Next step "โลตัส" มูฟสู่ Retail 5.0 เทียบชั้น "ค้าปลีกพรีเมี่ยม"

27 ก.ย. 2565 | 23:22 น.

"โลตัส" เปิดเกม Retail 5.0 New SMART Retail ปั้นสาขาโมเดลใหม่ next generation ล้างภาพไฮเปอร์มาร์รูปแบบเดิมเพิ่มพอร์ตสินค้านำเข้าเกรดพรีเมียม ขยายไลน์สินค้า House Brand ต่อยอด Lotus’s SMART App ดันสัดส่วนออนไลน์ 20%

ฝ่าคลื่นลมธุรกิจรีเทลมาหลายยุคสมัย สำหรับ "โลตัส" ห้างค้าปลีกที่เป็นผู้เล่นรายแรกๆสำหรับโมเดลธุรกิจแบบ ไฮเปอร์มาเก็ตตั้งแต่ยุค   Retail 1.0 ซึ่งเป็นยุคแรกเริ่มของไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย โดย “โลตัส” ในยุคสมัยนั้นได้นำรูปแบบค้าปลีกที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากฝั่งอเมริกา ซึ่งนำทุกอย่างเข้ามาอยู่ในอาคารหลังเดียว ลูกค้าสามารถช้อปและจ่ายเงินครั้งเดียวเข้ามาในประเทศไทยและกลายเป็นความสะดวกสบายใหม่สำหรับผู้บริโภคคนไทย 

Next step "โลตัส" มูฟสู่ Retail 5.0 เทียบชั้น "ค้าปลีกพรีเมี่ยม"

ต่อมา “โลตัส" ได้เล็งเห็นว่าพฤติกรรมลูกค้าคนไทยไม่เหมือนชาวตะวันตก ลูกค้าคนไทยต้องการสิ่งอำนวยความสดวกและตอบโจทย์มากกว่า นำมาซึ่งการพัฒนาธุรกิจ “มอลล์” ร่วมกับ “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” จนกลายเป็น shopping mall ขนาดเล็กและขนาดกลางที่ตอบโจทย์ชุมชน นอกจากโลตัสแล้วยังมีผู้เล่นในตลาดหลายรายที่เริ่มพัฒนา shopping mall ขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งโลตัสเองได้นำเทคโนโลยีตะวันตกเข้ามาเสริมเติมแต่งด้วย

 

ในยุค Retail 3.0 ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้น "ออนไลน์"  โลตัส ก็โดดเข้าไปเล่นในตลาดนี้ตั้งแต่เริ่มต้นเช่นกัน ในยุคนั้นออนไลน์ยังไม่ได้เป็นธุรกิจที่ชูโรงมากเท่าปัจุบัน แต่ก็เริ่มมีการพัฒนา format ต่างๆขึ้นมาทั้ง Mini supermarket หรือ ร้านสะดวกซื้อ ที่เจาะเข้าไปในชุมชน รวมทั้ง format ออนไลน์เพิ่มเข้ามาให้ลูกค้ามีทางเลือก ซึ่งในยุคนั้น format ออนไลน์ ของโลตัส สามารถให้บริการลูกค้าได้เพียง 8 สาขาเท่านั้น แต่ในปัจุบันเป็นยุคของออมนิแชนแนลหรือ Retail 4.0 ทุกสาขาของไฮเปอร์มาร์เก็ตจะต้องสามารถให้บริการออนไลน์ได้ ลูกค้าสามารถเลือกสาขาในการรับของหรือแม้แต่ออนดีมานด์สั่งออนไลน์และจัดส่งถึงบ้านได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง 

Next step "โลตัส" มูฟสู่ Retail 5.0 เทียบชั้น "ค้าปลีกพรีเมี่ยม"
คำถามคือการเติบโตจาก Retail 4.0 ไปถึง Retail 5.0  “โลตัส” จะปรับตัวอย่างไร นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย ฉายภาพก้าวต่อไปของ “โลตัส”ในบริบทใหม่ว่า ปัจุบัน “โลตัส” กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนจาก Retail 4.0 ไปยังRetail 5.0ภายใต้คำนิยามใหม่ New SMART Retail ที่ผ่านมา “เทสโก้ โลตัส” เปลี่ยนมาเป็น “โลตัส” ในภาพลักษณ์ใหม่ และหลังจากนี้โลตัสมุ่งมั่นที่จะเป็น smart destination ของลูกค้า ซึ่งจะเห็นภาพชัดเจนในปี 2566

 

ทั้งนี้ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ New SMART Retail โลตัสได้วางกรอปการดำเนินงานใน 4 ด้านคือ 

1 ดีไซน์ สโตร์ รูปแบบใหม่ เน็กซ์ เจนเนอเรชั่น (next generation) ให้เหมาะกับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ทันสมัยมากขึ้น และที่สำคัญที่สุด “โลตัส” จะไม่เป็นเพียงร้านค้าแต่จะเป็นจุดบริการลูกค้าและเป็นจุดเสริมธุรกิจออนไลน์ให้แข็งแรงมากขึ้น เพราะลูกค้าในอนาคตต้องการบริการออนไลน์ที่เร็วมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากภาพการแข่งขันของธุรกิจรีเทลปัจุบันที่ “ใครไปถึงลูกค้าได้เร็วที่สุด หรืออยู่ใกล้ลูกค้ามากที่สุดคนนั้นชนะ”

 

2 shopping mall ลูกค้าในอนาคตคำนึงถึงไลฟ์สไตล์และประสบการณ์มากขึ้นไม่ใช่การ shopping functional แต่ต้องการshopping mall ที่สามารถเป็นที่พักผ่อน โดยเฉพาะในช่วงโควิดกระแสนิยมมาแรงมาก ดังนั้น โลตัส ในภาพลักษณ์ใหม่จะต้องมีทั้ง Indoor space และ outdoor space สำหรับกิจกรรมต่างๆ

3 เทคโนโลยี โดยใช้ข้อมูลเข้ามาตอบสนองความต้องการของลูกค้าและออฟเฟอร์ความสะดวกสบาย และ 4 รีเทลของ “โลตัส” จะต้องขายสินค้าที่หลากหลายและแตกต่างจากคู่แข่ง

นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย

“ การขยายตัวของเราจะมีต่อเนื่อง ภายในสิ้นปีนี้เราจะเปิดมินิซูเปอร์มาร์เก็ตอีก 50 แห่ง และ 1 สาขาไฮเปอร์มาร์เก็ตภายในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ภายใต้คอนเซ็ปต์สโตร์รูปแบบใหม่ เน็กซ์ เจนเนอเรชั่น (next generation) นอกจากนี้เราอยู่ระหว่างการพัฒนารีเทลอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเปิดตัวที่ไอคอนสยามในช่วงเดือนมกราคม 2566 ซึ่งจะตอบโจทย์ชาว next generation

 

ในส่วนส่วนธุรกิจออนไลน์ ปัจจุบัน รีเทล สโตร์ของเรา 2597 สาขาทั่วประเทศสามารถรองรับการให้บริการออนไลน์ได้ทั้งหมดแล้ว โจทย์ใหม่หลังจากนี้คือการทำให้ลูกค้าต่างจังหวัดที่เรามีร้านค้าอยู่สามารถซื้อสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในร้านค้านั้นได้โดยการ pre-order online และมารับสินค้าที่สาขาของเรา 

Next step "โลตัส" มูฟสู่ Retail 5.0 เทียบชั้น "ค้าปลีกพรีเมี่ยม"

นอกจากนี้เรายังจะมุ่งไปสู่ smart community center เราต้องทำร้านของเราให้ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมเราจะใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจจับสิ่งต่างๆเช่นอุณหภูมิ จำนวนลูกค้า การเคลื่อนไหวและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเป็นประโยชน์ในการบริการลูกค้า รวมทั้งใช้ในการวางแผนร้านค้าของ partner ด้วย”

 

ผู้บริหารกล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้ “โลตัส” มีแผนขยาย Mall and Store รูปแบบใหม่ 140 โลเคชั่นภายใน 3 ปี ทั้งในรูปแบบของ smart community center  และshopping mall แบบfulfillment center ที่มีทั้งพื้นที่ indoorและoutdoor รวมทั้งร้านค้าที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดยจะเริ่มเปิดตัวช่วงปลายไตรมาส 4 จนถึงต้นปี2566 ประมาณ 10 สาขาในเฟสแรก

 

และอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ของ “โลตัส” คือ การเพิ่มสัดส่วนยอดขายออนไลน์ให้เป็น 20% จากปัจุบันสัดส่วนยอดขายกว่า 95% ยังมาจากฝั่งของออฟไลน์หรือสาขา และทุกสาขาของ “โลตัส” ทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ต 224 แห่ง  ซูเปอร์มาร์เก็ต  202 แห่งและ มินิ ซูเปอร์มาร์เก็ต 2171 แห่งลูกค้าต้องสามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้ รวมทั้งการย้ายฐานลูกค้าออนไลน์กว่า 3 ล้านบัญชีให้เข้ามาอยู่ในฐานแอพลิเคชั่น Lotus’s SMART App  ซึ่งปัจุบันมียอดดาวน์โหลดแล้วกว่า 5.3 ล้านราย และช่วยผลักดันให้ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์โตขึ้นกว่า 12 เท่าตัว

 

“สุดท้ายการเป็นรีเทลหน้าที่ของเราคือส่วนมอบสินค้าให้ลูกค้า แต่ถ้าเราขายสินค้าที่เหมือนในตลาดลูกค้าก็สามารถที่จะซื้อที่ไหนก็ได้ การที่เรามีข้อมูลเราสามารถนำไปพัฒนาสินค้าของเราให้ตรงใจ ตอนนี้หลายสาขาเริ่มมีอาหารพรีเมี่ยมมากขึ้นวางขายและบางสาขามีการวางขายสินค้านำเข้าแล้ว ดังนั้นขอบเขตของการออฟเฟอร์สินค้ากว้างขึ้นและแตกต่างไปแต่ละโลเคชั่น โดยใช้ศักยภาพของ “ซีพี” ในการออฟเฟอร์สินค้าที่พรีเมี่ยมมากขึ้น รวมถึงดึงสินค้าที่เด่นดังในประเทศต่างๆเข้ามาเสริมในร้านของเรามากขึ้นคาดว่าภายในสิ้นปีนี้เราจะมีไม่ต่ำกว่า 10 สาขาที่มีสินค้าพรีเมียมวางขาย

Next step "โลตัส" มูฟสู่ Retail 5.0 เทียบชั้น "ค้าปลีกพรีเมี่ยม"

นอกจากนั้นเรายังพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเองหลายแบรนด์โดยใช้องค์ความรู้จากการศึกษาลูกค้า เข้ามาพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้นโดยจะเน้นเรื่องคุณภาพ ในราคาที่จับต้องได้ สิ่งสำคัญคือการดำเนินงานทั้งหมดเราจะทำบนพื้นฐานของ “ความยั่งยืน” ภายใต้ 4 กรอบ 1 คือเราต้องการเป็นรีเทลที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการโปรโมท health and wellness ภายในปี 2030 ทุกๆตะกร้าที่ลูกค้าซื้อจะต้องมีสินค้าที่ส่งเสริมคุณภาพและสุขภาพ โดยจะใช้แอปพลิเคชั่นมอบสินค้าที่ดีต่อสุขภาพให้กับลูกค้า  2 social impact ภายใน4-5 ปีข้างหน้าคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเรากว่า 200,000 คนจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการจ้างงาน  3 circular economy  ภายในปี 2030 เราจะต้องมุ่งสู่ “zero food west” และมุ่งสู่ “Net zero” ในปี 2050”



 

ทั้งนี้ “โลตัส” ได้วางงบประมาณสำหรับการดำเนินการทั้งหมดราวๆ10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนเปลี่ยนแบรนด์จาก เทสโก้ โลตัส เป็น โลตัส การปรับปรุงร้านสาขาที่มีทั่วประเทศ และลงทุนด้านช่องทางจำหน่ายออนไลน์ นอกจากนี้ยังได้วางงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท เพื่อ จัดแคมเปญเฉลิมฉลองโอกาสโลตัสครบรอบ 28 ปี  โดยนำสินค้า 28 รายการที่ลดราคาแรงสูงสุด 40% และร่วมมือกับ 28 แบรนด์ดัง มอบคูปองส่วนลดพร้อมส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำเมื่อสั่งซื้อออนไลน์ ขณะที่โปรแกรมมายโลตัสจัดแคมเปญพิเศษแลกสุดคุ้ม 1 โลตัสคอยน์ เท่ากับ 28 บาท นอกจากนั้นยังมีรางวัลกว่า 3,000 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 7 ล้านบาททุกสัปดาห์