นักวิชาการ ม.เกษตร ชี้ชัดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) ฆ่าโควิด

02 ต.ค. 2565 | 05:54 น.

นักวิชาการ ม.เกษตร ชี้ชัดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) ต้านไวรัส ฆ่าโควิด เผย EWATER+ (Electrolyzed Water) จากการนำน้ำประปามาทำปฏิกิริยาอิเล็กโตรไลซิส ทำให้เกิดเป็นกรดไฮโปคลอรัส มีคุณสมบัติช่วยลดเชื้อโรคในโถสุขภัณฑ์ก้านฉีดชำระ ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน

 

ในยุคสมัยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ผู้คนเริ่มหันมาให้ความสนใจกับเรื่องของความสะอาด และหาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดยับยั้งเชื้อโรคมากยิ่งขึ้น แอลกอฮอล์จึงถูกนำมาใช้เพื่อทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 

เป็นเหตุให้มีบางช่วงที่แอลกอฮอล์นั้นขาดตลาด มีราคาแพงขึ้น และหาซื้อได้ยาก ทางคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ริเริ่มโครงการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อจากกรดไฮโปคลอรัส (Hypochlorous Acid) หรือ HOCl เพื่อแจกจ่ายแก่บุคลากร และประชาชนโดยรอบ

 

ทั้งนี้ ผศ. ดร. พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าว ว่า สำหรับกรดไฮโปคลอรัส เป็นกรดอ่อนๆ

 

มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รวมไปถึงสปอร์ของเชื้อราได้ สามารถใช้ทำความสะอาดได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน 

 

 

“ในความเป็นจริง เซลล์เม็ดเลือดขาวในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถผลิตกรดไฮโปคลอรัสได้เอง และในร่างกายมนุษย์ก็มีการผลิตสารนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยต่อต้านไวรัสในร่างกาย รวมถึงช่วยในการปกป้อง กำจัดเชื้อโรคที่แปลกปลอมเข้ามาสู่ร่างกาย”

นักวิชาการ ม.เกษตร ชี้ชัดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) ฆ่าโควิด

กรดไฮโปคลอรัสถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายประเทศ และหลากหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านยุโรป, สหรัฐอเมริกา, เกาหลี แม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นเอง ซึ่งมีการใช้ในหน่วยงานทหารเรือ สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในเรือ, วงการแพทย์ ที่ใช้สำหรับทำความสะอาดแผล และใช้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในโรงพยาบาล, วงการทันตกรรม ใช้สำหรับให้คนไข้กลั้วทำความสะอาดช่องปากก่อนทำฟัน

 

 นอกจากนี้ยังมีการใช้ทางด้านปศุสัตว์และด้านการเกษตร มีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่ในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมถึงฟาร์มผักผลไม้ที่เป็นออร์แกนิก หรือแม้กระทั่งพ่นฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมจำหน่ายเนื้อสัตว์ ก่อนที่จะบรรจุเพื่อนำส่งให้ผู้บริโภค

 

เพียงแต่อาจจะยังไม่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายภายในประเทศไทยมากนัก จนในช่วงหนึ่งที่แอลกอฮอล์ขาดแคลน ผู้คนจึงให้ความสนใจกับกรดไฮโปคลอรัสมากยิ่งขึ้น จากที่แต่เดิมใช้เพียงแค่ในบางหน่วยงานเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับ HOCl จึงยังค่อนข้างน้อยอยู่เมื่อเทียบกับผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศ

 

ความแตกต่างระหว่างกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) กับแอลกอฮอล์ (เอทิลแอลกอฮอล์) คือ กรด HOCl มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้เร็วกว่า ปลอดภัยกว่า สามารถใช้กับอาหาร กับพื้นผิวบอบบางได้ อย่างเด็ก เป็นต้น

 

อีกทั้งเมื่อใช้ทำความสะอาดแล้ว เวลาที่สลายตัวไป ก็จะเหลือเพียงแค่เกลืออย่างเดียว มีความปลอดภัยสูง ในขณะที่แอลกอฮอล์มีข้อเสียคือเป็นสารที่ติดไฟ และบางคนอาจเกิดการแพ้หรือระคายเคืองได้ นอกจากนี้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่ต้องใช้เวลานานกว่า 

 

ผศ. ดร. พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม อธิบายเพิ่มเติมว่า การผลิตกรดไฮโปคลอรัสนั้นมีกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมากโดยสารตั้งต้นของการผลิตกรด HOCl มีหลากหลาย อาทิ การนำเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) มาละลายน้ำ หรือ ใช้น้ำที่มีคลอรีน (Chlorine) นำมาผ่านกระแสไฟฟ้า

 

เพื่อทำปฏิกิริยาอิเล็กโตรไลซิส (Electrolysis) จึงเกิดเป็นกรดไฮโปคลอรัส ซึ่งกระบวนอิเล็กโตรไลซิสนี้ เริ่มต้นจาก ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นไดนาโม และได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านลงไปในสารละลายเกลือ จนได้มาซึ่งกรดไฮโปคลอรัส 

 

นอกจากอุตสาหกรรมทางด้านอาหารและในทางการแพทย์แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ที่เล็งเห็นถึงประโยชน์และสุขอนามัยจากการใช้ HOCl อย่างเช่น สุขภัณฑ์อัตโนมัติ NEOREST และ ฝารองนั่งอัตโนมัติ WASHLET

 

ของบริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด โดยผลิตภัณฑ์ของ TOTO นั้นมีนวัตกรรมด้านสุขอนามัยที่มีชื่อว่า EWATER+ (Electrolyzed Water) ซึ่งเป็นการนำน้ำประปามาทำปฏิกิริยาอิเล็กโตรไลซิส ทำให้เกิดเป็นกรดไฮโปคลอรัส มีคุณสมบัติในการช่วยลดเชื้อโรคภายในโถสุขภัณฑ์และก้านฉีดชำระดังกล่าว

 

นักวิชาการ ม.เกษตร ชี้ชัดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) ฆ่าโควิด