ประมงเฮ“กฤษฎา”นัด 25 มิ.ย.แก้แรงงานขาด 4.2 หมื่นคน

22 มิ.ย. 2561 | 10:50 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ประมงเฮ“กฤษฎา”รับนัด 25 มิ.ย.แก้แรงงานประมงขาด 4.2 หมื่นคน

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับนัดสมาคมในวันที่ 25 มิถุนายน 2561 เพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล แนวทางความเป็นไปได้ในการใช้มาตรา 83 แห่งพระราชกำหนดการประมง และขอให้พิจารณาผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 อยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตให้ทำงานได้ต่อไปอีก 2 ปีนั้น
mongkol

“ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 ข้อ 2 วงเล็บ 2 เมื่อคนต่างด้าวได้รับหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมงแล้วให้อยู่ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2561 เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีก 15 วัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร หากไม่มี มาตรา 83 พ.ร.ก. การประมงมารองรับ จะส่งผลทำให้แรงงานประมงทะเลยิ่งขาดแคลนมากขึ้น ปัจจุบันสมาชิกสมาคม 22 จังหวัดแจ้งความประสงค์ต้องการแรงงานกว่า 4.26 หมื่นอัตรา จะต่างกับกลุ่มแรงงานที่มีบัตรสีชมพู”

ส่วนเรื่องการนำเข้าแรงงานสัญชาติเมียนมา (ระบบเอ็มโอยู) เพื่อใช้ในกิจการประมงทะเลที่ต้องการให้แรงงานได้รับสิทธิประโยชน์ เมื่อจัดส่งแรงงานกลุ่มประมงมาทำงานในประเทศไทย 12 ข้อด้วยกัน (โครงการนำร่องจัดส่งแรงงานภาคประมง) ได้แก่ 1.ขออัตรารายรับเป็นรายเดือน ขั้นต่ำที่ 1.2 หมื่นบาท 2.รายรับพิเศษจากการจับปลา แบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ 3.การจ่ายรายรับ ผ่านระบบธนาคารเท่านั้น 4.เมื่ออยู่บนฝั่ง ขอให้นายจ้างดูแลที่อยู่กิน 5.เวลาพักขอให้เป็นไปตามหลักองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คือ10 ชั่วโมง

webtshirt

6.ขอให้นายจ้างจ่ายค่าประกันสุขภาพและประกันชีวิต 7.ขอให้คนงานเมียนมาที่มาทำงานอยู่ในระบบประกันสังคมตามกฎหมาย 8.ขอให้นายจ้างช่วยออกค่าใช้จ่ายค่าใบอนุญาตทำงานค่าวีซ่า 9.ใน 1 เดือนขอให้นายจ้างจัดวันหยุด 4 วันหากไม่สามารถจัดวันหยุด ขอให้จัดเป็นการทำงานล่วงเวลา 10.หากเรือไม่ได้ออกทะเล อันไม่ใช่ความผิดของลูกเรือขอให้นายจ้างจ่ายค่าแรง 11.เรือต้องมีระบบวีเอ็มเอส 12.สัญญาจ้างขอเป็นภาษาเมียนมา และเป็นไปตามหลัก ILO

ซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจาเงื่อนไขที่สมาคมไม่เห็นด้วย อาทิ ประกันสังคม และ “อยู่บนฝั่ง” ขอให้นายจ้างดูแลที่อยู่กิน จริงๆ แล้ว นายจ้างรับผิดชอบค่าอาหารและที่พักให้ลูกจ้างเมื่อออกเรือไปทำประมงและกลับเข้าฝั่ง เท่านั้น เช่น คนไทยไปทำงาน บางแห่งอาจจะให้สวัสดิการเป็นอาหารกลางวัน ตอนเย็นก็ต้องกลับไปที่บ้าน ยังจะให้ผู้ประกอบการออกให้อีกหรือ

e-book-1-503x62-7