สศช.หนุน 15 ระเบียงเศรษฐกิจ เร่งออกแบบและลงทุนระบบขนส่งให้เสร็จใน 5 ปี

04 ก.ย. 2561 | 04:16 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

 

TP12-3397-A อนุคณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมสภาพัฒน์ฯ หนุนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติฯยกแผนการพัฒนาเส้นทาง 15 ระเบียงเศรษฐกิจเชื่อมโยงประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เร่งศึกษาออกแบบและลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี นำร่อง 5 หัวเมืองหลักและ 3 หัวเมืองรอง

แหล่งข่าวระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่านายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ได้จัดประชุมเตรียมการจัดทำแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อร่วมหารือแนวทางการพัฒนา ตัวชี้วัด และประเด็นการพัฒนาด้านการกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานสศช.

“ปัจจุบันคณะกรรมการอยู่ระหว่างกระบวนการเตรียมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวด้วยการกำหนดให้มีการจัดทำแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธ ศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) กระทรวง ต่างๆ ล่าสุดจากการประชุมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมาได้เห็นชอบให้สนับสนุนยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและเมืองด้วยกลยุทธ์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อเร่งผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป”

[caption id="attachment_312242" align="aligncenter" width="503"] ฐาปนา บุณยประวิตร / photo :YouTube. พิษณุโลก 2020 ฐาปนา บุณยประวิตร / photo :YouTube. พิษณุโลก 2020[/caption]

ด้านนายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย ในฐานะคณะอนุกรรมการจัดทำแผนแม่บทด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมกล่าวว่า ในส่วนข้อเสนอของตนที่ได้รับการบรรจุเพื่อนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาในลำดับถัดไป ประกอบด้วย การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ จำนวน 15 ระเบียง ซึ่งใช้ระเบียงเศรษฐกิจธรรมชาติที่มีอยู่แล้วเป็นฐานการพัฒนา โดยการต่อยอดการลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานทั้งนี้ให้เป็นไปตามเจตนา รมณ์ในการยกระดับเศรษฐกิจในระดับฐานราก การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสาขาการผลิต การบริการ และการค้าระหว่างประเทศ

นอกจากนั้นยังได้เสนอให้ 15 หัวเมืองหลัก (hub) ของระเบียงเศรษฐกิจต้องพัฒนาและออกแบบศูนย์เศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 5 ศูนย์ หัวเมืองรอง (gate) ไม่น้อยกว่า 3 ศูนย์ เป็นการนำร่องพร้อมทั้งเสนอให้ทุกหัวเมืองหลักต้องมีการศึกษา ออกแบบ และลงทุนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปีเพื่อเป็นโครงข่ายหลักให้กับพื้นที่เศรษฐกิจ รวมทั้งได้เสนอให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Fund) กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนทุกระดับรายได้ (Affordable Housing Fund) กองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม การขนส่ง มวลชน และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transportation and TOD Infrastructure Fund) เพื่อกระตุ้นการพัฒนาในสาขาเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการเพิ่มศักยภาพของ
พื้นที่และกิจการในการจ้างงานและการจ้างงาน

“15 ระเบียงเศรษฐกิจสามารถยกระดับไปสู่การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของชาติได้ทันทีภายใน 5 ปีโดยหัวเมืองหลักจะต้องพัฒนาไม่น้อยกว่า 5 ศูนย์เศรษฐกิจ ส่วนเมืองรองไม่น้อยกว่า 3 ศูนย์เศรษฐกิจ เบื้องต้นดำเนินการในแบบกลุ่มจังหวัด จัดเป็นการเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศให้สามารถขับเคลื่อนแผนยุทธ ศาสตร์ชาติได้รวดเร็วขึ้น โดยจะต้องมีการจัดทำแผนแม่บทให้เสร็จภายใน 6 เดือนนี้เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติขับเคลื่อนให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนต่อไป”

|เชกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3397 ระหว่างวันที่ 2-5 ส.ค2561
23626556