แล้งทุบพ่อค้าข้าวถุงตื่นดันข้าวหอมปทุมราคาพุ่ง

25 ก.ค. 2562 | 09:25 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ชาวนาอีสานผวาแล้ง เมิน ธ.ก.ส.กระทุ้งขายออกยังกอดสต็อกจำนำยุ้งฉางแน่น  2 แสนตัน นายกฯโรงสีเผยดันราคาข้าวหอมปทุมพุ่ง พ่วงหอมพวงจี้ตามติด เหตุพ่อค้าข้าวถุงตื่น หวั่นไม่มีข้าวขายกว้านซื้อตุนเก็บ

แล้งทุบพ่อค้าข้าวถุงตื่นดันข้าวหอมปทุมราคาพุ่ง

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในช่วงภัยแล้งเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ หรือชาวนาภาคอีสานจะไม่ขายออก เป็นธรรมชาติ เพราะหากขายออกไปจะไม่มีรับประทาน แต่ถ้าฝนตก ชาวนาจะขาย เพราะจะได้มีเงินไปซื้อปุ๋ย เพื่อที่จะทำนาต่อ ซึ่งช่วงนี้อาจจะเป็นสุญญากาศในระยะสั้นๆ แต่ถ้าฝนไม่ตก แล้วแล้งจริงๆ ชาวนาก็เก็บ

แล้งทุบพ่อค้าข้าวถุงตื่นดันข้าวหอมปทุมราคาพุ่ง

“ตอนนี้ข้าวหอมปทุมขายดีมาก ผู้ประกอบการข้าวถุงไล่ซื้อทีละหมื่น-2 หมื่นลูก เพราะกลัวไม่มีข้าวบรรจุถุง เพราะไปหาซื้อข้าวหอมมะลิก็ไม่ได้ ชาวนายังกอดสต็อกแน่น 2 แสนตัน ในโครงการจำนำยุ้งฉาง จึงหันมาซื้อข้าวเปลือกหอมปทุมธานีความชื้นสด 27-28% จากราคา 7,800-7,900 บาท ปรับขึ้นเป็น 8,500-8,600 บาท เช่นเดียวกับราคาข้าวสารก็ปรับขึ้นจาก 17,000 บาทต่อตัน ปรับขึ้นเป็น 19,500 บาท/ตัน และข้าวหอมพวงไล่บี้ราคาอัพขึ้นมาจี้ราคาข้าวสารก็ปรับขึ้นจาก 15,000 บาทต่อตันปรับขึ้นเป็นราคา 17,000 บาทตัน ”

แล้งทุบพ่อค้าข้าวถุงตื่นดันข้าวหอมปทุมราคาพุ่ง

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ข้าวหอมปทุมธานีเก็บไว้ 3 เดือนหุงอร่อย ก็มีความหอมระดับหนึ่งราคาก็ถูกกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วถ้าแล้งจัดข้าวหอมปทุม แทรกไปเรื่อยๆ ผู้บริโภคจะรับประทานจนชินแล้วพอใจทั้งราคาเพราะตลาดส่งออกราคาขายแค่ 600-650 ดอลลาร์สหรัฐ  ตลาดอาจจะเปลี่ยนไปทดแทนกันได้สำหรับผู้ที่ไม่มีกำลังซื้อ อย่างไรก็ตามตลาดบริโภคภายในแรงซื้อไม่ต่อเนื่อง เพราะถ้าไม่มีผู้ส่งออกเป็นแรงส่งไม่ไป ไปแค่ระยะสั้นๆ อาจจะเป็นความตื่นตระหนกในระยะสั้นๆ

แล้งทุบพ่อค้าข้าวถุงตื่นดันข้าวหอมปทุมราคาพุ่ง

“ช่วงเช้าสมาชิกโรงสีรายงานจากพื้นที่เข้ามาเป็นภาพถ่ายและวิดีโอในเขตอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ว่ามีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งทั้งสองอำเภอนี้อยู่ในเขตทุ่งกุลาฯ ซึ่งเป็นผลดีกับข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสฟื้นกลับมาขอเป็นกำลังใจ แต่ยังเร็วไปที่จะประเมินผลผลิตความเสียหายจากภัยแล้งและที่สำคัญหน่วยงานภาครัฐ พยายามอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ที่มีปัญหาก็ขอเป็นกำลังใจให้กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย"