โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

28 ธ.ค. 2562 | 10:55 น.

ข่าวเศรษฐกิจ อัพเดทข่าววันนี้ ราคาทอง น้ำมัน ข่าวตลาดหุ้น การเงิน ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ การตลาด เจาะลึกแบบตรงประเด็น | ฐานเศรษฐกิจ

โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2560-2564 (1 ล้านไร่) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะมีเงินอุดหนุนเพื่อชดเชยรายได้  ปีที่ 1 เมื่อผ่านการประเมินจากกรมการข้าวตามหลักเกณฑ์ ได้รับการสนับสนุนเงิน 2,000 บาท ต่อไร่ ไม่เกิน 15 ไร่/ราย ไม่เกิน 30,000 บาท/ราย

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

ปีที่ 2 เมื่อผ่านการตรวจรับรองระบบกลุ่มตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ได้การรับรองเป็น‘ระยะปรับเปลี่ยน’ได้รับการสนับสนุนเงิน 3,000 บาท/ไร่ ไม่เกิน 45,000 บาท/ราย ปีที่ 3 เมื่อผ่านการตรวจรับรองระบบกลุ่มตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ได้การรับรอง ‘มาตรฐานOrganic Thailand’ ได้รับการสนับสนุนเงิน 4,000 บาท/ไร่ ไม่เกิน 60,000 บาท/ราย ความคืบหน้าเป็นอย่างไรบ้าง

      โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว                                                                                

นายณรงค์ คงมาก คณะทำงานบูรณาการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ฝากผลงานหนึ่งไว้ให้เกษตรกรชาวนา ผู้บริโภคคนไทยและผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทั้งในและตลาดส่งออก คือโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2560–2564 ด้วยกรอบวงเงินที่อนุมัติไป ประมาณ 9,696 ล้านบาทและได้ใช้ไปสะสมจนถึงปี 2562 ในวงเงิน 1,154 ล้านบาท มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 50,956 ราย พื้นที่ที่ได้รับเงินอุดหนุนทั้ง 3 ระยะ คือ T1 ( ระยะปรับเปลี่ยนปีที่1 ได้รับเงินอุดหนุนไร่ละ 2,000 บาท )T2 ( ระยะปรับเปลี่ยนปีที่ 2ได้รับเงินอุดหนุน 3,000 บาท )  T3 (ระยะปรับเปลี่ยนปีที่3 หรือระยะอินทรีย์ได้รับเงินอุดหนุน 4,000 บาท ) รวม 485,123 ไร่

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

ที่ประชุมคณะทำงานการบูรณาการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 1 ณ กรมการข้าว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562  ผู้บริหารกรมการข้าว รายงานผลการดำเนินงานด้านการตลาดที่น่าสนใจและน่าตกใจ กล่าวคือผลผลิตจากโครงการในปีการผลิต 2560/61 ประมาณการผลผลิตที่จะขาย  4,171 ตัน  มีผลผลิตที่รับซื้อจริงจากการบริหารของโครงการ 703.83 ตัน คิดเป็น 16.78 %  ปีการผลิต 2561/62 ประมาณการผลผลิตที่จะขาย 25,947 ตัน  มีผลผลิตที่รับซื้อจริงจากการบริหารของโครงการ 3,212 ตัน คิดเป็น12.38 % และในปีการผลิต2562/63 ประมาณการผลผลิตที่จะขาย 13,431 ตัน 

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

“มีคำถามที่น่าสนใจว่าผลผลิตข้าวอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยนที่เหลือหายไปไหน? ขายให้ใคร? คำตอบที่ได้ คือ “ชาวนาสมาชิกโครงการขายให้ตลาดข้าวเปลือก (จากเกษตรเคมี ) ทั่วไป นั่นคือ ข้าวอินทรีย์จากโครงการไปผสมกับข้าวเคมีทั่วไป"

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

นายณรงค์ กล่าวว่า แม้ว่าผลประโยชน์ที่ได้จากโครงการชัดๆ  คือ ชาวนากว่า 50,000 ราย มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ จากการเลิกใช้สารเคมีหันมาใช้สารอินทรีย์  แต่หากมองในมุมของนักธุรกิจ และผู้บริโภค ที่ต้องการผลผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ แต่ไม่ได้ เพราะข้าวจากโครงการกว่าร้อยละ 85 ไปผสมกับข้าวเคมี   เป้าประสงค์ของโครงการก็ไม่บรรลุเป้าหมาย  เป้าหมายของรัฐบาลที่ริเริ่มด้วยวงเงินเกือบ 10,000 ล้านบาท ก็อาจล้มเหลว และที่สำคัญที่สุด ความหวังของการขับเคลื่อนวาระเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย ก็อาจไม่ถึงฝั่ง  ด้วยเหตุที่ไม่สามารถบริหารจัดการตลาดข้าวอินทรีย์ในโครงการนี้ได้  จะส่งผลกระทบต่อนโยบายเกษตรอินทรีย์ของรัฐบาลในยุคสมัยนี้ด้วย ( นายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน )

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

“ผมอยู่ในฐานะหนึ่งในคณะทำงานบูรณาการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์  จึงมีข้อเสนอให้ใช้กรอบการบริหารการตลาดของโครงการด้วย “โมเดลธุรกิจ CANVAS” 9 ขั้นตอน ผนวกกับระบบตลาดดิจิตอล  มาบริหารโครงการนี้  “ที่ได้สร้างผลผลิตข้าวอินทรีย์อย่าง “ก้าวกระโดด” อย่างที่ท่านรองอธิบดีกรมการข้าว นายขจร  เราประเสริฐ กล่าว  แต่การบริหารการตลาด “ไม่ได้ก้าวกระโดดตาม”

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

 สำหรับ 9 ขั้นตอนที่โครงการต้องทำตามโมเดลธุรกิจ CANVAS ( คมความคิดจากที่ประชุม 17 ธันวาคม 2562 และกรอบความคิด D-CORA และ KSNB&C-BMC  ) อาทิ ขั้นตอนที่ 1 : สร้างสินค้าที่โดดเด่น ผลผลิตจากองค์กรชาวนาโดยตรง เป็นที่ต้องการของตลาด  โครงการนี้อาจมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์ ที่ผลิตด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ  แต่ยังไม่หลากหลายมากพอ ที่ตรงกับแนวโน้มการตลาดข้าวที่เปลี่ยนไป  พื้นที่นา 1 ล้านไร่ในทุกจังหวัด คณะทำงานจากองค์กรพัฒนาเอกชน เสนอให้โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น  ข้าวพื้นเมือง ข้าวที่คุณค่าทางโภชนาการพิเศษ  ข้าวที่เป็นยา  อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ มีผลผลิตของข้าวจาก”เกษตรอินทรีย์ ผลผลิตเพื่อสุขภาพ”เป็นจุดขายที่ชัดเจน

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

“ที่ประชุมเสนอให้พัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มชาวนาในโครงการ ให้เข้าร่วมและทำนาอินทรีย์ ด้วย “ใจ” ไม่ใช่ “แรงจูงใจ” ด้วยงบอุดหนุน ไร่ละ 2,000 บาท   3,000  บาท และ 4,000 บาท และเพิ่มทักษะการทำธุรกิจให้กับกลุ่มสมาชิกโครงการ ที่มีอยู่ประมาณ 3,000  กลุ่ม ให้เข้มแข็งด้วยหลักสูตร การทำแผนธุรกิจชุมชน

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

ขั้นตอนที่ 2  หาลูกค้าที่ชัดเจน แน่นอน ตกลงทั้งคุณภาพและราคาในการส่งมอบ ก่อนชาวนาลงมือปลูกข้าวแต่ละฤดูกาล  จากรายงานในที่ประชุม โครงการสามารถจับคู่ กับผู้ซื้อที่ชัดเจน (จากการทำ Business Matching  ตลาดข้าวเปลือก ปีละ 1 ครั้ง ) ได้เพียงร้อยละ 12- 16 ของปริมาณข้าวที่เป็นผลผลิตของโครงการเท่านั้น ผลผลิตที่เหลือกว่าร้อยละ 85 ยังหา “ตลาดข้าวเปลือกอินทรีย์ไม่ได้” ฝ่ายบริหารของกรมการข้าว ได้เสนอแนวทางการบริหารตลาด (ข้าวสาร) ผ่านตลาดประชารัฐ 9 กลุ่มตลาด ที่มีกระทรวงมหาดไทยเป็นแม่งาน 

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

ผนวกกับตลาดประชารัฐของหน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งเป็นตลาด “ข้าวสาร”  ( ชาวนาต้องแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ) และเป็นตลาดแบบขายปลีก ต้องมีฝ่ายขายที่สัญจรไปขายตามตลาดที่หน่วยงานราชการจัดขึ้น  ลูกค้าในตลาดแบบนี้ ยังไม่ชัดเจน หวังเป้าหมายการขายได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ต้นทุนการขาย การขนส่งสูง คุณภาพข้าวสารจากการแปรรูปของกลุ่มชาวนาด้วยโรงสีขนาดเล็กอาจมีปัญหาคุณภาพ  และราคาขายค่อนข้างสูง เพราะค่าบริหารจัดการสูง  รวมทั้งตลาดของผู้ประกอบการ อาทิ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคาร สมาคมผู้ค้าปลีกไทย  และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน  ( แต่ยังไม่มียอดขายและเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน )

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

ที่ประชุมเสนอให้เพิ่ม ตลาดที่เป็นองค์กรของรัฐ ในกลุ่ม “โรง”  ได้แก่ โรงอาหาร โรงเลี้ยง ในโรงเรียน สถาบันการศึกษาขนาดใหญ่  ค่ายทหาร  เรือนจำ  โรงพยาบาล ( กระทรวงสาธารณสุข  กำลังรณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัย)ซึ่งอาจประสบปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และคู่ค้าเดิมขององค์กรเหล่านี้ รัฐต้องออกแบบปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อตามระเบียบราชการ ให้เอื้อต่อการซื้อข้าวสารตรงจากกลุ่มชาวนาในโครงการที่ผลิตข้าวอินทรีย์   

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

ขณะที่ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย เสนอให้ศึกษาระบบงบประมาณที่เป็นเงินสะสม เงินค้างจ่าย ของภาครัฐมาใช้สนับสนุนเงินหมุนเวียนในการซื้อข้าว ค้าข้าวจากกลุ่มชาวนา แต่ต้องระบบตลาดที่ชัดเจนรองรับ  อย่างที่บริษัทประชารัฐจังหวัด (สามัคคี) ดำเนินการอยู่อย่างได้ผลในบางจังหวัดขายหมดก่อนปลูกให้กับตลาดประชารัฐ ตลาดองค์กร ด้วยราคาที่เป็นธรรม เพื่อสุขภาพของบุคคลากรรัฐ คนป่วย เด็ก และเยาวชน หรือตลาดแบบเจรจาตกลงล่วงหน้า โดยกลุ่มชาวนาส่งมอบข้าวได้ตามราคาและข้อตกลง

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

ขั้นตอนที่ 3 : การสื่อสารทางการตลาด เครื่องมือดิจิตอลเพื่อการขาย ให้ “สินค้าที่โดดเด่น พบ กับคู่ค้าที่ชัดเจนแน่นอน ด้วยรูปแบบ OMO –Offline Merge Online ”  ในยุค4.0 โลกของโซเชียลมีเดีย  และตลาดดิจิตอล  เข้ามาแทรก ( Disruption ) ในทุกวงการ และเป็นยุคของ “ทุกสรรพสิ่งเกี่ยวข้องกับอินเตอร์เนท” ( Internet of things )  “ผู้เขียน” เสนอให้โครงการฝึกอบรมให้กลุ่มชาวนา ด้วยหลักสูตร “ชาวนามืออาชีพ” ที่สามารถใช้แพลทฟอร์มการสื่อสารและการขายออนไลน์แบบฟรี ที่มีมากกว่า 30  แพลทฟอร์ม เข้ามาประยุกต์ใช้ในโครงการนี้

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

อาทิ Line OpenChat  แอพพลิเคชั่นการประมูลออนไลน์ของ CAT และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และเว็ปไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงต่างๆ  ให้คนที่ใช้ Smart Phone  เข้าถึงสินค้า “เกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ ของโครงการ” สร้างโซเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือสื่อสารของโครงการโดยตรง มีฝ่ายการตลาด “ชาวนามืออาชีพ” ของกลุ่มชาวนา สมาชิกโครงการ บริหารแอพฯ มีผู้บริโภคตามแนวทาง CSA  ( Community Support Agriculture )  เข้าถึงแอพฯ ของโครงการ ที่มีความน่าเชื่อถือ สื่อสารกับผู้บริโภค  ผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ สินค้าเพื่อสุขภาพ ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง สามารถเจรจา “จับคู่ธุรกิจได้ทุกวินาที ไม่ใช่ปีละ 1 ครั้ง “

โครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ส่อล้มเหลว

ระบบตลาดออนไลน์ ของโครงการ  “ข้าราชการ”ในกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ต้องทำให้ได้ ( เพราะมีเงินเดือนตอบแทนทุกเดือน มั่นคง ) โดยรัฐต้องกำหนดให้ข้าราชการสายพันธุ์ใหม่ มี KPI มีโอกาสเติบโตทางสายงาน เมื่อมารับผิดชอบโครงการตลาด OMO นี้ “ไม่ใช่งานฝากของฝ่ายการเมือง  ที่เป็นภาระของฝ่ายราชการ เสมือนนักมวยชกโดนแต่ไม่ได้แต้มคะแนน