กองทุน FTA พลิกชีวิตเกษตรกรชาวาวี

14 ก.พ. 2561 | 06:49 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

พาณิชย์เผยกองทุนเอฟทีเอ พลิกชีวิตเกษตรกรผู้ผลิตชาวาวีสำเร็จ โชว์ผลงานช่วยเหลือ ดันราคาพุ่ง 100 เท่า จากต่ำสุด 30 บาท ถึงสูงสุด 3,000 บาทต่อกิโลกรัม แถมส่งเจาะตลาดจีนเจ้าแห่งชาโลกได้สำเร็จ

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กรมฯ ได้เดินทางไปติดตามผลความสำเร็จของโครงการช่วยเหลือ เพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (กองทุน FTA) ที่ให้ได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มวิสาหกิจชุมชมผู้ผลิตชาววาวี ที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

????????????????????????????????????

ตามนโยบายนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สั่งการให้เน้นการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าชุมชน ผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยพบว่าหลังจากที่กองทุน FTA ได้ช่วยเหลือไปตั้งแต่ช่วงปี 2552 -2553 จนถึงปัจจุบัน กลุ่มดังกล่าว มีการเติบโตมาโดยตลอด และสามารถส่งออกชาอินทรีย์ไปจำหน่ายที่ประเทศจีนได้ และยังได้รับความนิยม เป็นที่ต้องการของตลาดจีนเป็นอย่างมาก ทั้งๆ ที่จีนเป็นผู้ผลิตชารายใหญ่ของโลก

AW_Online-03

ทั้งนี้ก่อนที่กรมฯ จะเข้าไปช่วยเหลือด้วยเงินกองทุน FTA ราคาชาอบแห้งอยู่ในระดับต่ำมาก ไม่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ โดยราคาชาอบแห้งในขณะนั้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 - 40 บาทเท่านั้น แต่หลังจากที่กองทุน FTA ได้เข้ามาดูแลให้ความช่วยเหลือ ทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่มีรายได้จากการปลูกและจำหน่ายชาเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยปัจจุบันราคาจำหน่ายชาอบแห้งเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 10 เท่าไปจนถึง 100 เท่า จากราคาตอนเริ่มแรก แยกเป็นยอดชากิโลกรัม (กก.) ละไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท ยอดชาติดใบ 1 ใบ กก.ละ 2,000 - 2,500 บาท และยอดชาติดใบ 2 ใบ กก. ละประมาณ 350 - 500 บาท

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ยังสามารถขยายธุรกิจสร้างโรงอบใบชาด้วยเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยเครื่องจักรสำหรับอบใบชาดังกล่าวแต่ละเครื่องมีมูลค่าถึง 2 - 3 ล้านบาท และที่สำคัญชุมชนยังมีรายได้จากการจำหน่ายชาและการส่งออกชาปีละเป็นร้อยล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความช่วยเหลือจากกองทุน FTA สามารถช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ลืมตาอ้าปากและเจริญเติบโตได้อย่างคาดไม่ถึง

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว