ไทยพาณิชย์วาดฝัน ปั้นเทคโนโลยีแบรนด์ใหม่ใน 5 ปี

30 มี.ค. 2561 | 04:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด (Digital Venture หรือ DV) ก่อตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิมจากธนาคาร ไทยพาณิชย์ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1,760 ล้านบาท เมื่อปี 2559 เพื่อมุ่งสร้าง FinTech Ecosystem ภายใต้ 3 องค์ประกอบคือ หน่วยงานทุนองค์กร ,หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิตอลและหน่วยงานหรือศูนย์บ่มเพาะสตาร์ตอัพ(Accelerator) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านธนาคารภายใต้ Digital Transformation

นายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการ บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ”เกี่ยวกับทิศทางดำเนินงานว่า DV ยังคงขยายการลงทุนเพิ่มในหลายประเภท เพื่อให้เงินทุนที่ใช้ไป ต้องตอบโจทย์ เพิ่มขีดความสามารถกับธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่เทียบบนสมรภูมิ Digital Disruption ด้วย เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา ในส่วนของ Accelerator หรือศูนย์เพาะบ่มสตาร์ตอัพนั้น แม้จะใส่เงินทุนไปค่อนข้างมาก แต่ยังไม่มีเทคโนโลยีใหม่พอที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถกับธนาคารไทยพาณิชย์ได้

[caption id="attachment_271801" align="aligncenter" width="335"] อรพงศ์ เทียนเงิน อรพงศ์ เทียนเงิน[/caption]

ดังนั้นปีนี้ DV จะเริ่มทิศทางใหม่ โดยจับมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งเฟสแรกจะเจาะจงไปที่ไทยพาณิชย์เท่านั้น โดยปีนี้ จะเป็นปีที่ 1 DVจะป้อนโจทย์ให้มหาวิทยาลัยชั้นนำศึกษาภายในกรอบเวลา 5 ปี ( 2561-2565) โดยโฟกัสเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อโลก ซึ่งจะนำเทคโนโลยีแต่ละประเภทมาเป็นโจทย์แล้วต่อยอด ประกอบด้วย ABCD ซึ่งมาจากเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์(AI ), BlockChain , Cloud & Security, Data และเพิ่มอีก 2 เทคโนโลยีคือAR/VRหมายถึง เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม(AR; Augmented Reality Technology และ เทคโนโลยีเสมือนจริง VR; Virtual Reality)

Disrution จากเทคโนโลยี/ทรานส์ฟอร์เมชันยังคงมีต่อไป และ 2 ปีที่ผ่านมา แม้เราจะใส่เงินช่วยสตาร์ตอัพไปเยอะแต่ยังไม่มีเทคโนโลยีใหม่ ซึ่ง 2 ปัจจัยนี้ จึงยังคงแผนเรื่องการลงทุนต่อ เพราะอนาคตแบงก์ไม่มี Limit ขณะที่บล็อกเชนเองก็ไม่มี border ซึ่งเราเห็นโอกาส วันนี้โลกเปลี่ยนและรู้ว่าอีก 3-5 ปี โลกจะเป็นอย่างไร แม้จีนจะก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่เรายังไม่มีอะไรที่เป็นของคนไทย และเราก็อยู่ในสถานการณ์ที่ทำได้ การไม่ทำอะไรก็เป็นบาป จึงเป็นนโยบายไทยพาณิชย์ต้องจับมือกับมหาวิทยาลัยจะเปิดตัวเร็วๆ นี้ โดยงบลงทุนอยู่ระหว่างรอบอร์ดอนุมัติ ซึ่งวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเดิมก็ใกล้หมดแล้ว แต่วงเงินใหม่มากกว่าเดิม”

บาร์ไลน์ฐาน สำหรับความคาดหวังในโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำนั้น เบื้องต้นหวังแต่ Eco system ตื่นตัว การจับมือครั้งนี้ กำหนดพื้นที่ Accelerator โดย มีโจทย์มหาวิทยาลัยไปศึกษาเริ่มปีนี้และจะเห็นรูปธรรมภายใน 5 ปี อย่างน้อยจะมีอะไรออกมาตอบโจทย์ไทยพาณิชย์ และมองในมิติกว้างขึ้น

“โดยเฉพาะความลํ้ายุคของคอมพิวเตอร์ระบบควอนตัม (Quantum Computing) สิ่งที่เห็นคือ เราต้องแข่งขันกับคู่แข่งที่มีความสามารถสูงกว่า 5 หมื่นเท่า ถามว่า เราจะแข่งอย่างไร ขั้นแรกคือ ระบบการศึกษาไทยยังไม่ตอบโจทย์ หรือสตาร์ตอัพไทยที่รูปแบบจะออกมาเป็น Market Place ซึ่งไม่ยั่งยืน หากเทียบสตาร์ทอัพต่างประเทศที่เติบโตกับผลงานวิจัยมีประสบการณ์มาเป็น 10 ปี

สิ่งที่น่ากลัว คือ ระบบการศึกษาของไทยที่ยังไม่ตอบโจทย์ เด็กที่เรียนจบมาไม่มีความรู้เทคโนโลยีหรือ เด็กที่จะจบออกมาในอีก 4 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีเปลี่ยน แม้เมืองไทยจะนำเทคโนโลยีต่างๆ ทั้ง BlockChain AI cloud มาใช้ แต่ก็ยังไม่พัฒนารองรับคนไทยหรือสร้างความปลอดภัยพอ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,351 วันที่ 25 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2561
e-book