svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

ACT จี้"บิ๊กตู่"ตรวจสอบผลประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม ปมส่วนต่าง6.8หมื่นล้าน

22 ตุลาคม 2565

ACT  องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ จัดเวทีสาธารณะปม "กรณี 6.8 หมื่นล้าน ในการประมูล รถไฟสายสีส้ม" ผลประโยชน์..หรือค่าโง่! ที่รัฐฯ ต้องมีคำตอบ หลังได้ตัวเอกชนประมูลรอบสอง

 

การเปิดเวทีสาธารณะ "กรณี 6.8 หมื่นล้าน ในการประมูล รถไฟสายสีส้ม" ผลประโยชน์..หรือค่าโง่!ที่รัฐฯ ต้องมีคำตอบ" จัดขึ้นโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT)เมื่อวันที่ 21ตุลาคม2565ที่ผ่านมา

 

ที่พูดถึงกันมากคือปมการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ได้ผู้ชนะการประมูล และขอรับการสนับสนุนค่าก่อสร้างวงเงิน78,287 ล้านบาท

 

ขณะ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC เปิดซองราคาที่ยื่นไว้ตั้งแต่การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รอบแรกปี 2563 ขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเพียง 9,676 ล้านบาท น้อยกว่าผู้ชนะประมูล6.8 หมื่นล้านบาท 

 

 

จากข้อสังเกต ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)หรือACT  ระบุ ว่าปมการประมูลสายสีส้มรอบแรกไม่มีผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม ได้เข้าไปในการประมูลครั้งที่สองที่พบว่านำทีโออาร์เก่ามาปรับปรุง เพราะฉะนั้นผู้สังเกตการณ์ที่เข้าไปจึงแสดงความคิดเห็นได้น้อยเกี่ยวกับข้อตกลงคุณธรรม

 

 

จี้บิ๊กตู่สอบผลประมูลสายสีส้ม

 

ที่สำคัญเมื่อเข้าไปทำงานมีบางครั้งที่ไม่ได้รับแจ้งให้เข้าร่วมประชุมทำให้ขาดข้อมูลที่จะใช้ประกอบ เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ดังนั้นการ บอกว่าโครงการนี้การดำเนินการทุกอย่างโปร่งใส เพราะมีข้อตกลงคุณธรรมแล้ว ดังนั้น ต้องมาพิสูจน์ร่วมกัน

 

อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า โปร่งใสหรือไม่โปร่งใส อย่างไร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบโดยผู้มีอำนาจ ให้ นายกรัฐมนตรีตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน มีความโปร่งใสหรือไม่

ทบทวนประมูลสายสีส้มใหม่ 

 

ขณะมุมสะท้อน ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ระบุว่าการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มเกิดจากปัญหาหลายปัจจัย จนเกิดการฟ้องร้อง

 

โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา หากรัฐบาลมองว่ายังดำเนินการต่อไปได้ก็ดำเนินการต่อไป ทีดีอาร์ไอมีข้อเสนอแนะรัฐบาลให้ทบทวนการประมูลใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งนี้ TDRIเสนอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม หากการประมูลในปัจจุบันไม่สามารถไปต่อได้ รวมถึงการประมูลในอนาคต

 

ข้อเสนอให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการประมูลโครงการ

 

  • แยก สัญญาระยะที่ 1 ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า และ สัญญาระยะที่ 2 งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุงออกจากกัน เพื่อให้เกิดเกิดการแข่งข้น

 

  • ส่วนการเดินรถ เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เข้ามาประมูลมากขึ้น อาจแยกสัญญาก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นส่วนต่างๆ เพื่อเพิ่มการแข่งขันให้มากขึ้น เหมือนของรถไฟฟ้าสายอื่น หรือ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก

 

  • ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาให้เหมาะต่อการกำหนดค่าโดยสารร่วมเพื่อให้สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมในนาคตได้
  • ควรปรับเปลี่ยนสัญญารถไฟฟ้าในแต่ละสายทางให้เป็นรูปแบบเดียวกันและมีความชัดเจนมากขึ้นโดยรัฐเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมด (รัฐบาลรับผิดชอบในส่วนต้นทุนคงที่ทั้งหมด)
  • เอกชนเป็นผู้วิ่งให้บริการในลักษณะการจ้างเดินรถเท่านั้นเป็นรูปแบบเดียวกันกับของสิงคโปร์ซึ่งสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ