ม.แสตมฟอร์ด เพาะบัณฑิต 4.0 รับตลาดแรงงานโลก

13 ก.ย. 2561 | 07:22 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด จับมือภาคอุตสาหกรรม สร้างหลักสูตรรับศตวรรษ 21 พร้อมร่วมมือนำร่องเพาะศักยภาพบัณฑิต 4.0 ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานสากล



3.Tim Bulow, CEO, Laureate


นายทิม บิวโลว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือมหาวิทยาลัยนานาชาติลอรีเอท ประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ด้านความร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ว่า หลังร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรียนการสอนที่จะสร้างทักษะให้เป็นที่ต้องการในยุคศตวรรษที่ 21 พร้อมบทบาทความร่วมมือของภาคเอกชนที่ได้ให้การสนับสนุนภาคการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ร่วมพัฒนาหลักสูตรตามข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มของตลาด การให้ความรู้ในการบรรยายพิเศษต่าง ๆ เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมการฝึกงาน ดูงาน จัดกิจกรรมการอมรม เวิร์คช็อป การให้คำแนะนำด้านการพัฒนาหลักสูตร การร่วมเป็นที่ปรึกษาหลักสูตร ตลอดจนการให้โจทย์ทางธุรกิจแก่นักศึกษา (Industry Project) ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อสร้างทักษะที่สำคัญและจำเป็นให้กับบัณฑิตในศตวรรษที่ 21

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดได้ใช้ความเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติชั้นนำ ที่มีคณาจารย์และนักศึกษานานาชาติจำนวนมากกว่า 100 ประเทศ ภายใต้สังคมนานาชาติที่มาเรียนรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะด้านการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับเพื่อนนักศึกษาชาวต่างชาติ การใช้นวัตกรรมใหม่ควบคู่เทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์จากคณาจารย์กว่า 34 ประเทศ และที่สำคัญ คือ ความร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรม หนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการบ่มเพาะทักษะสร้างบัณฑิตที่ตอบโจทย์ภาคเอกชน เกิดความพร้อมก่อนการทำงานในบริษัททั้งไทยและต่างประเทศ ตลอดจนได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในตลาดแรงงาน ซึ่งจะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และประเทศได้



1.A Roundtable Discussion


อีกทั้งตลอด 23 ปีที่ผ่านมา ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด ได้มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาคุณภาพนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการขยายฐานความแข็งแกร่งด้วยการสร้างเครือข่ายร่วมกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 300 บริษัท อาทิ บีเอ็มดับเบิลยูกรุ๊ป ประเทศไทย, ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง, หอการค้าไทย - อิตาเลี่ยน, Cartoon Club Media, ECCO Thailand, Foodpanda, G-Able, Holiday Inn, Hubvisor, Index Creative Village, Maybank Kim Eng, MCOT, Srithai Superware, SANET (Thailand), Impact Exhibition Management, L’Oreal Thailand เป็นต้น อีกทั้งมีการนำเสนอและปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ จึงทำให้ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

นายนรุตม์ บุญประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายสรรหาและว่าจ้าง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยภาคอุตสาหกรรมได้นำนวัตกรรม AI (เอไอ) ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการทำงานพนักงานบริษัทจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือ ด้านใดด้านหนึ่ง แต่จะต้องปรับตัวได้เร็ว ทำงานได้หลากหลาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่รอบตัว รวมทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการรู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Data Analytics การใช้ข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ รู้จักการใช้ Social Platforms มีความยืดหยุ่นและมีความเข้าใจในธุรกิจ สำหรับบัณฑิตแสตมฟอร์ดที่ทำงานที่ยูนิลีเวอร์นั้น มีความโดดเด่นในด้านของภาษาและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเนื่องจากหลักสูตรมีการฝึกงานประมาณ 1 ปี ดังนั้น การจ้างบัณฑิตแสตมฟอร์ดจึงเหมือนได้พนักงานที่มีประสบการณ์มาแล้ว 1 ปี



2.A Roundtable Discussion


สำหรับผลสำรวจการจ้างงานของบัณฑิต ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด ที่จบใหม่ในปีการศึกษา 2560 แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษามากกว่า 74% ได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในตลาดแรงงาน, กว่า 35% ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายได้งานก่อนเรียนจบ โดยเฉพาะการได้รับข้อเสนองานในระหว่างการฝึกงาน สิ่งที่นายจ้างมองหาและชื่นชมบัณฑิตของ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด นั้น คือ ทักษะความเป็นลูกจ้างยุคใหม่ที่ควรต้องมี ดังนั้น จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าวิธีการสอนของ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด นั้น สามารถพัฒนาความแข็งแกร่ง สร้างทักษะและความรู้ที่จำเป็นให้กับบัณฑิตได้เป็นอย่างดี

นอกจากหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด ยังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่นำไปใช้จริงในการทำงานได้ทันทีของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท (MBA) อีกด้วย


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว