ผ่าตัด ‘เจ้าจำปี’ ‘สุเมธ ดำรงชัยธรรม’ดีดีใหม่

25 พ.ค. 2561 | 06:40 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

mSQWlZdCq5b6ZLkrlWgQEFxDq7vg52gp ในที่สุดสายการบินแห่งชาติของเรา ก็ได้ตัวกรรมการผู้อำนวยการใหญ่(ดีดี) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เสียที หลังจากบอร์ดการบินไทย มีมติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ไฟเขียว “สุเมธ ดำรงชัยธรรม” หลานชาย “อากู๋-ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม”นั่งแท่นดีดีคนใหม่ ตามที่คณะกรรมสรรหาเสนอขึ้นมา หลังจากใช้เวลาสรรหานานถึง 1 ปี 8 เดือน

อีก 45 วัน นั่งแท่นดีดี

โดยหลังการเจรจาเงื่อนไขการจ้างและผลตอบแทนแล้วเสร็จและนำมาเสนอบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง ก็คาดว่าอย่างเร็วในอีก 45 วันจากนี้ ก็คงจะมีการเซ็นสัญญากันได้ ก็จะสอดรับ การเข้ามาทำหน้าที่แทน “อุษณีย์ แสงสิงแก้ว” รักษาการดีดี ที่จะเกษียณอายุในวันที่ 30 กันยายนนี้

[caption id="attachment_284291" align="aligncenter" width="503"] สุเมธ ดำรงชัยธรรม สุเมธ ดำรงชัยธรรม[/caption]

ตำแหน่งนี้กว่าจะได้มาเลือดตาแทบกระเด็น รวมแล้วมีการเปิดรับสมัคร 2รอบและในการเปิดรับสมัครรอบ 2 ก็ขยายเวลารับสมัครอีกร่วม 7 ครั้ง นับจากเปิดรับสมัครครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน-ตุลาคม 2559 ก็มีทั้งการล้มการสรรหา จนต้องเปิดสรรหารอบ 2 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม-15 กันยายน 2560 จากนั้นก็ขยายเวลารับสมัครต่อเนื่องแทบทุกเดือน ด้วย 2 เหตุผล คือ คนที่เข้าสมัครยังไม่โดน กับคนที่โดนใจ ก็ติดปัญหาไม่ผ่านคุณสมบัติพ.ร.บ. คุณสมบัติกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจปี 2518 ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีข้อกำหนดห้ามไม่ให้ผู้ที่จะเข้าคัดเลือกผู้บริหารอันดับ 1 ของหน่วยงานรัฐสาหกิจ มี ส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรนั้นๆ

งานนี้ผู้สมัครที่เป็นภาคเอกชนที่หน้าตาดี และแบ่งก๊วนเดินสายไปทาบทาม ต่างตกคุณสมบัติกันถ้วนหน้า จนความหวังสุดท้ายก็ได้ “สุเมธ ดำรงชัยธรรม” รับเทียบเชิญ เพราะเข้าตา และเข้าข่ายไม่ขัดข้อกำหนดของสคร. เนื่องจากปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวเรือใหญ่บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ ธพส. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ จึงไม่มีประเด็นเรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสียกับการบินไทย ทั้งเจ้าตัวยังเข้าใจกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นอย่างดี

mp22-3368-a
การบินไทยเป็นความท้าทาย

ทั้งยังเคยทำงานที่บริษัทเงินทุนธนชาตฯร่วม 10 ปี คุณ สมบัติที่สั่งสมมา บอร์ดการบิน ไทย จึงมองว่า เขาสามารถเข้ามาเป็นเบอร์ 1 การบินไทย ที่จะต้องเข้ามาดูภาพรวมการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน การบริหารปัญหาเร่งด่วน อย่าง การบริหารบุคลากร การตลาดที่ต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ การ ตัดค่าใช้จ่ายต่างๆ

จริงๆ แล้วในช่วงที่ผ่านมาเจ้าตัวก็ดูเรื่องนี้มานานพอสมควร เมื่อผู้ใหญ่ให้โอกาส ก็เลยคลิก และเจ้าตัวก็คงมองว่าเป็นภาระหน้าที่ใหม่ซึ่งท้าทาย
ไม่น้อย

ขึ้นชื่อว่า “สุเมธ” ภารกิจที่ได้รับมอบหมายล้วนเจอแต่งานหิน! เพราะตอนที่เขาเข้ามาบริหาร ธพส.เมื่อ 4 ปีก่อน แม้จะเป็นองค์กรที่เล็กกว่าการบินไทยมาก แต่เพศสภาพของธพส.แย่กว่าการบินไทยมาก เขาก็ต้องมาแก้วิกฤติเพราะในอีก 3 เดือน ธพส.จะไม่มีเงินเดือนจ่ายพนักงาน ขาดทุนบักโกรก ไม่เห็นอนาคต จนกู้วิกฤติสำเร็จสร้างผลกำไรและมีโบนัสจ่ายพนักงาน หรือแม้แต่เคยทำงานที่ “ดีไซน์ 103” ช่วยประสานงานโครงการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จนเสร็จตามกำหนด
maxresdefault ส่วนการบริหารงานในการบินไทย หากวิเคราะห์ตามสภาพธุรกิจ แม้จะขาดทุน แต่ยังมีกระแสเงินสด และมีรายได้จะขับเคลื่อนธุรกิจได้ แต่โจทย์ใหญ่กับภารกิจใหม่ของเขาที่การบินไทย คือ การเข้ามาผ่าตัดการบินไทย เพื่อทำให้ผงาดขึ้นเข้มแข็ง คงความเป็นสายการบินแห่งชาติที่แท้จริงได้

ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูการบินไทย เพื่อนำการบินไทยกลับมามีกำไรอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์ ที่ต้องเดินต่อ ได้แก่ 1. การสร้างกำไรจากการเพิ่มรายได้ ควบคุมต้นทุน และนำรูปแบบธุรกิจของสายการบินต้นทุนตํ่ามาประยุกต์ใช้  2. การปรับปรุงหน่วยธุรกิจให้เป็นศูนย์กำไร (Profit Center) 3. การปรับปรุงการบริการครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 4. การนำ Digital Application มาเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความสามารถในการแข่งขัน 5. การพัฒนาการบริหารงานบุคคล
หวังดีดีใหม่สมานรอยร้าว

สำหรับมุมมองของคนในการบินไทย กับสิ่งที่อยากเห็นดีดีคนใหม่ เข้ามาแก้ปัญหานอกจากการสร้างผลกำไรให้บริษัท  การเข้ามาแก้ปัญหาเครื่องบินที่ยังขายไม่ได้และต้องจอดกราวด์ รอการขายอยู่ 22 ลำ เนื่องจากประกาศขายมาหลายปีดีดัก การเข้ามาดูแลกระบวนการจัดซื้อฝูงบินใหม่ 19 ลำ สำหรับการบินไทย กรอบวงเงิน 1 แสนล้านบาทให้มีประสิทธิ ภาพตอบโจทย์การใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง และสิ่งสำคัญที่อยากเห็นคือ อยากให้ดีดีคนใหม่ “เข้ามาสร้างทีมที่สามัคคีกลมเกลียวระหว่างบอร์ด ฝ่ายบริหารและพนักงานทุกระดับ” เพราะวันนี้องค์กรนี้ต่างมีรอยแตกร้าว

งานนี้ต้องรอดูฝีมือดีดีคนใหม่ ว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาในองค์กรได้จริงหรือไม่ หรือจะมาตกม้าตายที่นี่ เหมือนดีดีคนอื่นๆ ที่ผ่านมา

 

หน้า 22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3368 ระหว่างวันที่ 24-26 พ.ค. 2561

 

e-book-1-503x62-7