กทม.ล็อก136ถนนใหม่ ผังเมืองใหม่เว้นเขตทางห้ามสร้างอาคารลํ้าเด็ดขาด

29 ก.ย. 2561 | 08:28 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ผังกทม.ใหม่ ล็อก 136 ถนน 100 สายย่อยเชื่อมฟีดเดอร์สถานีรถไฟฟ้าสายใหม่บูมการพัฒนา เตือนดีเวลอปเปอร์-คนกรุงห้ามสร้างอาคารทับเขตทางไม่เช่นนั้นถือว่า ขัดกฎหมาย

เพื่อเป็นการลดผลกระทบเวนคืน กฎกระทรวงผังเมืองรวม กรุงเทพ มหานครฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 จึงยังคงกำหนดแนวเขตทางของถนนสายใหม่ล็อกลงในผังโครงข่ายสงวนสิทธิ์ห้ามสร้างอาคารทับบนเขตทาง แม้ ถนนเหล่านั้นจะยังไม่มีแผนก่อสร้างก็ตาม

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าบริษัทที่ปรึกษายังคง กำหนดโครงข่ายของถนนตามผังเมือง 136 สายลดภาระการเวนคืนอย่างไรก็ดีแม้จะยังไม่ก่อสร้างหากเจ้าของที่ดินประสงค์สร้างอาคารจะต้องเว้นระยะถอยร่นให้เท่ากับเขตทางที่กำหนด แต่อย่าหวังว่าจะสร้างทับเขตทางเพื่อขอค่าชดเชยอนาคตคงไม่มีทาง เนื่องจากผังเมืองรวมกทม.เป็นกฎกระทรวง จึงมีผลบังคับทาง กฎหมาย หากใครต้องการซื้อที่ดินขึ้นโครงการต้องตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนว่าทำได้หรือไม่ได้ MP29-3404-A

อย่างไรก็ดีถนนตามผังเมืองจะมีสายหลัก 40 เส้นทาง ตามแผน 20 ปี แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 20 เส้นทางขนาด 80 เมตร 8 ช่องจราจร-16 เมตร 4 ช่องจราจร ขณะสายย่อยจะมีกว่า 100 เส้นทางจะใช้ฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าสายใหม่ๆรัศมีพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (ทีโอดี) ดังนั้นหากไม่กำหนดเขตทางเหล่านี้ไว้ หากเมืองขยายมากขึ้นปริมาณรถเพิ่ม ทำให้ไม่สามารถตัดถนนได้เพราะงบประมาณจะหมดไปกับการเวนคืนหรือไม่ก็ถูกต่อต้านยกตัวอย่างถนน 1 เส้น ใช้เวลาก่อสร้าง 40 ปี เช่นถนนพุทธมณฑลสาย 1 ฯลฯดังนั้น แผนก่อสร้างถนนตามผังเมืองจะผูกพันต่อเนื่องไม่สามารถยกเลิกได้

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าการสงวนสิทธิ์ เขตทางของถนนผังเมืองนั้น  ต่างประเทศถือเป็นเรื่องปกติ เพราะสาธารณูปโภคเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งยังนำพาความเจริญมาสู่แปลงที่ดิน หาก ถนนมีความกว้าง 16 เมตรขึ้นไปที่ดินติดถนนใหญ่ แม้จะเป็นพื้นที่สีเหลืองหรือสีส้มก็สามารถสร้างอาคารเกิน 1 หมื่นตารางเมตรได้ แต่หากถนนกว้างเพียง 8-9 เมตร ก็สร้างอาคารสูงได้เพียงไม่เกิน 8 ชั้นหรือ 23 เมตรเนื่องจากติดกฎหมายควบคุมอาคารเป็นต้น

“ปัจจุบันปริมาณที่อยู่อาศัยทั้งแนวสูงแนวราบแออัด ถนนมีจำนวนน้อยและแคบหากสร้างอาคารสูง เพิ่มขึ้นในซอย จะทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบาก ที่สำคัญเมืองหลวงของไทยต่างกับต่างประเทศที่เจริญ เพราะการลงทุนสาธารณูปโภครองรับไม่ทันต่อการขยายตัวของเมืองทำให้ต้องเร่งกำหนดขยายโครงข่ายจราจรให้เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างสะดวกขึ้นเผื่อในอนาคตระยะยาว แม้ยังไม่มีการเวนคืนออกมา  แต่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของ ที่ดินต้องเว้นระยะถอยร่นจากกึ่งกลางของถนนเข้าหาแปลงที่ดิน เช่น ปัจจุบัน ถนนกว้าง 8 เมตร แต่ถนนตามผังเมืองกทม.ใหม่ กำหนดไว้16 เมตรก็ต้องเว้นระยะถอยร่นออกไปข้างละ 4 เมตร”

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าหากเว้นระยะถอยร่นรอไว้ 16 เมตร ก่อนกทม.จะก่อสร้าง-ขยายถนน ก็สามารถสร้างอาคารใหญ่พิเศษได้เกิน 1 หมื่นตารางเมตรแม้ปัจจุบันสร้างเพียงทาวน์เฮาส์เพราะเขตทางกว้างเพียง 12 เมตร”

หน้า 29-30 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,404 วันที่ 27-29 กันยายน 2561 595959859