ซีไอเอ็มบีไทยมองจีดีพีปีหน้าโต 3.7% ชี้มีวามเสี่ยงมากขึ้นหลังสิ้นปีนี้แตะ4%

11 ธ.ค. 2561 | 11:01 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ซีไอเอ็มบีไทยชี้3ป้จจัยท้าทายปีหน้า-คาดจีดีพีโต3.7%เตือนเศรษฐกิจโลกและตลาดเงินผันผวนจากดอกเบี้ยขาขึ้น-มาตรการกีดกันการค้าเร่งตัว-นักลงทุนจับตารัฐบาลเสียงข้างน้อยแนะประชาชนผู้เสียภาษีควรมีส่วนกำหนดนโยบายพรรคการเมือง

[caption id="attachment_359952" align="aligncenter" width="503"] นายอมรเทพ จาวะลา นายอมรเทพ จาวะลา[/caption]

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้บริหารสำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบีไทยประเมินแนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ขยายตัว 3.7%สาเหตุหลักมาจากทั้ง ปัจจัยต่างประเทศและในประเทศ ประกอบกับมีความเสี่ยงมากขึ้นจึงเป็นปีที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการเติบโตของ GDP ได้ยากเพราะขาดพระเอกที่เป็นความหวังในการเร่งเศรษฐกิจของไทย
หากพิจารณาจากการบริโภคภาคเอกชนซึ่งปีนี้มีการเติบโตที่โดดเด่นมาจากปัจจัยชั่วคราวจากการซื้อรถยนต์ซึ่งมีสัดส่วนการบริโภครถยนต์อยู่ที่ 5% และเติบโตเกือบ 20% จากปีก่อนคาดว่าจะสูงสุดไตรมาสแรกของปีหน้า ส่วนความหวังจะพึ่งการบริโภคตัวอื่นเพื่อทดแทนนั้นเช่นภาคการท่องเที่ยว ก็จะเห็น การฟื้นฟูต้นปีหน้าขณะที่บริโภคกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่างยังมีกำลังซื้อจำกัด ขณะที่ การลงทุนภาคเอกชน เริ่มมีความหวังหลังเห็นสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นจากการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนแรงงานขาดแคลนแต่การลงทุนภาครัฐที่มีความผันผวนโดยเฉพาะภาคก่อสร้างภาครัฐที่ล่าช้าหรือหากโครงการภาครัฐถูกเลื่อนออกไปอาจกระทบความเชื่อมั่นภาคเอกชนในปีหน้าซึ่งการบริโภคภาครัฐที่ผ่านมาเติบโตเพียง 2% จาก ที่มีสัดส่วน 17-187%ของ จีดีพี ดังนั้นจึงมองการบริโภคภาครัฐทำได้เพียงแค่ประคองแต่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านต่างประเทศที่อาจมีผลต่อภาคการส่งออกของไทยโดยมองส่งออกยังเติบโตได้3-4 %จากเศรษฐกิจโลกที่ยังเติบโตและอาจชะลอไปบ้างจากปัญหาสงครามการค้าและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทั้งนี้ไตรมาส3ที่ผ่านมาจีดีพีขยายตัว 3.3% โดย ทั้งปีนี้น่าจะเติบโตได้ที่ระดับ4.0%

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่างประเทศยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะสงครามทางการค้าที่ยังดำเนินต่อไป. ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าในอีก 7 ปีข้างหน้าหรือในปี 2568 เศรษฐกิจจีนจะมีขนาดใหญ่เป็นที่ ซึ่งเป็นสาเหตุ ให้สหรัฐพยายามกดดันและขัดขวางไม่ให้จีน สามารถเติบโต โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและการจำกัดการส่งออกของจีนเพราะสหรัฐไม่ต้องการเป็นเบอร์2

สำหรับปัจจัย เสี่ยงและความท้าทาย ที่ต้องติดตามนั้น ได้แก่สงครามทางการค้าที่ยังคงเดินหน้าต่อ และรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง จะยังปฏิรูปเศรษฐกิจภายในต่อเนื่อง

" ระหว่างนี้ต้องติดตามดูนโยบายพรรคการเมือง ว่าจะออกมาในรูปแบบของการปฏิรูปในระยะยาวหรือเพื่อหาเสียงระยะสั้น และประชาชนผู้เสียภาษีควรจะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายอย่างไร"นายอมรเทพ กล่าว 090861-1927-9-335x503-335x503-2-335x503