เปิดร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน

20 ก.พ. 2561 | 07:34 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

(ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งคณะกรรมการฯ เห็นชอบ 24 ธันวาคม 2560

บทสรุปผู้บริหาร
1. บทนำ
1.1 บริบทตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) มาตรา 257 เป้าหมายการปฏิรูปประเทศ (2 ) หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นฯ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคง คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น รักษาความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดี หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน / มาตรา 35 บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ / มาตรา36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ และ

mass3

(3) หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 59 รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับ ความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการฯ / มาตรา 60 รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และ สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและ ประชาชนฯ /มาตรา 61 รัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์ สิทธิของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ

1.2 ข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) วิทยุและโทรทัศน์ อาทิ พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศ ไทย พ.ศ.2551 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (2) สิ่งพิมพ์ ได้แก่ พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 (3) ภาพยนตร์ ได้แก่ พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และ (4) โทรคมนาคม ได้แก่ พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560

2. สถานการณ์และแนวโน้ม
2.1 สถานการณ์และแนวโน้มภายนอก ได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเทคโนโลยี (Technology Disruption) ส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมสื่อโดยรวม โดยเฉพาะการเข้ามาของ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สมาร์ททีวี โทรทัศน์ดิจิตอล ตลอดจนการผู้ให้บริการ Platform หลักจากต่างประเทศ อาทิ Facebook ,Youtube, Line และ Twitter ซึ่งมีส่วนแบ่งรายได้มากกว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสื่อของไทย

mass1

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากได้ ช่วยเพิ่มช่องทางในการติดต่อและรับข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภค แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อผู้ ประกอบกิจการสื่อสารมวลชน รวมทั้งสื่อมวลชนที่ต้องแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพให้สอดรับกับ เทคโนโลยีดังกล่าว ทั้งในแง่ของคุณภาพของเนื้อหาสาระ ต้นทุนและรายได้จากการดำเนินการ และ (2) การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้บริโภคสื่อกลายเป็นผู้ผลิตสื่อ สืบเนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี ข้างต้น ผู้บริโภคสื่อบางส่วนสามารถเป็นทั้งผู้รับและเป็นผู้คิดหรือสื่อสารส่งต่อข้อมูลออกไป โดยการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบันที่บริโภคสื่อและข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย ทั้ง ในด้านการสร้างสรรค์และด้านที่ต้องระมัดระวังในขณะเดียวกัน

2.2 สถานการณ์และแนวโน้มภายใน ได้แก่ (1) จริยธรรมในการทำหน้าที่ ในบางกรณีสื่อยังขาดจริยธรรมใน การทำหน้าที่ ทำให้มีการเสนอข่าวสารที่ไม่เหมาะสม มากกว่าการนำเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์สำ หรับ สาธารณชนทำให้เนื้อหาของข่าวในบางสื่อ เป็นเนื้อหาที่ไม่มีคุณค่าเพียงพอสำหรับประเทศชาติและ ประชาชน และ (2) ความรู้เท่าทันสื่อของประชาชน ประชาชนผู้เสพสื่อยังไม่อาจแยกแยะคุณภาพของ สื่อ ยังไม่เข้าใจจริยธรรมของสื่อ ทำให้มีประชาชนจำนวนมากสนับสนุนสื่อที่ไม่มีมาตรฐานด้านคุณภาพ ทำให้การแก้ไขสื่อให้ทำงานอย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องที่ยาก เพราะสื่อจะนำเสนอเรื่องราวข่าวสารที่ประชานิยมที่จะเสพ นอกจากนี้ข้อมูลและข่าวสารที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็นโทษ หรือไม่ เป็นประโยชน์ อาทิ ข่าวลวง และข่าวปลอม

mass

3. ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ
ร่างแผนปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์ชาติ ใน ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ข้อ 1.2 การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันประเทศ พร้อม รับมือกับภัยคุกคามทั้งทางทหารและภัยคุกคามอื่นๆ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถใน การแข่งขัน ข้อ 2.1 การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ มุ่งเน้นที่การพัฒนาเพิ่มผลิตภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่ มูลค่า

ข้อ3.1 การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่ พึงประสงค์ โดยบูรณาการร่วมระหว่าง “และยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ การบริหารจัดการภาครัฐ ข้อ 6.3 การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีขนาด ที่เหมาะสม ทันสมัย มีขีดสมรรถนะสูง และสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า และเทียบได้ กับมาตรฐานสากล สามารถรองรับกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น และ ทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

4. เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ได้แก่
(1) “การมุ่งเน้นการ สร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของการทำหน้าที่ของสื่อบน ความรับผิดชอบกับการกำกับที่มีความชอบธรรม และการใช้พื้นที่ดิจิทัลเพื่อการสื่อสารอย่างมีจรรยาบรรณ ดำรงรักษาเสรีภาพของการแสดงออก การรับรู้ของประชาชน ด้วยความเชื่อว่าเสรีภาพของการสื่อสารคือเสรีภาพของ ประชาชนตามแนวทางของประชาธิปไตย” และ (2) สื่อ เป็นโรงเรียนของสังคม ในการให้ความรู้แก่ประชาชน ปลูกฝังวัฒนธรรมของชาติ และปลูกฝังทัศนคติที่ดี

mass5

5. ประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิรูปสิ่อสารมวลชนให้เป็น เสมือนโรงเรียนของสังคม ในการให้ความรู้แก่ประชาชน ปลูกฝังวัฒนธรรมของชาติ และปลูกฝังทัศนคติที่ดี เพื่อ ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนและ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการส่งออก นวัตกรรม และผลผลิตจากอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ เพื่อ ช่วยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประกอบด้วย 6ประเด็นปฏิรูป โดยมีตัวอย่างกิจกรรมการ ปฏิรูปประเทศที่ส าคัญและเร่งด่วน (Flagship) ดังนี้

5.1 การปฏิรูปการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน กิจกรรมที่ 4 การบรรจุสาระเกี่ยวกับ “การรู้เท่าทันสื่อ” ให้อยู่ ในหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเป็นวิชาพื้นฐานระดับอุดมศึกษา 5.2 แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ. ประกอบด้วยตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกา ,ตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ, ผู้ประกอบกิจการสื่อ, ตัวแทน ภาควิชาการด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน และตัวแทนคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

5.3 การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ กิจกรรมที่1 การปฏิรูปการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวิธีการประมูลคลื่นความถี่สำหรับ กิจการวิทยุและโทรทัศน์จากการใช้ราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ตัดสิน เป็นการใช้คุณสมบัติและข้อเสนอในเชิง คุณภาพรายการของผู้เข้าประมูล (Beauty Contest) และกิจกรรมที่ 6 พิจารณาปรับปรุงการบริหาร จัดการโทรทัศน์ที่เป็นของรัฐ องค์กรอิสระ และรัฐวิสาหกิจ เช่น สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงเพื่อสาธารณะ (Thai PBS) บริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน) (MCOT)

สถานีโทรทัศน์รัฐสภา สถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.๕) เพื่อให้เป็นการใช้คลื่นความถี่เกิดประโยชน์ต่อ สาธารณะที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น และส่งเสริมสนับสนุนกิจการโทรทัศน์ของชุมชนตามวัตถุประสงค์ของแผน แม่บทฉบับที่ 15.4 การปฏิรูปแนวทางการกำกับดูแลสื่อออนไลน์ กิจกรรมที่1 การปฏิรูปด้านช่องทางการประสานงานกับ ผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ

mass2

5.5 การปฏิรูปการบริหารจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ / กิจการอวกาศ และระบบและเครื่องมือด้านการ สื่อสารมวลชนและโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุนภารกิจการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยฯ กิจกรรมที่ 1 การปกป้องคุ้มครองและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานส าคัญด้านสารสนเทศ ของประเทศ กิจกรรมที่2 การปฏิรูประบบและเครื่องมือด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุน ภารกิจการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และประโยชน์สาธารณะ และกิจกรรมที่ 3 ปฏิรูปการกำกับ ดูแลกิจการอวกาศและการให้บริการดาวเทียมสื่อสารของประเทศไทย 5.6 การปฏิรูประบบการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ กิจกรรมที่ 1 เร่งรัดการดำเนินการของ คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการด้านการประชาสัมพันธ์ และการ บริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว