กยท.ผนึกกรมศุลฯจับไต๋คนเลี่ยงจ่ายcessสืบพิรุธใครเอี่ยวฟันทิ้ง!

08 มี.ค. 2561 | 11:51 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กยท. เอาจริงตรวจสอบเลี่ยงค่าธรรมเนียม ส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร (CESS) ร่วมมือกรมศุลกากรสืบหาข้อมูลตามด่านทั่วประเทศ หากพบสิ่งผิดปกติใดๆทั้งจากภายใน กยท.และภายนอกจะไม่ละเว้น เพราะถือการบริหารจัดเก็บเงิน Cess คือหน้าที่หลักของ กยท. ต้องดูแล

tee ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า กยท. ได้เคยประเมินเปรียบเทียบสถิติพื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศไทย โดยใช้ฐานข้อมูลเดิมเป็นเกณฑ์ พบว่าหากปี 2560 มีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 20.5 ล้านไร่ จะให้ปริมาณผลผลิตประมาณ 4.5 ล้านตัน ซึ่งต่างจากข้อมูลสำรวจจากดาวเทียมของ Gistda ในปีเดียวกัน ที่มีพื้นที่ปลูกยางมากกว่า 32 ล้านไร่ ต่างกันเกือบ 11.5 ล้านไร่ จึงได้เสนอข้อสังเกตที่ว่า ปริมาณผลผลิตยางที่แท้จริงอาจคลาดเคลื่อนไปมาก และตัวเลขการส่งออกจริงอาจสูงกว่าที่เป็นอยู่

ซึ่งคณะกรรมการ กยท. ไม่นิ่งนอนใจและให้ความเห็นว่า หากมีการลักลอบส่งออกยาง หรือการหลบเลี่ยงภาษีส่งออกจริง ต้องดำเนินการสืบหาข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว โดยทำงานประสานร่วมมือกับกรมศุลกากรมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงพื้นที่เพื่อไปสังเกตการณ์ตามด่านต่างๆทั่วประเทศ และขณะนี้อยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อหาทางแก้ไขระบบให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน

บาร์ไลน์ฐาน

ผู้ว่าการฯ กล่าวต่อว่า เพื่อป้องกันการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จึงได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อสืบหาข้อเท็จจริง ในเรื่องการหลบเลี่ยงการจ่ายค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพารา หรือ Cess ซึ่งส่งผลมาถึงการที่ กยท. ต้องดำเนินการปรับปรุงระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร (Cess) เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใส ข้อมูลตรวจสอบได้ทั้งระบบ หากพบว่ามีการทุจริตจริง กยท. จะดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมายต่อผู้สมรู้ร่วมคิดในการกระทำความผิดอย่างแน่นอน

“สำหรับปัญหาความรั่วไหลในการจัดเก็บเงิน Cess ถือเป็นเรื่องสำคัญของทั้งผู้บริหารและพนักงาน กยท. ที่จะร่วมกันในการสอดส่องดูแลเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างให้กับกลุ่มคนใดหรือบุคคลใดเข้ามาหาประโยชน์จากเรื่องนี้ เพราะการบริหารจัดเก็บเงิน Cess เพื่อนำเข้ากองทุนพัฒนายางพารา ถือเป็นหน้าที่หนึ่งที่ กยท.จะต้องดูแลให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง ในการนำไปพัฒนาวงการยางพาราไทยต่อไป” ดร.ธีธัช กล่าวทิ้งท้าย

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว