"2 โครงการ" แทรกแซง "ปาล์ม-มะพร้าว" ส่อเสร็จ "ไอ้โม่ง"

28 ม.ค. 2562 | 04:38 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

แกะรอย 2 โครงการ แทรกแซงสินค้าเกษตร ทิ้งโค้งสุดท้ายรัฐบาล พบพิรุธเพียบ "นํ้ามันปาล์ม" ล็อกสเปก มีวาระซ่อนเร้น เอื้อ "กลุ่มทุนการเมือง" แปลงร่างเป็นออร์แกไนซ์จัดสรรขายนํ้ามันให้ กฟผ. 1.6 แสนตัน "มะพร้าว" เอื้อล้ง-ลานเท หวั่นใช้เงินผิดวัตถุประสงค์

palm-1464654_1920


2 โครงการ แทรกแซงดันราคาสินค้าเกษตร
ได้แก่ "โครงการจำหน่ายนํ้ามันปาล์มดิบให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)" ตามมาตรการปรับสมดุลนํ้ามันปาล์มในประเทศ วงเงิน 2,880 ล้านบาท จำนวน 1.6 แสนตัน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีเป้าหมายรับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกร ผลปาล์มนํ้ามัน 18% ราคาผลปาล์ม 3.20 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) คำนวณเป็นนํ้ามันสกัดราคา 18 บาทต่อกิโลกรัม และ "โครงการรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง ปี 2562" จำนวน 5,000 ตัน (25 ล้านลูก) งบประมาณ 33.48 ล้านบาท ในช่วงโค้งสุดท้ายของรัฐบาล ส่อผลประโยชน์จะตกไม่ถึงมือเกษตรกร คำถาม คือ ทำไม? รัฐบาลไฟเขียว




coconut-648105_1920

แหล่งข่าวกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2561 ที่ผ่านมา กรมการค้าภายใน (คน.) ได้เรียกพาณิชย์ 6 จังหวัด ประกอบด้วย พาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง และชลบุรี เพื่อชี้แจงเรื่องร่างสัญญาซื้อขายนํ้ามันปาล์มดิบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน ซึ่งในรายละเอียดมีความไม่ชอบมาพากลและสัญญามีวาระซ่อนเร้นเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้สมัคร ว่า ต้องเป็นผู้ที่มีสต๊อกนํ้ามันปาล์มดิบขั้นตํ่าไม่น้อยกว่า 50% ของปริมาณที่เสนอจำหน่าย มีความสามารถในการขนส่ง เก็บรักษา และส่งมอบ


TP13-3439-A

"สาเหตุสัญญาออกมาในลักษณะแบบนี้ เพราะ กฟผ. ไม่มีคลังสำรองนํ้ามันเอง แต่ต้องการความต่อเนื่องของวัตถุดิบต้องแน่นอน การจัดซื้อจัดจ้างจะเห็นว่า มีช่องโหว่ คือ การขนส่งทางเรือจะมีไอ้โม่งมาหาผลประโยชน์จากช่องว่างตรงนี้ เพื่อบริหารจัดการ หรือเรียกว่า "ออร์แกไนซ์" ให้ทั้งหมด หลักการก็คือ ส่งนํ้ามันปลาล์มดิบ หรือ 'ซีพีโอ' ไปก่อน แล้ว กฟผ. จะให้เงินมา 85% ส่วนอีก 15% จะต้องนำหลักฐานของเกษตรกรมา ว่า ซื้อผลปาล์มจากเกษตรกร 3.20 บาทต่อกิโลกรัม แต่ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรด้วย"

ขณะที่ การนำนํ้ามันปาล์มดิบไปปั่นกระแสไฟฟ้า 1.6 แสนตัน จะเกิดจิตวิทยาตลาดทันที ซึ่ง กฟผ. ใช้ซีพีโอวันละ 40 ตันเท่านั้น จากจำนวน 1.6 แสนตัน เมื่อคำนวณแล้วจะใช้ประมาณ 4,000 วัน หรือคิดเป็น 10 ปี 9 เดือน เพราะต้องผสมกับก๊าซหุงต้มจะได้ความคุ้มค่ามากกว่า จะเห็นว่าเกิดช่องโหว่ ทำให้มีอาชีพใหม่เกิดขึ้น เรียกว่าเป็น "ออร์แกไนซ์" ในการจัดสรรขายนํ้ามันปาล์มดิบให้ กฟผ.


mark-516277_1920

ซึ่งจะต่างจากโครงการแทรกแซงที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) เคยดำเนินการ ที่ อคส. จะรับซื้อนํ้ามันปาล์มดิบและจะเช่าแท็งก์กลางเก็บไว้ แล้วจัดสรรนํ้ามันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ. ปัญหา คือ ของหลวงให้ซื้อราคาสูง เกษตรกรจะต้องได้ราคาสูงด้วย แต่ปัญหานี้จะสะท้อนให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างไร ส่วนการตรวจสอบเอกสารหลักฐานง่ายมาก แต่ถ้ามีปัญหาใน 2 โครงการ "แพะ" ก็คือ ข้าราชการ ที่มักถูกโยนความผิดให้ เช่น ไม่รอบคอบ บกพร่อง และไม่ใช้สามัญสำนึกความรับผิดชอบ เป็นต้น


4D383ABC-32F8-4C31-91C7-FBA41816C354-503x377

ขณะที่ นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ประธานเครือข่ายผู้ปลูกมะพร้าวอินทรีย์และแกนนำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า โครงการรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้งปี 2562 ปริมาณ 5,000 ตัน เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรผลิตเป็นเนื้อมะพร้าวแห้งเพื่อขายให้โรงงานแปรรูปนั้น ปัจจุบัน ชาวสวนไม่มีมะพร้าวอยู่ในมือแล้ว ผู้ที่ขอโครงการนี้เป็นนักการเมืองที่ต้องการคะแนนเสียงเข้าไปในสภา ไม่แน่ใจว่าโครงการนี้จะยกระดับราคาได้อย่างไร อีกด้านหนึ่งชาวสวนที่มีเอกสารสิทธิ์ โรงงาน หรือ ล้ง คาดว่าจะให้ลูกละ 1 บาท เพื่อสวมสิทธิเข้าร่วมโครงการ


090861-1927-9-335x503-8-335x503-9-2-335x503
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,439 วันที่  27 - 30 มกราคม พ.ศ. 2562

595959859