ชงปลดล็อค ‘กัญชง’พืชเศรษฐกิจตัวใหม่รับตลาด 2.7 หมื่นล้าน

14 ส.ค. 2562 | 12:15 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

อนุฯ กรรมาธิการฯผัก ผล ไม้ และสมุนไพร ดึง กัญชง ถกประเด็นเข้ม เล็งโอกาสปั้นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ชง ปลดล็อคถอดจากยาเสพติด เผยสร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้กว่า 2.7 หมื่นล้าน ทั้งเพิ่มมูลค่าเพิ่มหลากลายผลิตภัณฑ์ ข้อดีเพียบอีกทั้งฤทธิ์ที่มีส่งผลระบบประสาทต่ำกว่ากัญชา หากส่งเสริมจริงจังจะทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

ชงปลดล็อค ‘กัญชง’พืชเศรษฐกิจตัวใหม่รับตลาด 2.7 หมื่นล้าน

วันที่ 14 ส.ค.62 น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน รองประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาเรื่องผัก ผลไม้ และสมุนไพร คนที่ 5 และโฆษกคณะอนุกรรมาธิการฯ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ พิจารณาศึกษาแนวทางแก้ปัญหาสมุนไพร เปิดเผยว่า ทางคณะอนุฯกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษาเรื่องกัญชงและกัญชา โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประเภท 5 มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ โดยมีคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยให้การพิจารณาอนุญาต

ชงปลดล็อค ‘กัญชง’พืชเศรษฐกิจตัวใหม่รับตลาด 2.7 หมื่นล้าน

“ในการพิจารณาวันนี้คณะอนุฯ ให้ความสนใจกัญชง เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ได้สูงมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 2.7 หมื่นล้านบาท โดยกัญชงมีสารออกฤทธิ์ทางยาที่มีค่าสาร THC ที่ส่งผลต่อระบบปราสาทต่ำกว่ากัญชา และมีค่าสาร CBD ซึ่งไม่ส่งผลต่อระบบปราสาทมากกว่ากัญชา สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น เส้นใย สิ่งทอ กระดาษ เครื่องสำอาง สารสกัด น้ำมันกัญชง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฯลฯ”

ชงปลดล็อค ‘กัญชง’พืชเศรษฐกิจตัวใหม่รับตลาด 2.7 หมื่นล้าน

น.ส.ญาณธิชา กล่าวว่า เห็นว่า อย.ควรมีการเร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรองให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่ ปลดล็อคกัญชงจากการเป็นยาเสพติดและให้ภาคเอกชนสามารถเข้าดำเนินการได้โดยเร็ว การพัฒนาสายพันธุ์และเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดกัญชงควรมีการกำหนดคุณสมบัติและส่วนประกอบของสารสกัดให้ชัดเจน ควรให้สนับสนุนการศึกษาวิจัยสารสกัดกัญชง-กัญชาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาและลดความซ้ำซ้อนในการทำงานจะทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการขอใบอนุญาตลงได้ ทั้งนี้หากรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างจริงจังจะก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับเกษตรกรและประชาชน