แนวโน้มราคาทอง วันที่ 14 มีนาคม 2559

14 มี.ค. 2559 | 02:20 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กดดันให้ยูโรดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ซึ่งฉุดให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงตามในระหว่างช่วงที่อีซีบีประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.10% สู่ระดับ -0.4 % นอกจากนี้ อีซีบีมีมติเพิ่มวงเงินซื้อสินทรัพย์รายเดือนเป็น 8 หมื่นล้านยูโรจากเดิม 6 หมื่นล้านยูโร ทั้งนี้ สกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้นและเคลื่อนไหวอยู่ใกล้จุดสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์และดันให้ราคาทองคำทะยานขึ้นตามเมื่อนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่าอีซีบีไม่คาดว่าอีซีบีจะมีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ประเด็นดังกล่าวทำให้นักลงทุนก็มุ่งความสนใจไปยังการประชุม กำหนดนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ในวันที่ 14-15 มีนาคมนี้ โดยเป็นที่คาดกันว่าบีโอเจอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีก หลังจากที่เพิ่งประกาศใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนมกราคม ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงอาจจะสนับสนุนความเชื่อที่ว่าธนาคารกลางต่างๆ อาจดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนให้อ่อนค่าลงจนอาจนำไปสู่สงครามค่าเงิน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐแสดงถึงความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการจ้างงานในสหรัฐเพิ่มขึ้น 242,000 ตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับที่สูงเกินคาดเป็นอย่างมาก สอดคล้องกับปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐปรับขึ้นในเดือนมกราคมซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 เดือนทำให้นักลงทุนในตลาดทองคำกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะจางหายไป ประกอบกับทางการจีนพยายามปรับสมดุลเศรษฐกิจในประเทศอย่างต่อเนื่อง และทิศทางราคาราคาน้ำมันที่ระดับต่ำเริ่มคลี่คลาย ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้นักติดตามการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 15-16 มีนาคมนี้อย่างใกล้ชิด แม้เชื่อว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมที่ระดับ 0.25-0.50 % ต่อไปในการประชุมครั้งนี้ แต่เฟดอาจยืนยันว่ามีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และ เฟดมีแนวโน้มที่จะระบุในรายงานคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2016

กลยุทธ์การลงทุน  วายแอลจี แนะนำรอจังหวะเข้าซื้อโดยสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้อาจเข้าซื้อเมื่อราคาย่อตัวลงมาบริเวณ 1,157 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อยแนะนำให้รอดูบริเวณโซนแนวรับ 1,150-1,148 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และรอขายทำกำไรบางส่วนบริเวณแนวต้านแรกที่ 1,292 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนที่เหลือให้รอไปปิดสถานะทำกำไรบริเวณแนวต้านถัดไปที่ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และควรตั้งจุดตัดขาดทุนหากราคาไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน ซึ่งหากนักลงทุนไม่มีวินัยในการลงทุนที่จะตัดขาดทุน จะทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่อาจควบคุมได้อีกต่อไป

ทองคำแท่ง (96.50%)

แนวรับ            1,257 (20,890บาท)        1,248 (20,740บาท)           1,239 (20,590บาท)

แนวต้าน          1,292 (21,490บาท)        1,300 (21,610บาท)           1,309 (21,760บาท)

ที่มา :บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด