และควบคุมการเปิดปิดประตูน้ำอัตโนมัติ สูบน้ำทันที อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สูบย้อนไปย้อนมา และสัมพันธ์กับการเปิดปิดประตูระบายน้ำ ทุกช่วงเวลา คุ้มค่า

สิงคโปร์นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีตัวอย่างที่มีความตั้งใจพัฒนาการป้องกันน้ำท่วมที่เป็นรูปธรรม และสามารถใช้ได้จริง อีกทั้งยังมีวิสัยทัศน์ในการที่จะพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การมองเห็น "ความสำคัญ" ของการป้องกันน้ำท่วม ตั้งแต่สมัยก่อตั้งประเทศ มาจนถึงปัจจุบัน เพราะ สิงคโปร์ นั้นเป็นรู้ตัวว่า ตนเองอยู่ในประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น มีโอกาสเกิดพายุหรือฝนตกหนักค่อนข้างมากทำให้เกิดน้ำท่วมมาก่อน แต่ละครั้งนั้นสร้างผลกระทบอย่างมาก ต่อการเดินทาง เศรษฐกิจ และทรัพย์สินของพลเมืองในประเทศ ทำให้ต้องหาวิธีการที่จะเอาชนะปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากให้ได้

การเรียนรู้ จากตัวอย่างเมืองเพื่อนบ้าน ที่เคยประสบภัยน้ำท่วมแบกรุงเทพ อย่างน้อยเราได้มีกำลังใจว่า ปัญหาน้ำท่วม แกัได้จริงๆ

ที่มา: https://web.facebook.com/suchatvee.ae , เอ้ สุชัชวีร์