เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

19 พ.ค. 2563 | 10:10 น.

“ประธานอนุฯม้าลาย” เร่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลายเพื่อเฝ้าระวังโรค (AHS) ในม้าลาย ขณะที่อธิบดีกรมปศุสัตว์ สั่งทำงานไม่หยุดเดินหน้าเร่งฉีดวัคซีนสยบโรค หวังให้จบภายในเดือน พ.ค.นี้  เผยสถานการณ์ดี ไม่มีม้าตายเพิ่ม

คณะอนุกรรมการด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) ในม้าลาย นำโดย รศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ ร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปภัมภ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร พร้อมด้วยทีมสัตวแพทย์สัตว์ป่า จาก สมาคมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดสัตว์  กรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์  และสวนสัตว์นครราชสีมาได้เข้าร่วมดำเนินการวางยาสลบม้าลายเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดสำหรับการสำรวจ เฝ้าระวัง โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS)

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย
โดยมีพื้นที่เป้าหมาย ในการดำเนินการในสัปดาห์นี้ ได้แก่ สวนสัตว์นครราชสีมา Bonanza Exotic Park จ.นครราชสีมา และ Safari Wildlife Park  จ.ปราจีนบุรี และจะดำเนินการต่อเนื่องไปทุกสัปดาห์ ในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่การระบาดของโรค สำหรับตัวอย่างเลือดม้าลายจะนำไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการนำไปวิเคราะห์ด้านระบาดวิทยาและการเฝ้าระวังโรค ทำให้ทราบสถานการณ์การระบาดของโรคซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากประเทศไทย นำไปสู่การขอคืนสถานภาพปลอดโรคจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ให้เร็วที่สุดต่อไป

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

ด้าน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า เป้าหมาย คือ ช่วยชีวิตม้าให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด ซึ่ง ระยะของโรคแอฟริกาในม้า มี 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะ "เกิดเหตุ" ซึ่งตอนนี้เราอยู่ในระยะนี้  2. ระยะ "เฝ้าระวังและป้องกันอุบัติซ้ำ" หากไม่มีการตาย ครบ 30 วัน โดยตอนนี้ทุกจังหวัดต้องมีการขึ้นทะเบียนม้า และ  3. ระยะ "ขอคืนสถานภาพการปลอดโรคจากโครงการสัตว์ระหว่างต่างประเทศ"  ยืนว่าจะสามารถขอคืนสถานภาพได้ คาดภายในเดือนนี้ โรคสงบแน่นอน

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

“วันนี้เชิญเกษตรกรผู้เลี้ยงม้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเข้าร่วมหารือเพื่อชี้แนะแนวทางการป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าพร้อมด้วยอาจารย์จากภาคมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคในม้า สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคในสัตว์ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

ปัจจุบันเกิดการแพร่ระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(Afican Horse Sickness) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อในตระกูล ม้า ลา ล่อ ม้าลาย ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคฯ สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส โดยทำให้ม้า ลา ล่อ ม้าลาย มักแสดงอาการมีไข้สูง มีอาการเกี่ยวกับระบบทางหายใจ แล้วตายโดยฉับพลัน นั้น

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

"กรมปศุสัตว์" ได้บูรณาการทำงานกับทุกหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านโรคระบาดสัตว์ อาทิผู้แทนจากองค์การสวนสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย สมาคมม้าแห่งประเทศไทย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังโรคในม้าจากปัจจุบันเกิดการแพร่ระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมโรคได้จากการรายงานผลล่าสุดยังไม่พบม้าป่วยตายเพิ่มแต่อย่างใด 

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อควบคุมการระบาด ประกอบด้วย การกำหนดพื้นที่เผชิญเหตุโรคระบาด การประชาสัมพันธ์และเตือนภัย การเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ การลดแมลงดูดเลือดและป้องกันแมลงดูดเลือดในสัตว์กลุ่มเสี่ยง การควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ และการฉีดวัคซีน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะทำการฉีดวัคซีนในม้า ลา ล่อ ในพื้นที่เกิดโรค คือ รัศมี 20 กม.รอบฟาร์มที่มีโรคระบาดและพื้นที่ป้องกันโรค คือ พื้นที่รัศมีระหว่าง 20 - 50 กิโลเมตร รอบฟาร์มที่มีโรคระบาด ซึ่งมีขั้นตอนทำความเข้าใจกับเจ้าของม้าในประเด็นดังนี้ เหตุผลที่ต้องฉีดวัคซีน การปฏิบัติกับม้าที่ฉีดวัคซีนและผลกระทบภายหลังฉีดวัคซีน

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

รวมทั้งอาจมีการสูญเสียม้าจากผลข้างเคียงของการใช้วัคซีน การนำม้าเข้ามุ้งเพื่อป้องกันแมลงกัดก่อนเก็บเลือดอย่างน้อย 3 วัน และภายหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 30 วัน ขึ้นทะเบียนม้าทุกตัวโดยการติดไมโครชิพและลงข้อมูลในระบบการทำเครื่องหมายสัตว์และขึ้นทะเบียนสัตว์แห่งชาติ (NID) เมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของแล้ว ต้องตรวจสุขภาพสัตว์ เช่น วัดอุณหภูมิสัตว์ หากมีไข้จะไม่ให้ฉีดวัคซีน และกักแยกสัตว์ในมุ้งเพื่อดูอาการ เก็บตัวอย่างเลือดม้าส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูการติดเชื้อและตรวจระดับภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่สัตว์ติดเชื้อจะให้แยกสัตว์ออกจากฝูง และป้องกันแมลงดูดเลือดเพื่อลดการแพร่จะจายของโรค

เฝ้าระวัง “กาฬโรคม้า” สั่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลาย

ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้ากรมปศุสัตว์จะดำเนินงานอย่างโปร่งใส รวมทั้งคลี่คลายสถานการณ์ในระยะเวลาให้สั้นที่สุด ควบคุมสถานการณ์และจำกัดการเกิดโรคให้อยู่ในพื้นที่ ลดการสูญเสียและผลกระทบ ลดจำนวนม้าตายให้น้อยที่สุด และขอความร่วมมือ ผู้เลี้ยงม้าหากพบการเจ็บป่วยหรือตาย แจ้งสายด่วนกรมปศุสัตว์ทันทีที่ 063-225-6888